วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การให้เฉพาะบุรุษเท่านั้นได้รับศีลบวช เป็นการลดเกียรติสตรีหรือไม่

ที่ให้เฉพาะบุรุษเท่านั้นได้รับศีลบวช เป็นการลดเกียรติสตรีหรือ?

   
กฎที่ว่าให้เฉพาะบุรุษเท่านั้นรับศีลบวชได้ ไม่ใช่ป็นการลดเกียรติสตรี  ในสายพระเนตรของพระเจ้า  ชายและหญิงมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน แต่พวกเขามีหน้าที่และพระพรพิเศษที่แตกต่างกัน พระศาสนจักรมองตนเองในขอบเขตความจริงที่ว่า พระเยซูเจ้าทรงเลือกเฉพาะผู้ชายให้อยู่ในการเลี้ยงอาหารค่ำมื้อสุดท้ายในการตั้งสังฆภาพ สมเด็จพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ทรงประกาศในปี ค.ศ. 1994 ว่า  “พระศาสนจักรไม่มีอำนาจใดๆที่จะยกการบวชเป็นพระสงฆ์ให้กับสตรี และเป็นการตัดสินอย่างเด็จขาดจากสัตบุรุษทุกคนของพระศาสนจักร”
พระเยซูเจ้าไม่ทรงเหมือนใครในสมัยโบราณ พระองค์ทรงยืนยันถึงคุณค่าของสตรี ทรงมอบมิตรภาพของพระองค์ให้กับสตรี และปกป้องพวกเขา สตรีเป็นศิษย์ติดตามพระองค์และพระเยซูเจ้าทรงให้คุณค่าแก่ความเชื่อของสตรีอย่างมาก ยิ่งกว่านั้น ประจักษ์พยานคนแรกในการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระองค์ ก็เป็นสตรี ด้วยเหตุนี้มารีย์ ชาวมักดาลาจึงได้ชื่อว่าเป็น “อัครสาวกของบรรดาอัครสาวก” อย่างไรก็ตาม สังฆภพที่ได้รับการบวช (และศาสนบริการการอภิบาลที่ตามมา)ได้มอบให้กับบุรุษเสมอมา ชุมชนคริสตชนมองพระสงฆ์ที่เป็นชายว่าเป็นผู้แทนของพระเยซูคริสตเจ้า การเป็นพระสงฆ์เป็นการให้บริการแบบพิเศษซึ่งมีความต้องการผู้เป็นชายในบทบาทเฉพาะเพศของเขา และความเป็นบิดาอย่างไรก็ตาม มิใช่ว่าเพศชายจะอยู่เหนือสตรี ดังที่เราเห็นในพระนางมารีย์ สตรีมีบทบาทในพระศาสนจักรไม่แพ้บทบาทของเพศชาย แต่เป็นเพศหญิง เอวากลายเป็นมารดาของผู้มีชีวิตทั้งหลาย (ปฐก 3:20) ในฐานะ “มารดาของผู้มีชีวิตทั้งหลาย” สตรีมีพระพรและความสามารถอย่างพิเศษ ปราศจากการสอน การเทศน์ ความรักเมตตา  ชีวิตฝ่ายจิต และการให้คำแนะนำ พระศาสนจักรคงจะเป็น “อัมพาตไปส่วนหนึ่ง” ตราบเท่าที่ชายในพระศาสนจักรใช้ศาสนบริการการเป็นสงฆ์ของเขาเป็นดั่งเครื่องมือของอำนาจ หรือไม่ ยอมเปิดโอกาสให้กับสตรี พวกเขาทำผิดต่อความรักเมตตาและต่อพระจิตของพระเยซูเจ้า 64

การถือพรมจรรย์ (CELIBACY)
การถือพรมจรรย์ (มาจากภาษาลาตินว่า caelebs แปลว่าโสด บุคคลผู้ไม่แต่งงาน) เป็นการอุทิศตนเองส่วนบุคคลของผู้ที่มีชีวิตแบบไม่แต่งงาน “เพื่อประโยชน์ของพระอาณาจักรสวรรค์” ในพระศาสนจักรคาทอลิกการสัญญาที่จะมีชีวิตแบบนี้ เป็นพิเศษคือผู้ที่เป็นนักบวช (ผู้ซึ่งกระทำการปฏิญาณตน) และคณะสงฆ์ (ซึ่งทำสัญญาว่าจะถือโสด) 

ขอบคุณข้อมูลจาก kamsonbkk.com

วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ทำไมพระศาสนจักรจำเป็นต้องให้พระสงฆ์และพระสังฆราชมีชีวิตพรหมจรรย์



ทำไมพระศาสนจักรจำเป็นต้องให้พระสงฆ์และพระสังฆราชมีชีวิตพรหมจรรย์
              พระเยซูเจ้าทรงมีชีวิตพรหมจรรย์ และด้วยวิธีนี้พระองค์ทรงมีเจตนาที่จะแสดงถึงความรักที่ไม่แบ่งแยกของพระองค์ต่อพระเจ้าพระบิดา เพื่อกระทำตามวิถีของพระเยซูเจ้า และมีชีวิตความบริสุทธิ์ไม่แต่งงาน “เพราะเห็นแก่อาณาจักรสวรรค์” (มธ 19:12) ซึ่งมีมาแล้วตั้งแต่สมัยของพระเยซูเจ้า เป็นเครื่องหมายของความรัก ของการอุทิศตนอย่างไม่แบ่งแยกต่อองค์พระผู้เป็นเจ้า และของความเต็มใจที่จะรับใช้อย่างสมบูรณ์
พระศาสนจักรโรมันคาทอลิกจำเป็นต้องให้มีรูปแบบชีวิตแบบนี้สำหรับพระสังฆราชและพระสงฆ์ ในขณะที่พระศาสนจักรคาทอลิกตะวันออกเรียกร้องเฉพาะผู้เป็นพระสังฆราชเท่านั้น (1579-1580, 1599)

มเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกติ์ที่ 16 ตรัสถึงการถือพรหมจรรย์ ว่ามิได้หมายถึง “คงอยู่ในความว่างเปล่าของความรัก แต่จะต้องหมายถึงการยอมให้ตนเองสามารถเอาชนะอารมณ์เพื่อพระเจ้า” พระสงฆ์ ซึ่งดำเนินชีวิตถือพรหมจรรย์ควรทำให้การเป็นผู้แทนบุคลิกความเป็นบิดาของพระเจ้า และของพระเยซูเจ้าเกิดผลให้มากที่สุด สมเด็จพระสันตะปาปายังตรัสต่ออีกว่า “พระคริสตเจ้าทรงปรารถนาพระสงฆ์ผู้ซึ่งเป็นผู้ใหญ่และอย่างผู้ชาย สามารถปฏิบัติความเป็นบิดาฝ่ายจิตได้อย่างถูกต้อง”

ขอบคุณข้อมูลจาก kamsonbkk.com

ข้อพระคัมภีร์ประจำวันและการอุทิศตน – โคโลสี 2:7

  ข้อพระคัมภีร์ประจำวันและการอุทิศตน – โคโลสี 2:7   จงหยั่งรากและก่อร่างสร้างขึ้นในพระองค์ จงมั่นคงในความเชื่อตามที่ได้รับการสอนมาแล้ว และ...