วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2558

“อิจฉาริษยา”



ในชีวิตของเรา เรามักจะหัวเสียเมื่อเห็นคนอื่นๆโชคดีกว่าตัวเรา คิดให้ดีๆแล้วยอมรับความจริง นี้คือสิ่งที่เรียกว่า “อิจฉาริษยา” ใช่ไหม แต่ทำไมจึงทำให้เราเกิดความอิจฉาคนอื่นเล่า


เหตุผลหนึ่งก็คือ เรามักจะคิดว่าตัวเรานี้ “ดีกว่า” คนอื่น หรือ ยิ่งกว่านั้น เราเองมักจะคิดว่าเราดีกว่าสิ่งที่ตัวเราเองเป็นหรือมีด้วยซ้ำไป เช่น เก่งกว่า รวยกว่า ทำอะไรได้มากกว่า ทั้งๆทีเราทำไม่ได้ถึงขั้นนั้น

หยุดการเปรียบคนเองกับผู้อื่น แต่ให้เรายอมรับตนเองอย่างที่เป็น และปฏิบัติตามแนวทางที่นักบุญเปาโลสอนเราไว้คือ “แต่ละคนจงพิจารณาการกระทำของตน แล้วจะภูมิใจในตนเอง โดยไม่ต้องเปรียบเทียบกับผู้อื่น” (กาละเทีย 6:4)

นี่แหละที่ทำให้เราวิจารณ์คนอื่น ว่าคนอื่น ดูถูกคนอื่น ทั้งนี้เพราะเราไม่ได้ใช้มาตรฐานของพระเจ้าในการตัดสินคนอื่น เราใช้มาตรฐานของเราเอง เราเอาตัวเองเป็นตาชั่งสำหรับคนอื่น

ใครจะไปรู้ถึงแผนการของพระเจ้า ความสามารถที่เราคิดว่าเรามีมากกว่าคนอื่นนั้น อาจจะไม่มีราคาค่างวดอะไรเลย ถ้าเราไม่ได้ใช้ตามพระประสงค์ของพระเจ้า นักบุญเปาโลเตือนใจเราได้อย่างตรงประเด็นที่สุด เมื่อท่านกล่าวว่า “แต่พระเจ้าทรงเลือกสรรคนโง่เขลาในสายตาของโลกเพื่อให้คนฉลาดต้องอับอาย และพระเจ้าทรงเลือกสรรสิ่งต่ำช้าน่าดูหมิ่นไร้คุณค่าในสายตาของชาวโลกเพื่อทำลายสิ่งที่โลกคิดว่าสำคัญ” (1โครินธ์ 1:27-28)

ความ​อิจฉา​ริษยา​เป็น “การ​กระทำ​ที่​เกิด​จาก​ความ​ปรารถนา​ของ​กาย​ที่​มี​บาป” ที่​เราชาวคริส​ทุก​คน​ควร​พยายาม​เอา​ชนะ. (กลา. 5:19-21) ถ้า​เรา​ไม่​ปล่อย​ให้​ความ​อิจฉา​ริษยา​ครอบ​งำ​เรา ชีวิต​เรา​ก็​จะ​มี​ความ​สุข​มาก​ขึ้น​และ​ทำ​ให้​​พระ​บิดา​ของ​เรา​พอ​พระทัย.

ฝึกตนเองให้เป็นคน  รู้จักชื่นชมยินดี “จง​ชื่นชม​ยินดี​กับ​ผู้​ที่​ชื่นชม​ยินดี.” (โรม 12:15) พระ​เยซู​ทรง​ชื่นชม​ยินดี​เมื่อ​เหล่า​สาวก​ประสบ​ความ​สำเร็จ และ​พระองค์​ทรง​ชี้​ว่า​พวก​เขา​จะ​ทำ​งาน​ประกาศ​ให้​สำเร็จ​ได้​มาก​ยิ่ง​กว่า​พระองค์. (ลูกา 10:17, 21; โย. 14:12) เรา​มี​เอกภาพ​ใน​ฐานะ​ผู้​รับใช้​ของ​พระ​ยะโฮวา. ด้วย​เหตุ​นั้น ความ​สำเร็จ​ของ​ใคร​ก็​ตาม​ใน​หมู่​พวก​เรา​นับ​เป็น​พระ​พร​สำหรับ​ทุก​คน. (1 โค. 12:25, 26) ดัง​นั้น เรา​น่า​จะ​ชื่นชม​ยินดี​แทน​ที่​จะ​รู้สึก​อิจฉา​เมื่อ​คน​อื่น​ได้​รับ​หน้า​ที่​รับผิดชอบ​มาก​กว่า​มิ​ใช่​หรือ?

อีกทางหนึ่งก็คือ การต่อสู้กับกิเลสตัณหาทางฝ่ายเนื้อหนัง ซึ่งอยู่ในระบบของโลกนี้ พระคัมภีร์บอกว่า เรากำลังทำงานให้กับพระเจ้า ก็ขอบคุณพระเจ้า


หน้าที่ของเรา อันดับแรกคือระงับ จัดการ กำจัด ตรึงความรู้สึกของกิเลสตัณหาทางฝ่ายเนื้อหนัง ให้อยู่หมัดให้ได้ และที่เหลือพระเจ้าจะนำพาเราผ่านไปเอง ให้ถวายเกียรติพระองค์ในทุกแง่มุม ผู้ที่เชื่อในพระเจ้า จะตรึงกิเลสตัณหาทางฝ่ายเนื้อหนัง ที่ไม้กางเขนทุกวัน และขอพระเจ้าได้เปลี่ยนแปลงชีวิตเราใหม่ ให้เราเป็นเหมือนพระองค์ทุกวัน ให้เราดำเนินโดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ ไม่ใช่ด้วยกิเลสตัณหาทางฝ่ายเนื้อหนัง ตัดสินใจ โดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่สถิตอยู่กับเรา ไม่ใช่โดยความคิดเก่าๆ ของกิเลสตัณหาของเนื้อหนัง ชีวิตจึงแตกต่างกับคนที่อยู่ในโลกนี้ ที่ยังไม่รู้จักพระเจ้า ให้เราอธิษฐานทุกๆวันนะคะ


วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2558

มิสซังหรือสังฆมณฑล มีที่มาอย่างไร



เรื่องที่น่า(จะต้อง)รู้ของคริสตชน

ในเวลานี้พระศาสนจักรของเรากำลังเน้นเรื่องสำคัญที่ได้เริ่มทำกันมาตั้งแต่ปีค.ศ. 2013 เป็นต้นมา นั่นคือเรื่องกฤษฎีกา “ศิษย์พระคริสต์เจริญชีวิตประกาศข่าวดีใหม่” ที่ออกมาหลังการสมัชชาใหญ่ปีค.ศ.2015 แต่ก่อนที่เราจะพิจารณาความหมายของกฤษฎีกานี้ พ่ออยากให้เราย้อนไปดูเส้นทางการประกาศข่าวดีในดินแดนสยาม เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของพระศาสนจักรในประเทศไทยของเราเสียก่อน ศาสนาคริสต์มาถึงประเทศไทยได้กว่า 450 ปีมาแล้วในปี ค.ศ. 1567 โดยมิชชันนารี 2 ท่าน คณะดอมินิกันชาวโปรตุเกส คือ
- คุณพ่อ เยโรนีโม ดา ครูส
- คุณพ่อ เซบาสตีอาว โด กันโต
ถือเป็นการประกาศศาสนาอย่างเป็นทางการ คุณพ่อดา ครูส ได้ถูกหอกแทงตายเป็นมรณะสักขี ในตอนนั้นท่านได้มาที่อยุธยาและมีคนกลับใจเยอะตามที่มีบันทึกในประวัติศาสตร์ไว้ หลังจากนั้นไม่นานก็เกิดมีการเบียดเบียนศาสนา ทำให้การประกาศศาสนาชะงักไม่เป็นผลเท่าที่ควร จนกระทั่งในปี1658 จึงได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการโดย
-พระสังฆราชฟรังซัวส์ ปัลลือ ผู้แทนพระสันตะปาปาปกครองมิสซังตังเกี๋ย
-พระสังฆราชปีแอร์ ลังแบรต์ เดอ ลา ม็อต ผู้แทนพระสันตะปาปาปกครองมิสซังโคชินจีน
โดยในตอนแรกยังไม่ได้เป็นประมุข ยังไม่ใช่มิสซัง เป็นเพียงเขตปกครองของวาติกัน พระศาสนจักรส่วนกลาง
จนในปีค.ศ. 1669
• ประกาศแต่งตั้งมิสซังสยาม โดยมี คุณพ่อหลุยส์ ลาโน เป็นผู้แทนพระสันตะปาปาปกครอง
• 25 มี.ค. 1674 คุณพ่อหลุยส์ ลาโน ได้อภิเษก เป็นพระสังฆราชเป็นประมุขมิสซังสยามท่านแรก
• มิสซังสยามสมัยนั้นมีอาณาบริเวณกว้างใหญ่ คือ สยาม ลาว แหลมมาลายู เกาะสุมาตรา และพม่าตอนใต้
การประกาศแต่งตั้งนี้หมายความว่ามีความเป็นอิสระมากกว่าเดิมที่เป็นเพียงเขตปกครอง
• ค.ศ. 1838 พระสังฆราชฌอง บัปติสต์ ปัลเลอกัว ได้รับแต่งตั้ง เป็นพระสังฆราชผู้ช่วย
• ปี 1841 แยกมิสซังสยามเป็น 2 เขต คือ
1.เขตตะวันออก ประกอบด้วย สยาม และ ลาว มีพระสังฆราชปัลเลอกัวเป็นประมุข
2. เขตตะวันตก ประกอบด้วย มาลายู เกาะสุมาตรา และภาคใต้ของพม่า มีพระสังฆราชกูร์เวอซี เป็นประมุข
• ค.ศ. 1899 มิสซังลาวแยกจากมิสซังสยาม โดยมี เขตปกครอง อยู่ในภาคอีสานของสยามและในประเทศลาว
ในสมัยของพระสังฆราชฌอง หลุยส์ เวย์ โดยมีพระสังฆราชมารีย์ ยอแซฟ กืออ๊าส เป็นประมุขมีสำนักกลางอยู่ที่หนองแสง
• 1923 สันตะสำนักได้แนะนำให้มีการแบ่งมิสซัง พระสังฆราชเรอเน แปร์รอส จึงเสนอให้แบ่งมิสซังสยามเป็น 3 มิสซัง คือ กรุงเทพฯ เชียงใหม่ และราชบุรี-ชุมพร โดยมิสซังราชบุรี-ชุมพร มอบให้คณะซาเลเซียนดูแล
ในปี 1928 ต่อมาปี 1941 จึงได้รับการตั้งเป็นมิสซังราชบุรี มีพระสังฆราชกาเยตาโน ปาซอตตี
• และในปี 1924 มิสซังสยามได้เปลี่ยนชื่อเป็นมิสซังกรุงเทพฯ
• 1944 มิสซังจันทบุรี ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ มีพระสังฆราชยาโกเบ แจง เกิดสว่าง เป็นประมุข และเป็นพระสังฆราชชาวไทยองค์แรกด้วย
18 ธันวาคม ค.ศ. 1965 (หลังการประกาศสังคายนาวาติกันที่2) สันตะสำนักได้แต่งตั้งและแยกการปกครองพระศาสนจักรไทยเป็น 2 สังฆมณฑลนคร(หรืออัครสังคมณฑล) คือ

1.สังฆมณฑลนครแห่งกรุงเทพฯ โดยมีพระอัครสังฆราชยอแซฟ ยวง นิตโย เป็นผู้ปกครอง มีสังฆมณฑลอื่นๆ ประกอบด้วย สังฆมณฑลราชบุรี สังฆมณฑลจันทบุรี และ สังฆมณฑลเชียงใหม่

2.สังฆมณฑลนครแห่งท่าแร่-หนองแสง โดยมีพระอัครสังฆราชมีคาแอล เกี้ยน เสมอพิทักษ์ เป็นผู้ปกครอง มีสังฆมณฑลอื่นๆ ประกอบด้วยสังฆมณฑลอุดรธานี สังฆมณฑลอุบลราชธานี และ สังฆมณฑลนครราชสีมา

เป็นที่น่าแปลกอยู่สักหน่อยตรงที่สังฆมณฑลนครราชสีมาในเรื่องของกฏหมายนั้นขึ้นอยู่กับสังฆมณฑลกรุงเทพ แต่กลับเป็นมิสซังลูกของสังฆมณฑลนครแห่งท่าแร่-หนองแสง ในปัจจุบันนี้ทางการรับรองเพียงสังฆมณฑลกรุงเทพและสังฆมณฑลท่าแร่เท่านั้นที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล

- สังฆมณฑลนครสวรรค์ได้รับการแต่งตั้งเมื่อ 1967
- สังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี ได้รับการแต่งตั้งเมื่อ 1969 (ทั้ง 2 สังฆมณฑลเป็นกลุ่มของสังฆมณฑลนครแห่ง กรุงเทพฯ)

ดังนั้นทั้งหมดเราจึงมี10สังฆมณฑล โดย6สังฆมณฑลเป็นมิสซังลูกของกรุงเทพ และอีก4สังฆมณฑลเป็นมิสซังลูกของท่าแร่ ในปัจจุบันนี้มีเพิ่มขึ้นมาอีก1สังฆมณฑล เป็นสังฆมณฑลที่11 คือเชียงรายที่ทางสันตะสำนักได้รับรองแล้ว รอการแต่งตั้งพระสังฆราชจากทางกรุงโรมแล้วจึงจะมีการประกาศมิสซังเชียงรายอย่างเป็นทางการอีกครั้ง การแบ่งสังฆมณฑลออกเป็นส่วนย่อยๆ ก็เพื่อช่วยให้การดูแล ปกครองทำได้ง่ายขึ้น เป็นการแบ่งเพื่อให้เจริญเติบโต



จากตัวเลขสถิตินี้ ในขณะที่เมืองไทยเรามีประชากรทั้งหมดประมาณ68ล้านคนแล้ว จำนวนคาทอลิกเราคิดเป็นประมาณ0.5% และถ้ารวมกับพี่น้องโปรเตสแตนต์ และนิกายอื่นๆด้วยก็จะมีจำนวนประมาณ6-7แสนคน หรือประมาณ1% ของประชากรไทยทั้งหมด

 คำว่าพระสงฆ์นักบวชคือเป็นพระสงฆ์และเป็นนักบวชด้วย พระสงฆ์คือผู้ที่ได้รับศีลบวช ส่วนนักบวชนั้นจะมีคณะนักบวช มีผู้ตั้งคณะของเขาเอง เช่นคณะพระมหาไถ่ คำว่าพระสงฆ์นักบวชก็คือ เป็นทั้งพระสงฆ์และเป็นนักบวชด้วยไม่ได้สังกัดสังฆมณฑล จากข้อมูลที่พ่อได้ให้พวกเราได้เห็นเส้นทางในอดีตที่ล่วงเลยมาตั้งแต่สมัยคุณพ่อดาครูสเป็นต้นมา ผ่านมาแล้วกว่า450ปี คาทอลิกเรามีจำนวนแค่นี้ คือมีกันอยู่ประมาณ380,000คน คำถามคือแล้วเราจะทำอย่างไรกันต่อไป? นี่เป็นคำถามที่ท้าทายเพื่อจะทำให้ข่าวดีแห่งความรอด ทำให้ศิษย์พระคริสต์ประกาศข่าวดีได้เกิดผลอย่างแท้จริง

หลังจากเมื่อ350ปีที่แล้วที่มีคณะมิสซังต่างประเทศได้เข้ามาจัดสังคายนาสมัชชาครั้งที่1ของประเทศไทย มีสมาชิกของสมัชชา8คน มีการตั้งบ้านเณรยอแซฟหรือบ้านเณรใหญ่ขึ้น และเมื่อปีค.ศ.2015 จึงได้มีการสังคายนาขึ้นอีกครั้งหนึ่ง รับรองโดยสันตะสำนัก โดยก่อนทำสมัชชานี้ออกมา ได้มีการออกแบบฟอร์มสำรวจข้อมูลเมื่อปีค.ศ.2013-14 แล้วจึงนำข้อมูลที่ได้จากพี่น้องมานั้นไปวิเคราะห์ พิจารณา และได้พบว่าสิ่งที่ทำให้พระศาสนจักรของเราอ่อนแอลงเพราะปัจจุบันนี้กระแสโลกียะนิยมเป็นกระแสที่แรงมาก คือความเจริญ ความวุ่นวายทางโลก โลกียะคือตามประสาโลก โลภ โกรธ หลง กระแสของทรัพย์สมบัติ วัตถุ ที่เข้ามาอย่างมากมาย จนกระทั่งทำให้คนไม่สนใจศาสนา ซึ่งไม่ได้เป็นเฉพาะคาทอลิกแต่เป็นในทุกศาสนา

จากปัจจุบันนี้ประชากรโลกที่มีทั้งหมดประมาณ7พันล้านคน มีประมาณ1พันล้านคนที่ไม่สนใจ ไม่มีศาสนา จากกระแสโลกียะที่เกิดขึ้นนี้ทำให้เราวิเคราะห์และปรึกษากันว่าจะทำอย่างไร กฤษฎีกาของเราจับจุดตรงนี้ว่าสิ่งสำคัญซึ่งจะทำให้สามารถต่อสู้กับกระแสโลกียะนี้ได้นั้น ต้องมีการฟื้นฟูชีวิตคริสตชนให้เข้มแข็ง และทำให้คนอื่นได้รู้จักความรักของพระเป็นเจ้าด้วยชีวิตของเรา ด้วยการดำเนินชีวิตประจำวันตามฐานะของแต่ละคนที่มีอยู่ พ่อเป็นพระสงฆ์ก็มีหน้าที่ของพระสงฆ์ พวกเราเป็นฆราวาสก็มีหน้าที่ของฆราวาส การประกาศข่าวดีเป็นหน้าที่ของเราทุกคน โดยเริ่มจากคนในบ้านของเราก่อน แล้วจึงขยายออกไปข้างนอก ดังนั้นการฟื้นฟูชีวิตคริสตชนนี้จึงเป็นเรื่องที่อยู่ในกฤษฎีกาที่จะทยอยออกมาเรื่อยๆ ส่วนจะฟื้นฟูอย่างไร อะไรบ้างก็จะค่อยๆมีแผนงานออกมาเป็นขั้นตอน

แบ่งปันโดยคุณพ่อวุฒิเลิศ แห่ล้อม
ถอดความและเรียบเรียงโดย ตะเกียง
เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2560


พระวจนะของพระเจ้าสำหรับวันนี้ พระเจ้ายิ่งใหญ่กว่าพายุของคุณ

  พระวจนะของพระเจ้าสำหรับวันนี้ พระเจ้ายิ่งใหญ่กว่าพายุของคุณ อ่านมัทธิว 8:1 ถึง 11:1 ​    25 และพวกสาวกมาปลุกพระองค์ ทูลว่า “องค์พร...