วันจันทร์ที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ความหมายเลข 40 ที่เราพบบ่อยๆในพระคัมภีร์



เลข 40 

         เลข 40 เป็นตัวเลขที่เราพบบ่อยๆในพระคัมภีร์ จำนวน 40 นี้จะต้องมีความหมายอื่นๆที่สำคัญมากกว่าแค่เป็นตัวเลขธรรมดาอย่างแน่นอน จากคู่มือศึกษาพระคัมภีร์เราพบว่ามีการพูดถึงเลข 40 นี้มากกว่า 100 ครั้งทั้งในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ และการอ้างอิงถึงจำนวน 40 นี้มักจะพูดถึงช่วงเวลาแห่งการ “ความทุกข์ทรมานและการทดสอบ”

                พระศาสจักรให้เราเฉลิมฉลองเทศกาลมหาพรต โดยกำหนดให้ใช้เวลา 40 เพื่อให้เราคริสตชนได้ “ร่วมใจกับธรรมล้ำลึกของพระเยซูเจ้าในที่เปลี่ยว” ซึ่งพระองค์ต้องทนทุกข์ทรมานและทรงถูกทดลองต่างๆจากปีศาจ ทั้งนี้เพื่อแสดง พระองค์ทรงสามารถเอาชนะปีศาจได้ และเรามนุษย์เองก็จะสามารถเอาชนะปีศาจได้เช่นกัน ถ้าเรายึดพระเยซูเจ้าเป็นที่พึ่งของเรา

                ให้เราดูซิว่าเลข 40 ในพระคัมภีร์มีเหตุการณ์สำคัญๆอะไรเกิดขึ้นบ้าง

                เราได้เรียนรู้เรื่องราวของโนอาห์กับเรือของเขาที่ต้องสู้ทนกับพายุฝนที่ตกหนักตลอด40 วัน 40 คืน (ปฐมกาล 7:12) โมเสสเองได้ขึ้นไปเฝ้าพระเจ้าบนภูเขาซีนาย 40 วัน 40 คืน(อพยพ 24:18)

                ชาวอิสราเอลต้องเดินทางรอนแรมอยู่ในถิ่นทุรกันดารถึง 40 ปี ก่อนที่จะได้เข้าสู่ดินแดนแห่งพระสัญญา(เฉลยธรรมบัญญัติ 8:2) ดาวิดปกครองอิสราเอล 40 ปี(2 ซามูเอล 5:4) เช่นเดียวกับซาโลมอนปกครองอิสราเอลต่อจากดาวิด 40 ปี(2 พงศาวดาร 9:30)

                ประกาศกเอลียาห์เดินทาง 40 วัน 40 คืน ไปถึงโฮเรบภูเขาของพระเจ้า(1 พงศ์กษัตริย์ 19:8) ประกาศกโยนาห์ประกาศว่าเมืองนินะเวห์จะต้องล่มสลายถ้าประชาชนไม่ยอมกลับใจใช้โทษบาป(โยนาห์ 3:4)

                พระเยซูเจ้าทรงใช้เวลา 40 วัน 40 คืนเตรียมจิตใจเข้ารับพิธีล้างจากท่านยอห์นก่อนเริ่มพันธกิจเปิดเผยของพระองค์(มัทธิว 4:2; มาร์โก 1:13; ลูกา 4:2) และพระเยซูเจ้าหลังจากที่ได้กลับฟื้นคืนชีพได้ปรากฏพระองค์แก่บรรดาอัครสาวก โดยสนทนากับเขาถึงเราพระอาณาจักรของพระเจ้าตลอด 40 วันนั้น (กิจการฯ1:3)

                ตลอดเวลา 40 วัน หรือ 40 ปีจากเหตุการณ์ต่างๆที่ได้อ้างถึงนี้ จึงเป็นช่วงเวลาแห่งการพิสูจน์ความเชื่อของบุคคลที่กระทำตามพระประสงค์ของพระเจ้า โดยอาศัยความเพียรทน ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบอดทน เอาชนะการเห็นแก่ตนเอง ต่อสู้เพื่อจะได้ปฏิบัติหน้าทีที่สำคัญเพื่ออาณาจักรสวรรค์อย่างแท้จริง

                ดังนั้น 40 วัน 40 คืน ในเทศกาลมหาพรต เราจะทำอย่างไรดี เพื่อเราจะได้ หันหน้าเข้าหาพระเจ้า และหันหลังให้ความไม่ดีต่างๆในชีวิต เพื่อเราจะได้ชื่อว่าเป็น “นักสู้เพื่อยิ่งใหญ่” เช่นเดียวกับบรรพบุรุษแห่งความเชื่อของเรา

.kamsondeedee.com

วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การภาวนา คือ



การภาวนา คือ การสนทนากับพระเป็นเจ้าเพื่อจุดประสงค์ 4 ประการหลัก คือ
    1. เพื่อนมัสการ    เราต้องนมัสการพระเป็นเจ้าเพราะพระองค์ทรงสร้างเรามา และทรงสร้างสิ่งสารพัดเพื่อเรา     การนมัสการ เป็นการแสดงคารวะถวายความเคารพชั้นสูงสุด คำว่านมัสการในศาสนาคาทอลิกเราจึงใช้กับพระเป็นเจ้าเท่านั้น
    2. เพื่อขอบพระคุณ    แน่นอนว่าเราต้องโมทนาคุณ หรือ ของคุณพระเป็นเจ้าด้วยสิ้นสุดจิตใจของเราจริงๆ    ถ้าหากว่าเราสำนึกถึงพระเมตตาอันยิ่งใหญ่ที่พระองค์ทรงประทานพระพรแก่ชีวิตของเรา     เราไม่มีทางที่จะขอบพระคุณพระเป็นเจ้าได้สมกับความรักที่ทรงมีต่อเรา    เราจึงต้องโมทนาคุณพระองค์อย่างเต็มที่ดังที่ได้กล่าวแล้ว
    3. เพื่อขอขมาโทษ    เป็นหน้าที่ของเราที่จะต้องสำนึกในข้อบกพร่องและความผิดที่เรากระทำ ต้องพร้อมเสมอที่จะกราบขอขมาโทษพระองค์ด้วยความสุภาพถ่อมตน ด้วยจริงใจและตั้งใจที่จะไม่กระทำความผิดอีกต่อไป
    4. เพื่อวอนขอพระพรที่เราต้องการ    ข้อนี้เป็นข้อที่เราทุกคนกระทำกันบ่อยที่สุด เพราะเมื่อพูดถึงการภาวนา ส่วนใหญ่เกือบร้อยทั้งร้อยก็จะคิดว่าสวดภาวนาวอนขออะไรจากพระ จนทำให้คำว่า “สวดขอพระ” ติดปากติดใจของเราทุกคนเมื่อเป็นเช่นนี้เวลาเราภาวนา    เราควรจะคำนึงจุดประสงค์ทั้ง 4 ประการของการภาวนาด้วย มิใช่กระทำเพียงประการที่ 4  คือ ภาวนาเพื่อขอเพียงอย่างเดียวดังที่กระทำกันอยู่ในปัจจุบัน
    ถ้าจะพูดถึง วิธีการภาวนา เราสามารถแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ การภาวนาส่วนรวม และการภาวนาส่วนตัว
    การภาวนาส่วนรวม คือ การร่วมกันหลายภาวนาพร้อมๆ กัน เช่น การสวดสายประคำร่วมกัน การร่วมถวายบูชามิสซา ซึ่งเป็นการภาวนาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ฯลฯ         ลักษณะชองการภาวนาร่วมกัน จึงต้องมีบทสวดเดียวกัน ให้ทุกคนได้ภาวนาด้วยกัน จึงเป็นการภาวนาออกเสียง    อาจจะเป็นคำสวดหรือเป็นบทเพลงก็ได้...    การภาวนาด้วยกันนี้เป็นพระประสงค์ของพระเป็นเจ้าที่ทรงต้องการให้ประชากรของพระองค์ “ชุมนุม” กันเพื่อกราบนมัสการสรรเสริญพระองค์ ดังพระวาจาที่บอกว่า “ที่ใดมี 2-3 คนชุมนุมกันภาวนาในนามของเรา เราจะประทับอยู่ในท่ามกลางพวกเขา...” (มธ 18  19-20)
    ดังนั้น พระศาสนจักรจึงสนับสนุนส่งเสริมให้เราร่วมกันภาวนา การไปชุมนุมกันทุกวันอาทิตย์ ร่วมถวายมิสซาจึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ เป็นคำตอบว่า “ทำไมเราต้องไปร่วมพิธีมิสซาด้วยกันที่วัด” ได้เป็นอย่างดี การร่วมกันภาวนายังเป็นโอกาสให้เราได้พบปะเป็นกำลังใจให้กันและกันในการดำเนินชีวิตประจำวันอีกด้วย
    การภาวนาส่วนตัว คือ การอธิษฐานภาวนาโดยลำพังตนเอง กระทำได้ในทุกโอกาส ทุกสถานที่ เพราะเป็นเรื่องส่วนตัว เช่น อาจะภาวนาได้ในขณะเดินทาง ขณะทำงาน ใช้เวลาเล็กน้อยก่อนเดินทางขอความปลอดภัยในการเดินทาง ก่อนนอน ตื่นนอน ฯลฯ
    การภาวนส่วนตัวนี้จึงกระทำได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องมีบทภาวนาที่แน่นอนตายตัวเหมือนการภาวนาส่วนรวม เราสามารถอธิษฐานตามที่เราต้องการ เหมือนกับการสนทนากับผู้ที่เราเคารพ รัก ไว้ใจ รู้สึกอย่างไรก็บอกอย่างนั้น ต้องการอะไรก็กราบทูลตามที่ประสงค์    เรามักจะเรียกการภาวนาส่วนตัวนี้ว่า “รำพึงภาวนา” หลายคนชอบการภาวนาเช่นนี้ เพราะตรงประเด็น ตรงตามความต้องการ     แต่อย่าลืมว่าความดีส่วนรวมย่อมมาก่อนความดีส่วนตัวเสมอ  ดังนั้น จะต้องไม่ลืมให้ความสำคัญของการภาวนาส่วนรวมเป็นสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้เช่นกัน
    อย่างไรก็ดีปกติแล้ว คนที่รักการภาวนาจะไม่ขาดทั้ง 2 วิธีการ เขาจะกระทำทั้ง 2 วิธีอย่างดีและสม่ำเสมอ

บทภาวนาที่สำคัญ
    พระศาสนจักรให้ความสำคัญของบทภาวนาที่สำคัญที่สุด คือ “บทข้าแต่พระบิดา” สาเหตุเพราะบทภาวนาบทนี้เป็นบทภาวนาที่พระเยซูคริสตเจ้าทรงสอนให้ศิษย์ภาวนาด้วยพระองค์เอง
    วันหนึ่ง พระเยซูคริสตเจ้าตรัสแก่บรรดาสาวกว่า “เมื่อท่านอธิษฐานภาวนา จงอย่าเป็นเหมือนบรรดาคนหน้าซื่อใจคด เขาชอบยืนอธิษฐานภาวนาในศาลาธรรม และตามมุมเสาเพื่อให้ใครๆ เห็น    เราบอกความจริงแก่ท่านว่า เขาได้รับบำเหน็จของเขาแล้ว..ส่วนท่านเมื่ออธิษฐานภาวนา จงเข้าไปในห้องส่วนตัวปิดประตูอธิษฐานต่อพระบิดาของท่านผู้สถิตอยู่ทุกแห่ง แล้วพระบิดาของท่านผู้ทรงหยั่งรู้ทุกสิ่งจะประทานบำเหน็จให้ท่าน...”
    ...ท่านทั้งหลายจงอธิษฐานภาวนาดังนี้ “ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย พระองค์สถิตในสวรรค์ พระนามพระองค์จงเป็นที่สักการะ พระอาณาจักรจงมาถึง พระประสงค์จงสำเร็จในแผ่นดินเหมือนในสวรรค์ โปรดประทานอาหารประจำวันแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายในวันนี้ โปรดประทานอภัยแก่ข้าพเจ้าเหมือนข้าพเจ้าให้อภัยแก่ผู้อื่น โปรดช่วยข้าพเจ้าไม่ให้แพ้การประจญ แต่โปรดช่วยให้พ้นจากความชั่วร้ายเทอญ (มธ 6 : 5-13)
    ในบทข้าแต่พระบิดานี้ มีสาระสำคัญ 7 ข้อ โดย 3 ข้อแรกเป็นการภาวนาแด่พระเป็นเจ้า ให้คนรู้จักกราบไหว้นมัสการและเคารพเชื่อฟังพระองค์ในโลกนี้ ดังเช่นเดียวกับในสวรรค์     และ 4 ข้อหลัง เป็นการขอพระเป็นเจ้าโปรดประทานอาหารฝ่ายกาย และวิญญาณ ขอทรงยกบาปของเรา และทรงช่วยให้เราเอาชนะการประจญล่อลวงต่างๆ

“บทวันทามารีย์”
    เป็นบทภาวนาที่คริสตชนคาทอลิกถือเป็นบทภาวนารองจากบทข้าแต่พระบิดาก็ว่าได้ เพราะเป็นบทภาวนาที่พระเป็นเจ้าทรงมอบหมายให้ อัครเทวดาคาเบรียล กล่าวเคารพต่อพระนางมารีย์ เมื่อมาแจ้งสารของพระเป็นเจ้าแก่พระนาง ซึ่งเราทราบว่าสารนั้นคือการเลือกและทรงสถาปนาให้พระนางมารีย์เป็นมารดาของพระองค์ในโลกนี้
    นอกจานั้น ยังบรรจุคำคำนับของ นางเอลีซาเบธ ในวันที่พระนางเสด็จไปเยี่ยม (ลก 1 : 39-45)    “วันทามารีย์ เปี่ยมด้วยหรรษทาน พระเจ้าสถิตกับท่าน ผู้ได้รับพระพรกว่าสตรีใดๆ และพระเยซูโอรสของท่านทรงได้รับพระพรยิ่งนัก 
สันตะมารีย์ พระมารดาพระเจ้า โปรดภาวนาเพื่อลูกทั้งหลายผู้เป็นคนบาป บัดนี้และเมื่อจะตาย อาแมน”
    สำหรับตอนที่สองนี้ พระศาสนจักรแต่เติม เพื่อขอพระนางมารีย์ทรงโปรดวิงวอนพระเป็นเจ้าเพื่อทุกๆ คนด้วย นอกจากนี้ ยังมีบทภาวนาอื่นๆ อีกมากมายซึ่งก็มีประโยชน์และมีความหมายสำหรับชีวิตของเราเช่นกัน

ที่มา : หนังสือ หลักธรรมคำสอนคาทอลิก (คุณพ่อวุฒิเลิศ แห่ล้อม)


วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อะไรคือ อาทิตย์ใบลาน (Palm Sunday)



อาทิตย์ใบลาน (Palm Sunday) 
         “อาทิตย์ใบลาน” เป็นวันฉลองของคริสตชนก่อนการฉลองวันปัสกาหนึ่งสัปดาห์ ช่วงเวลาหนึ่งสัปดาห์ระหว่างนี้ เราเรียกว่า “สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์”
         ในวันนี้เรามีพิธี “แห่ใบลาน” ธรรมเนียมแห่ใบลานนี้เราจำลองเอาเหตุการณ์ที่บรรดาประชาชนชาวอิสราเอลถือใบปาล์มออกไปรับเสด็จพระเยซูเจ้าครั้งที่พระองค์เสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มอย่างสง่า(เทียบ ยอห์น 12:13)เพื่อรับทรมานและความตายมาระลึกถึงเพื่อเตรียมจิตใจให้เข้าสู่พระธรรมล้ำลึกแห่งการไถ่บาปของพระองค์บนไม้กางเขน

                เราเรียกว่าแห่ใบลานไม่ใช่แห่ใบปาล์มเพราะในเมืองไทยของเราในสมัยก่อนนั้นหาใบลานได้ง่ายกว่า แต่ความจริงแล้วเราจะใช้ใบไม้ของต้นไม้อะไรก็ได้ที่หาง่ายๆในท้องถิ่นมาใช้ก็ได้ เพราะเป็นเพียงสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายเท่านั้น

                พิธีในวันนี้จะจัดขึ้นก่อนพิธีบูชามิสซาขอบพระคุณหลักในวันอาทิตย์โดยให้สัตบุรุษชุมนุมกันอยู่นอกวัดในสถานที่ที่ได้จัดเตรียมไว้เป็นพิเศษ พระสงฆ์จะทำพิธีอวยพร(เสก:ทำให้ศักดิ์สิทธิ์)แล้วแจกให้สัตบุรุษทุกคนถือแห่กันเป็นกระบวนเข้ามาในวัด โดยร่วมกันขับร้องสรรเสริญสดุดีพระเยซูคริสตเจ้าในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์และพระผู้ไถ่ของเรา

                การกระทำเช่นนี้เป็นสัญลักษณ์ที่หมายถึงการเสด็จเข้ากรุงเยรูซาเล็มทั้งจิตวิญญาณและร่างกายของพระเยซูเจ้าเองเพื่อรับทรมานด้วยความเต็มพระทัย เพื่อทำให้แผนการไถ่บาปด้วยการรับความตายบนไม้กางเขนสำเร็จไปตามความในพระคัมภีร์

                บทภาวนาเพื่อการอวยพร(เสก)ใบลานนั้นเตือนใจเราที่ชุมนุมพร้อมกันอยู่นั้นให้ต้อนรับพระเยซูเจ้าเข้าสู่ชีวิตของเราทุกคน และให้เราเป็นประจักษ์พยานแห่งความเชื่อเรื่องของพระองค์แก่ทุกๆคนต่อไป

                คริสตชนมักจะนำเอาใบลานที่ได้รับในวันนี้ไปประดับบ้านเรือนด้วยความเคารพเพื่อเตือนใจให้คิดถึงของพระเยซูเจ้าเป็นต้นในเรื่องพระมหาทรมานของพระองค์ พระศาสนจักรถือว่าใบลานเป็นเครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์อย่างหนึ่ง เช่นเดียวกับรูปหรือภาพที่ผ่านการอวยพร(เสก)จากพระสงฆ์แล้ว

kamsondeedee.com

วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2557

การพลีกรรมคืออะไร




การพลีกรรมคืออะไร

ในข้อกำหนดของพระศาสนจักรว่าด้วยเรื่องการจำศีลในเทศกาลมหาพรตข้อที่ 2 ระบุว่า "ทุกวันศุกร์ตลอดปี และทุกวันในเทศกาลมหาพรต เป็นวันพลีกรรมในพระศาสนจักรทั่วไป" (กฏหมายพระศาสนจักรมาตรา 1250) และข้อที่ 3 ระบุว่า "ทุกวันศุกร์ตลอดปี ยกเว้นวันฉลองใหญ่ เป็นวันอดเนื้อหรืออาหารอื่นตามข้อกำหนดของสภาพระสังฆราชฯ วันพุธรับเถ้าและวันศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นวันอดเนื้อและอดอาหาร"(กฏหมายฯมาตรา 1251)

จากข้อกำหนด ทำให้เราทราบว่า "วันศุกร์" เป็นวันพิเศษสำหรับเราคาทอลิก เพราะ "วันศุกร์" เป็นวันที่เราระลึกถึงพระมหาทรมานและความตายของพระเยซูเจ้าเพื่อชดใช้โทษบาปของเรามนุษย์ เมื่อพระเยซูเจ้าทรงให้ชีวิตของพระองค์เป็นสินไถ่หรือไถ่ถอนเราจากโทษนรก เราจะอยู่นิ่งเฉยได้อย่างไร???เราจะไม่ทำอะไรบ้างเพื่อแสดงถึงความกตัญญูรู้คุณของเราต่อพระองค์บ้างเลยหรือ???

เราแต่ละคนอาจจะหาข้อตั้งใจและปฏิบัติอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อสนองตอบความรักและความเสียสละของพระเยซูเจ้าได้เอง แต่พระศาสนจักรได้ให้ข้อกำหนดเพื่อให้เราคาทอลิกทุกคนได้ปฏิบัติอย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน โดยเสนอแนะกิจกรรม 3 ประการนี้คือ
1) การพลีกรรม
2) การอดเนื้อ
3) การอดอาหาร

ในครั้งนี้ขอพูดถึง "การพลีกรรม"
การพลีกรรมคืออะไร 
·         การพลีกรรม คือ การยอมรับความทุกข์ยากลำบาก ความเจ็บปวด หรือการปฏิเสธตนเองที่จะละเว้นกิจกรรมที่นำความสุขหรือความสนุกส่วนตัว หรือตั้งใจ ลด-ละ-เลิก กิจการที่ไม่ดี ซึ่งอาจจะเป็นการยึดติดในบาปต่างๆ หรือนิสัยที่ไม่ดีของตัวเรา โดยเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นจากความตั้งใจ ความจริงใจ และด้วยใจเสรีของเราเอง โดยมีจุดประสงค์เพื่อจะได้ทำตัวเองให้ใกล้ชิดพระเจ้ามากยิ่งขึ้น และเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ให้กับชีวิตของเราเอง

·         กิจการต่างๆของการพลีกรรมเป็นการกระทำเพื่อจะทำให้ผู้ปฏิบัตินั้นได้ "หันหลัง" ให้กับความโน้มเอียงไปในทางบาป และในเวลาเดียวกันการพลีกรรมทำให้เราได้ "หันหน้า" เข้าหาพระเจ้า

·         การพลีกรรมเป็นวัตรปฏิบัติประการหนึ่งในวิถีชีวิตของเราคริสตชน ทั้งนี้เพื่อให้เราได้เข้ามีส่วนร่วมกับพระมหาทรมานของพระเยซูคริสต์ ตามที่พระเยซูเจ้าทรงสอนเราว่า "ถ้าผู้ใดอยากติดตามเราก็จงเลิกนึกถึงตนเอง จงแบกไม้กางเขนของตนทุกวันและติดตามเรา" (ลก 9:23)

·         การพลีกรรม เป็นการแสดงออกของท่าทีของจิตใจที่ "ไม่ยึดติด" กับวัตถุสิ่งของหรือเรื่องภายนอกทางร่างกาย แต่แสดงให้เห็นว่าผู้ประพฤติปฏิบัติเช่นนี้มีจิตใจที่สูง มีจิตใจที่ผูกพันกับสิ่งที่ดีๆ ผูกพันกับเรื่องที่มีคุณค่าต่อจิตวิญญาณ

·         การพลีกรรมจะช่วยทำให้ผู้ปฏิบัติได้มีจิตใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความปิติสุข ซึ่งเป็นความสุขที่สืบเนื่องมาจากความรัก ความเป็นพี่เป็นน้อง และการเป็นสานุศิษย์ที่แท้จริงของพระเยซูเจ้า

·         การพลีกรรมเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะเป็นกิจการที่ช่วยทำให้เราตระหนักถึงผลร้ายของบาป และรู้เท่าทันอันตรายของบาป การพลีกรรมช่วยทำให้เราเกิดความเข็มแข็งและเพียรทนต่อสู้กับตนเองและการประจญเพื่อจะได้เอาชนะความโน้มเอียงและนิสัยที่ไม่ดีในตัวเอง เพื่อความรอดพ้นฝ่ายวิญญาณของเราเองและของโลก และยังเป็นการร่วมมือกันสร้างพระอาณาจักรของพระเจ้าอีกด้วย

·         การพลีกรรมเป็นการส่งเสริมให้เราเห็นถึงความสำคัญของ "การใช้โทษบาป" ซึ่งทำให้เราต้องร้องขอความเมตตาและพระหรรษทานจากพระเจ้า เพื่อเราจะได้มีพละกำลังที่เข็มแข็งจนสามารถเอาชนะความอ่อนแอในตัวของเราได้

·         ดังนั้น ทุกวันศุกร์ อย่าลืม "พลีกรรม" นะครับ  

·         ยิ่งพลีกรรมยิ่งหน้าใส สดชื่น อิ่มบุญ ไม่แก่เกินวัย...ขอ...บอก                                       
                                                                      จาก - พ่อวัชศิลป์

.kamsondeedee.com

วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ความเชื่อของท่านช่วยท่านให้รอดพ้นแล้ว


ความเชื่อของท่านช่วยท่านให้รอดพ้นแล้ว
มาระโก 5:21-43    เราอาจพูดได้ว่าการที่พระเยซูเจ้าทรงรักษาหญิงคนหนึ่งให้หายจากการตกเลือด เป็นข้อยกเว้นในการอัศจรรย์ที่พระเยซูเจ้าทรงกระทำ เพราะพระเยซูทรงทำอัศจรรย์แต่ละครั้งด้วยความตั้งใจ ทรงทำด้วยพระประสงค์ ความตั้งพระทัย พระองค์ไม่ทรงตั้งเจตนาไว้ก่อน เมื่อทรงรักษาโรคของหญิงผู้นั้น เหตุการณ์เกิดขึ้นเพราะหญิงผู้นั้นคิดว่า “ถ้าฉันเพียงได้สัมผัสเพียงฉลองพระองค์ก็จะหายจากโรค” เขาไปหาพระองค์ด้วยความขลาดกลัว ไม่ได้ร้องตะโกนให้ทรงช่วยเหมือนชายตาบอดที่เมืองเยริโคคนนั้น (มธ.20:29-30)
- หญิงคนหนึ่งตกเลือดมาสิบสองปีแล้ว สภาพของหญิงผู้นี้คงจะทนทุกข์ทรมานเกือบจะไม่ไหวแล้วเพราะป่วยมาสิบสองปี ธรรมบัญญัติของชาวยิวกำหนดว่า การตกเลือดไม่ว่าจะเป็นประจำเดือนหรือเพราะความเจ็บป่วย ทำให้ผู้นั้นเป็นมลทินเขาจะร่วมพิธีกรรมไม่ได้ จนกระทั่งได้ชำระตนให้พ้นมลทิน โดยปฏิบัติกิจกรรมที่สลับซับซ้อน ยิ่งกว่านั้น หญิงที่เป็นมลทินจะทำให้ทุกอย่างที่นางสัมผัสไม่ว่าบุคคลหรือสิ่งของเป็นมลทินอีกด้วย
- ได้รับความทรมานมากจากการรักษาของแพทย์หลายคน เสียทรัพย์จนหมดสิ้น โรคก็มิได้บรรเทา ตรงกันข้ามกลับทรุดหนัก เพราะได้รับการทรมานมาก นางจึงหาทุกวิถีทางเพื่อรักษาตนให้หายป่วย นางได้ปรึกษากับแพทย์หลายคน แต่วิธีรักษาที่เขาใช้ไม่เกิดผล ตรงกันข้ามกลับทำให้นางต้องรับทรมานมากยิ่งขึ้น สูญเสียทรัพย์สมบัติจนหมดสิ้น อีกทั้งโรคก็ทรุดหนักกว่าเดิม วิธีเขียนของนักบุญมาระโกทำให้ผู้อ่านตั้งคำถามที่ว่า แล้วพระเยซูเจ้าจะทรงรักษาหญิงคนนี้ได้หรือไม่ นางเชื่อว่าได้ เพราะ

- นางได้ยินเขาพูดกันถึงเรื่องพระเยซูเจ้า ความเชื่อมาจากการเห็นและได้ฟังสิ่งที่พระเยซูเจ้าทรงกระทำและตรัสไว้ ถ้าคนหนึ่งไม่เคยได้ยินคำประกาศถึงพระเยซูเจ้าก็จะพบพระองค์ไม่ได้ นางเคยได้ยินเขาพูดกันถึงเรื่องพระเยซูเจ้า และต้องการพบกับพระองค์ แต่ไม่กล้าทำอย่างเปิดเผยเพราะรู้ว่าตนเป็นมลทิน

- จึงเดินปะปนกับประชาชนเข้ามาเบื้องหลัง และสัมผัสฉลองพระองค์ นางจึงเดินตามหลังพระเยซูเจ้าไม่กล้าให้พระองค์ทรงเห็นใบหน้าของเขา เพราะนางรู้ว่าธรรมบัญญัติห้ามตนให้สัมผัสพระองค์

- นางคิดว่า ”ถ้าฉันเพียงได้สัมผัสฉลองพระองค์เท่านั้น ฉันก็จะหายจากโรค” นางคิดเช่นเดียวกับชาวบ้านทั่วไปที่เชื่อว่า ผู้รักษาโรคมีอำนาจลึกลับหรือพลังจิตที่ทำให้ผู้ป่วยทุกคนที่สัมผัสเขา ไม่ว่าโดยตรงหรือทางอ้อมจะได้รับการรักษาให้หาย
- ทันใดนั้น เลือดก็หยุด นางรู้สึกว่าร่างกายหายจากโรคแล้ว แม้ดูเหมือนว่านางพยายามที่จะ "ขโมย" อัศจรรย์จากพระเยซูเจ้า อย่างไรก็ตาม ก็ยังเป็นการแสดงความเชื่อแบบหนึ่งของนาง เพราะมีความมั่นใจว่าพระเยซูเจ้าทรงมีอำนาจในการรักษาโรคที่ไม่มีผู้ใดรักษาให้หายได้ นักบุญมาระโกต้องการเน้นว่านางรู้ตัวที่ได้หายจากโรคทันที


- ขณะเดียวกัน พระเยซูเจ้าทรงรู้สึกว่ามีอิทธิฤทธิ์ออกจากพระองค์ไป นักบุญมาระโกเล่าเรื่องแบบชาวบ้านเพื่อชี้แจงอำนาจเหนือธรรมชาติในการกระทำอัศจรรย์ของพระเยซูเจ้า ฤทธิ์นี้ดูเหมือนจะเป็นพลังที่ออกจากพระวรกายของพระเยซูเจ้ามารักษาโรคโดยการสัมผัส (เทียบ มก 1:41; 3:10; 6:56; 8:22) พระเยซูเจ้าทรงมีจิตสำนึกว่าได้ทรงกระทำอัศจรรย์ อย่างไรก็ตาม พระองค์ทรงใช้ภาษาที่หญิงคนนั้นได้ใช้เพื่ออธิบายแก่นางว่า ไม่ใช่การสัมผัสทางร่างกายเป็นเหตุทำให้นางได้รับการรักษาให้หาย แต่เพราะความเชื่อของนาง ซึ่งเป็นพลังหนึ่งเดียวที่ทำให้มนุษย์ได้รับความช่วยเหลือจากพระเจ้า

- จึงทรงหันมายังกลุ่มชน ตรัสว่า “ใครสัมผัสเสื้อของเรา พระวาจานี้ดูเหมือนเป็นคำตำหนิ โดยแท้จริงแล้ว พระเยซูเจ้าตรัสเช่นนี้เพื่อบังคับหญิงตกเลือดให้แสดงตน พระองค์จะได้ทรงแก้ไขความคิดและทรงบันดาลให้ความเชื่อของนางเข้มแข็งยิ่งขึ้น

- บรรดาศิษย์ทูลว่า “พระองค์ทรงเห็นแล้วว่าผู้คนเบียดเสียดกันเช่นนี้ แล้วยังทรงถามอีกหรือว่า “ใครสัมผัสเรา” ประชาชนห้อมล้อม "เบียดเสียด" พระองค์ แต่มีเพียงผู้เดียวได้ "สัมผัส" ฉลองของพระองค์  พระเยซูเจ้าทรงต้องการแยกแยะท่าทีของผู้ที่สัมผัสพระองค์เพียงทางร่างกายแต่ไม่มีความเชื่อกับหญิงคนนั้นที่สัมผัสพระองค์และมีความเชื่อ

- พระองค์ทรงหันไปรอบๆ เพื่อทอดพระเนตรผู้ที่ทำเช่นนั้น พระเยซูเจ้าทรงพระประสงค์ให้นางเป็นอิสระจากความกลัวและความคิดที่ว่า นางได้ทำสิ่งที่ธรรมบัญญัติของชาวยิวห้ามไว้ จึงทรงเรียกนางให้ปรากฏตัวเพื่อให้กำลังใจแก่นาง

- หญิงคนนั้นรู้สึกกลัวจนตัวสั่น เพราะรู้ดีว่าได้เกิดอะไรขึ้นแก่ตน จึงกราบลงเฉพาะพระพักตร์และทูลให้ทรงทราบความจริงทุกประการ บางทีความกลัวของหญิงคนนั้นไม่เพียงมาจากการกระทำผิดต่อธรรมบัญญัติเท่านั้น  แต่มาจากการที่ได้สัมผัสพระองค์อย่างลับ ๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อนางรู้ดีว่าได้เกิดอะไรขึ้นแก่ตน นางมีความรู้บุญคุณต่อพระเยซูเจ้า จึงมีชัยชนะเหนือความกลัว และยืนยันความจริงทุกประการที่เกิดขึ้นกับตน

- พระองค์จึงตรัสว่า “ลูกเอ๋ย” การเรียกเช่นนี้แสดงทั้งความสุภาพอ่อนโยนและทัศนคติของพระเยซูเจ้า หญิงคนนั้นไม่เป็นเพียงผู้ป่วยที่หายจากโรคเท่านั้น  แต่ยังเป็นสมาชิกของครอบครัวใหม่ คือชุมชนของผู้ที่มีความเชื่อและได้รับความรอดพ้นจากพระเยซูเจ้า

- ความเชื่อของท่านช่วยท่านให้รอดพ้นแล้ว เป็นสำนวนที่พระเยซูเจ้าทรงใช้กับบารทิเมอัส คนขอทานตาบอด (เทียบ มก 10:52) 
-"จงไปเป็นสุข” เป็นสูตรการอำลาที่เราพบบ่อย ๆ ในพระคัมภีร์(เทียบ วนฉ18:6;1 ซมอ1:17; 29:7; 2 ซมอ 15:9;กจ 16:36;ยก 2:16)

-หายจากโรคเถิด" พระองค์ทรงรับรองว่าหญิงตกเลือดหายจากโรคแล้ว จึงไม่ต้องเป็นห่วงพฤติกรรมผิดปกติของนาง นางต้องมีความกล้าหาญที่มาจากความเชื่อตามตำนานโบราณเล่าว่าหญิงคนนี้ได้ชื่อเบอร์นิสหรือเวโรนิกาซึ่งในภายหลัง นางจะเช็ดพระพักตร์ของพระเยซูเจ้าระหว่างการเดินทางแบกไม้กางเขนไปสู่ภูเขากัลวารีโอต่อมานางได้สร้างรูปปั้นในเมืองของตนคือเมืองซีซารียาแห่งฟีลิป เพื่อระลึกถึงอัศจรรย์ที่พระเยซูเจ้าทรงกระทำกับนาง


เราสามารถนำประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 
1.    หญิงตกเลือดได้สัมผัสพระเยซูเจ้า การสัมผัสหมายถึงการพยายามรู้จักและเข้าใกล้ผู้ที่เราสัมผัส การสัมผัสพระเยซูเจ้าเรียกร้องการฟังและความไว้วางใจเหมือนหญิงคนนั้นที่สัมผัสพระองค์จากด้านหลัง แล้วต่อมาจึงเป็นการสนทนากับพระองค์แบบหน้าต่อหน้า การสัมผัสเป็นการกระทำของทั้งสองฝ่าย พระเยซูเจ้าทรงสัมผัสหญิงด้วยเพราะทรงให้การรักษาเขา

2.    หญิงคนนั้นเมื่อหายจากโรคแล้ว เขาก็กล้าสารภาพความจริงกับพระเยซูเจ้า สิ่งสำคัญคือเราต้องรู้จักสารภาพความอ่อนแอเปิดเผยตนเองดังที่เป็น บางครั้งการกระทำเช่นนี้ทำได้ยาก เพราะรู้สึกว่าต้องถ่อมตัว มีความอับอายเหมือนหญิงคนนั้น แต่เมื่อเราสารภาพความจริงกับพระเยซูเจ้าแล้วก็จะไม่มีกลัวอีกต่อไป เราจะรู้สึกสบายใจ โดยแท้จริงแล้ว ไม่ยากที่เราจะยอมรับความอ่อนแอของตนและสารภาพบาป ถ้าเรารู้ว่าพระเยซูเจ้าทรงรู้จักและทรงรักเราดังที่เราเป็น 

3.    พระบิดาทรงรักเรา เพราะเมื่อเรารับศีลล้างบาปเรากลายเป็นบุตรบุญธรรมของพระองค์ พระบิดาทรงเอาพระทัยใส่และทอดพระเนตรเราด้วยความรักมากกว่าไยรัสรักและมองบุตรสาวของตน พระองค์ทรงรักเรามากกว่ากษัตริย์ดาวิดทรงรักอับซาโลมพระโอรสผู้เป็นกบฏต่อพระราชบิดา แต่พระบิดาของเราทรงมีความเพียรทน ทรงเอาพระทัยใส่และทรงดูแลเราอยู่เสมอ

4.    พระเยซูเจ้าทรงนำศิษย์สามคนไปด้วยกัน เมื่อเราเผชิญสถานการณ์ที่มีความทุกข์ ยากลำบาก ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์ของเราหรือของผู้อื่น และดูเหมือนว่าไม่มีทางออก ไม่มีความหวัง เราปฏิบัติตนอย่างไร เราปิดหูปิดตาเพราะเห็นว่ามนุษย์มีขีดจำกัด ไม่สามารถทำได้ บางครั้งเราอาจคาดว่าทำได้ แต่แล้วก็ทำไม่สำเร็จหรือผิดหวังที่จะทำได้ ในสถานการณ์เช่นนี้ เราแสดงความเชื่อในพระเจ้าอย่างไร
เราน่าจะถามตนเองว่า มีความสัมพันธ์ใดระหว่างพระเยซูเจ้ากับความตาย สำหรับมนุษย์ทั่วไป เมื่อคนหนึ่งตาย แม้นายแพทย์ที่เก่งที่สุดก็ทำอะไรกับเขาไม่ได้ เราทุกคนรู้สึกไม่มีอำนาจเหนือผู้ตายอีกแล้ว วิธีการช่วยเหลือเขาทุกอย่างก็หมดสิ้น แม้ความรักยิ่งใหญ่ก็ไม่ทำให้ผู้ตายกลับคืนชีพได้ สิ่งเดียวที่ยังทำได้คือการร้องไห้และฝังศพเขา แต่สำหรับพระเยซูเจ้าไม่เป็นเช่นนี้เลย พระองค์ทรงสอนเราให้มีความเชื่อ มีความไว้วางใจในพระอานุภาพของพระองค์เหนือความตาย

ขอบคุณข้อมูลจาก thaicatholicbible.com

การทำบุญ




การทำบุญ
 อยากจะทำบุญทำกุศลบ้างจะทำอะไรดี??
การทำบุญตามหลักคาทอลิก คือ กิจการที่เรากระทำกับผู้อื่นเพื่อแสดงออกถึงความรัก ความเห็นอกเห็นใจ หรือการช่วยเหลือผู้ที่กำลังตกอยู่ในความยากลำบากต่างๆ คนที่สิ้นหวัง คนที่กำลังอยู่ในความทุกข์

คาทอลิก แยกการทำบุญออกเป็น 2 ประเภท คือ การทำบุญฝ่ายกาย และการทำบุญฝ่ายจิตใจ 

การทำบุญฝ่ายกาย(Corporal Works) ได้แก่ 
(1)การให้อาหารคนที่หิว             
(2)ให้น้ำแก่คนที่กระหาย
(3)ให้เสื้อผ้าแก่คนที่ไม่มีนุ่งไม่มีห่ม
(4)ให้ที่พักแก่คนที่ไร้ที่อยู่
(5)เยื่ยมคนเจ็บไข้ได้ป่วย             
(6)เยี่ยมคนติดคุก             
(7)ฝังศพผู้ล่วงลับ

การทำบุญฝ่ายจิตใจ(Spiritual Works)ได้แก่ 
(1)ให้คำแนะนำแก่ผู้ที่สงสัย         
(2)สอนคนที่ไม่รู้
(3)ตักเตือน-แก้ไขคนบาป             
(4)บรรเทาใจผู้ตกทุกข์ได้ยาก
(5)ให้อภัยแก่ผูที่ทำผิด               
(6)อดทนและมีความเพียรต่อความผิดของคนอื่น
(7)ภาวนาให้กับผู้อื่นทั้งที่มีชีวิตอยู่และที่ได้ตายไปแล้ว

การทำความดีไม่ต้องรอเวลา ทำเดี๋ยวนี้ ตอนนี้ เริ่มได้เลยนะคะพี่น้อง เริ่มกับคนข้างๆ กับคนในครอบครัว กับคนที่เราพบเห็นทั่วไป

วันอังคารที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557

พระคุณในความอ่อนแอ คืออะไร


พระคุณในความอ่อนแอ
มาระโก 6:7-13

การที่พระเยซูทรงกำชับพวกสาวกไม่ให้นำสิ่งใดติดตัวไปเมื่อทรงส่งพวกเขาไปทำพันธกิจนั้น หมายความว่าอย่างไร หมายความว่านอกจากเขาจะไม่นำสิ่งใดติดตัวไปด้วยแล้ว เขาต้องละทิ้งทั้งหมดที่มีไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สมบัติ ความสามารถ ตลอดจนประสบการณ์ที่เคยมีด้วย สิ่งเดียวที่เขาต้องมีติดตัวไปด้วยคือ ความไว้ใจในการทรงนำของพระเยซูเจ้า
    ในเวลาปกติหรือมีความมั่นใจสูง เรามักจะไม่กระตือรือร้นในการสวดภาวนา ตรงกันข้ามเมื่อเราเผชิญปัญหาใหญ่ๆเกิดไม่มีความมั่นใจ ถึงทางตัน รู้ถึงขีดจำกัดหรือความอ่อนแอของตนเอง เราก็จะสวดภาวนาด้วยความร้อนรนกระตือรือร้น เราจะสวดภาวนาทูลขอพระเจ้าให้ทรงช่วยเราออกจากความทุกข์ยากที่เรากำลังเผชิญอยู่

    ความอ่อนแอหมายความว่าอย่างไร ความอ่อนแอคือการที่เราไม่สามารถ ไม่มีประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ ไม่มีความรู้ เป็นต้นเมื่อเราไม่รับรู้ว่าเราอ่อนแอก็จะไม่แสวงหาพระเจ้า สรุปได้ง่ายๆว่า ในความอ่อนแอเราจะพบพระเจ้า เพราะฉะนั้นความอ่อนแอจึงไม่ใช่เรื่องน่าอาย แต่ความอ่อนแอนี่แหละคือพระคุณของพระเจ้า เพราะเมื่อเราสำนึกว่าตัวเองอ่อนแอ เราก็แสวงหาพระเจ้า

   
ในมัทธิว 5:3 พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ผู้ใดมีใจยากจนย่อมเป็นสุข”พระวาจานี้ไม่ได้หมายความว่า พระเยซูยอมให้คนตกอยู่ในความทุกข์ของความจน แต่หมายถึงว่า ผู้ที่ทราบถึงความยากจนของตนเองย่อมเป็นสุข ความยากจนคือความอ่อนแอ สรุปได้ว่า เราต้องเชื่อว่าเรายอมรับต่อพระเยซูว่าตนอ่อนแอ พระองค์จะทรงทำทุกอย่างแทนเรา เปาโลบอกว่า ดังนั้นข้าพเจ้าจึงเต็มใจโอ้อวดเรื่องความอ่อนแอของตนต่อพระเยซูเจ้าเพื่อให้พระอานุภาพของพระเยซูเจ้าพำนักอยู่ในข้าพเจ้า...เพราะข้าพเจ้าอ่อนแอเมื่อใด ข้าพเจ้าก็ย่อมแข็มแข็งเมื่อนั้น

   
พระเจ้าทรงสร้างเราให้เป็นผู้มีความอ่อนแอ เพื่อจะได้เชื่อมติดกับพระเจ้าตลอดไป เราอาจพูดได้อีกอย่างหนึ่งว่าพระเจ้าปรารถนาให้เราเป็นมนุษย์ เป็นผู้อ่อนแออยู่เสมอเพื่อจะได้รับ ประทานความรักจากพระองค์ตลอดนิรันดร

    พระเจ้าสร้างมนุษย์และทรงบรรจุความอ่อนแอไว้ พระองค์ทรงทราบดีถึงความอ่อนแอของเรา ดังนั้นเราจึงไม่จำเป็นต้องอายในความอ่อนแอของเรา
เพราะพระเจ้าทรงรับผิดชอบชีวิตของเราด้วยพระองค์เอง และเราต้องเชื่อว่าพระเยซูผู้ทรงส่งเราออกไปทำพันธกิจในโลกนี้ จะทรงเป็นผู้รับผิดชอบพาเราไปถึงสวรรค์อีกครั้งหนึ่งด้วยพระองค์เองเช่นเดียวกัน
ที่มา: หนังสือชีวิตนิรันดร

วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557

น้ำพระทัยพระเจ้า Vs น้ำใจเสรีของมนุษย์

 น้ำพระทัยพระเจ้า Vs น้ำใจเสรีของมนุษย์
เคยมีมุกตลกอันหนึ่งว่า "ถ้าอยากให้พระเจ้าหัวเราะ ให้เล่าแผนชีวิตของคุณให้พระองค์ฟัง"
การพยายามเข้าใจในปรัชญาศาสนาที่เชื่อพระเจ้าสูงสุดองค์เดียว คือศาสนาศาสตร์หรือเทวศาสตร์สำคัญ 2 เรื่อง ที่เป็นข้อถกเถียงโต้แย้งมาตั้งแต่พระธรรมเดิมหลายพันปีมาจนถึงยุคกลาง คือ การลิขิตของพระเจ้า(Holy Providence) กับ น้ำใจเสรีในการเลือกทำหรือไม่ทำ(Free Will)ของมนุษย์ มีจริงหรือไม่ และถ้ามี มีแบบไร และถ้ามีทั้งสองอย่่าง ทั้งสองจะสามารถขัดแย้งกันได้หรือไม่
ในยุคกลางของคริสตศาสนาได้มีการพัฒนาความคิดความเข้าใจและคำสอนเรื่องคุณสมบัติที่สำคัญที่ทำให้พระเจ้าคือพระเจ้าอย่างเฟื่องฟูมาก จนมีการสร้างสัญลักษณ์คือ ดวงตาของพระเจ้า(เป็นดวงตาที่ลอยอยู่ในสวรรค์มองดูทั้งสวรรค์โลกและจักรวาลที่ทรงสร้างทั้งหมด) คือ เรื่องของ(Providence) หรือที่คำคาทอลิกเก่าใช้ว่า "พระญาณสอดส่อง" (ปัจจุบันใช้คำว่า "พระญาณเอื้ออาทร") หรือแปลเป็นศัพท์แบบไทยๆก็คือความเป็นสัพพัญญูของพระเจ้า หรืออธิบายแบบบ้านๆให้เข้าใจง่ายคือ การรู้สิ้นทุกสิ่งของพระเจ้า และทรงกำหนดทุกสิ่งให้เป็นไปตามการลิขิตของพระองค์
โดยหลักความเชื่อเรื่อง พระเจ้าทรงเป็นองค์ความดีสูงสุด ทรงมองเห็นและรู้ทุกอย่าง และมีฤทธิ์อำนาจในการทำให้พระประสงค์สำเร็จไปนั้น ถูกโต้แย้งตั้งคำถามโดย หลักศาสนศาสตร์2ข้อคือ 1.ทำไมยังมีความชั่วร้ายในโลก 2.มนุษย์มีเสรีภาพหรืออำเภอใจของตนไม่ใช่หรือ
ในการตอบคำถามเรื่องทำไม เมื่อมีพระเจ้าที่เห็นทุกสิ่ง ทำได้ทุกอย่าง พระองค์ยังปล่อยให้มีเรื่องชั่วร้ายหรือเจ็บปวดเกิดขึ้น
ในพระคัมภีร์เอง บันทึกไว้ว่ามีเรื่องเลวร้ายเกิดขึ้นมากมาย โดยพระเจ้าปล่อยให้มันเกิดไปจนจบหลังจากนั้นจึงกลับมาฟื้นฟูมันทีหลัง นั่นจึงเป็นคำตอบว่า ความเลวร้ายเป็นสิ่งที่พระเจ้ารู้จักดี และมันถูกปล่อยให้มีเพื่อนำไปสู่ความดีที่สูงส่งกว่าในภายหน้า น.ออกัสตินยังอธิบายด้วยว่า ความชั่วร้ายไม่ได้มีตัวตนอยู่จริง มันคือการขาดความดี เพราะพระเจ้าทรงสมบูรณ์สูงสุดจึงไม่สามารถสร้างสิ่งที่สมบูรณ์กว่าพระองค์เองได้ สิ่งสร้างจึงไม่ได้สมบูรณ์แบบเท่าพระผู้สร้าง จึงยังมีข้อบกพร่อง(ขาดความดี) แต่พระเจ้าทรงมีแผนการนำทุกสิ่งสู่พระองค์(องค์ความดี) ดังนั้นในฐานะมนุษย์ที่มีข้อจำกัดเราไม่รู้ว่าแผนการณ์นั้นทั้งจักรวาลคืออะไร การปล่อยให้ความไม่ดีเกิดขึ้นก็เพื่อแก้ไขให้กลายเป็นสิ่งที่ดีกว่าในอนาคตซึ่งอาจไกลกว่าอายุขัยเรา เราจึงไม่อาจจะรู้ได้หมด ดังที่ความบาปของอาดัมและเอวา ใช้เวลายาวนานหลายชั่วอายุคนกว่าจะมาถึงการกำเนิดพระเยซูเพื่อไถ่บาปนั้น โดยเหล่าประกาศล้วนตายไปก่อนได้เห็นการทรงไถ่ หรือจะรู้ว่าได้ว่าไถ่กู้แบบไหนอย่างไร
แต่เรื่องที่น่าสนใจและใกล้ตัวเราและเราอาจจะถามมันบ่อยกว่าคือ นำใจเสรีของมนุษย์ที่ศาสนาคริสต์สอนว่ามีอยู่จริงแน่นอนนั้น เรามีสิทธิ์ปฏิเสธแผนของพระเจ้าหรือไม่ ถ้าไม่ มันจะเสรีได้อย่างไร
คำถามนี้อยู่ที่เราเข้าใจ ฤทธิ์อำนาจของพระเจ้าในลักษณะไหน แต่ถ้าให้ตอบแบบรวบรัดเข้าใจง่ายก็คือ น้ำใจเสรีของมนุษย์มีจริงแต่ไม่ยิ่งใหญ่ไปกว่าแผนงานของพระเจ้า
เราอาจใช้เรื่องโยนาห์ผู้หนีพระเจ้าในการถูกสั่งให้ไปนีนะเวห์ พระเจ้ารู้ล่วงหน้าว่าโยนาห์จะตอบอย่างไร พระเจ้ารู้ด้วยว่าจะหนี และจะหนีทางไหน ไปไหน อย่างไร แต่เมื่อพระเจ้าทรงดำริสิ่งใดทั้งจักรวาลจะรับใช้พระประสงค์นั้น สิ่งสร้างทั้งหมด ทั้งภูมิอากาศและสัตว์ล้วนพากันนำเขากลับไปที่นีนะเวห์ จึงอาจสรุปคำตอบง่ายๆดังนี้
-พระประสงค์ที่จะช่วยนีนะเวห์จะสำเร็จไปอย่างแน่นอน
-การลงโทษนีนะเวห์มีอยู่จริงแต่ทรงกำหนดไว้ว่ามันต้องไม่เกิด
-ทรงรู้ล่วงหน้าว่าโยนาห์จะหนี และรู้ล่วงหน้าว่า ถ้าชาวนีนะเวห์ได้ีรับการเตือนพวกเขาจะกลับใจแน่นอน
-ทรงรู้ว่าจะทำยังไงให้โยนาห์เปลี่ยนใจซึ่งการเปลี่ยนใจของเขาก็มาจากตัวเขาเอง
-ถ้าโยนาห์ตอบรับดีๆ เขาอาจไปถึงนีนะเวห์แบบชิวๆ แต่การที่เขาหนีและสุดท้ายกลับไปทีหลังแบบสะบักสะบอม ก็เกิดสิ่งที่ดีขึ้น คือการเปลี่ยนแปลงทัศนคติการเกลียดชังคนต่างชาติของชาวยิวแบบโยนาห์อย่างลึกซึ้ง จึงเท่ากับว่ามีความดีเกิดสองอย่างคือ ไม่เพียงนีนะเวห์กลับใจโยนาห์ก็กลับใจด้วย โดยการกลับใจของโยนาห์ พระเจ้าอุบไว้ไม่บอกโยนาห์ก่อนแต่อย่างใด
หรือถ้าเราจะเปรียบให้ใกล้ตัวขึ้นอีก เมื่อพ่อแม่จะส่งลูกไปเข้าโรงเรียนครั้งแรก ลูกบางคนจะโยเยมาก เขาอาจจะรู้สึกโกรธพ่อแม่ รู้สึกพ่อแม่จับเขามาทิ้ง แต่พ่อแม่ทุกคนย่อมไม่ยอมให้ลูกทำตามใจโดยไม่ต้องเข้าเรียนปล่อยเป็นเด็กไม่มีการศึกษา พ่อแม่จะสรรหาวิธีการให้ลูกยอมไปเรียน ทั้งแบบเบาแบบหนัก โดยแผนการของพ่อแม่ที่จะส่งลูกเข้าเรียนจะไม่เปลี่ยนตามใจลูกที่อยากนอนเล่นอยู่บ้านตลอดไปอย่างแน่นอน
ดังนั้นน้ำใจเสรีของมนุษย์มีอยู่จริง และเป็นของที่พระเจ้าประทานให้ แต่มันจะไม่อยู่เหนือไปกว่าแผนการหรือน้ำพระทัยของพระเจ้าได้อย่างแน่นอน หากพระเจ้าทรงพระประสงค์สิ่งใด ทั้งจักรวาล ตั้งแต่ทูตสวรรค์ถึงสิ่งสร้างทั้งหมดบนโลกจะพร้อมใจกันทำให้สำเร็จ แม้มนุษย์บางคนที่อยู่ในแผนจะปฏิเสธ จะกลัว จะไม่อยาก จะทำให้มันช้าออกไปแต่อย่างไร มันจะถูกนำมาสู่เส้นทางที่กำหนดไว้ได้
(ฮาบากุก2:3) เพราะว่านิมิตนั้นยังรอเวลาที่กำหนดไว้ ...ถ้าดูช้าไป ก็จงคอยสักหน่อย มันจะบังเกิดขึ้นเป็นแน่
เราไม่อาจเปลี่ยนแผนการของพระเจ้าตามใจของเรา เราอาจขอการบรรเทา ขอพระเมตตา ให้เวลาหดสั้น หรือยาวออกไปจนเราพร้อม
เราพบแบบอย่างและคำอธิบายเรื่องนี้อย่างครบครันในประโยคสำคัญของการอธิษฐานภาวนาของพระเยซูในสวนมะกอกก่อนถูกจับไปทรมานและตรึงกางเขน
"ข้าแต่พระบิดา ถ้าพระองค์พอพระทัย ขอให้ถ้วยนี้เลื่อนพ้นไปจากข้าพเจ้า แต่อย่างไรก็ดี อย่าให้เป็นไปตามใจข้าพเจ้า แต่ให้เป็นไปตามพระทัยของพระองค์"
หลายๆครั้ง เราคิดว่าการที่พระเจ้าไม่ให้ตามที่เราขอ คือการไม่ตอบคำอธิษฐาน แต่ที่จริง พระเจ้าทรงตอบทุกคำอธิษฐาน โดยทรงตอบได้หลายแบบ บางครั้งพระองค์ก็ตอบว่า ไม่ได้ บางครั้งพระองค์ก็อาจตอบว่าได้ แต่ต้องรอ หรือได้ แต่ต้องพยายามหน่อย หรือแม้แต่ทรงวางสิ่งที่เราอยากได้ไว้ล่วงหน้าแล้ว แต่เราต้องออกไปแสวงหามันมากกว่านี้ หรืออาจตอบว่า จะให้สิ่งที่ดีกว่านี้อีก เปิดใจอีกหน่อยสิ ฯลฯ
แต่ในชีวิตจริงเราอาจมีคำถามว่าแล้วฉันจะรู้น้ำพระทัยของพระเจ้าต่อฉันได้อย่างไรว่าคืออะไร
ไม่มีใครช่วยตอบเราได้ นอกจากเราจะเปิดใจ อธิษฐานภาวนา และการวางใจว่า พระเจ้าทรงรักเรา ทรงเป็นองค์ความดี มีแผนการที่ดีสำหรับเรา และจะทรงให้สิ่งสร้างทั้งจักรวาลนำเราสู่แผนการนั้น แม้มันจะไม่ตรงกับสิ่งที่เราอยากได้ เราอาจไม่ชอบหรือคิดว่าดีในตอนนี้ แต่เราวางใจได้ว่าพระองค์จะนำสิ่งที่ดีมาให้เราอย่างแน่นอน
(ยรม.29:11) พระเจ้าตรัสว่า เพราะเรารู้แผนงานที่เรามีไว้สำหรับเจ้า เป็นแผนงานเพื่อสวัสดิภาพ ไม่ใช่เพื่อทุกขภาพ เพื่อจะให้อนาคตและความหวังใจแก่เจ้า
ขอพระประสงค์ของพระองค์จงสำเร็จไปในแผ่นดินเหมือนในสวรรค์ อาแมน
ขอบคุณข้อมูลจาก Pronpol Paul Rakboonyuang

วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การให้เฉพาะบุรุษเท่านั้นได้รับศีลบวช เป็นการลดเกียรติสตรีหรือไม่

ที่ให้เฉพาะบุรุษเท่านั้นได้รับศีลบวช เป็นการลดเกียรติสตรีหรือ?

   
กฎที่ว่าให้เฉพาะบุรุษเท่านั้นรับศีลบวชได้ ไม่ใช่ป็นการลดเกียรติสตรี  ในสายพระเนตรของพระเจ้า  ชายและหญิงมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน แต่พวกเขามีหน้าที่และพระพรพิเศษที่แตกต่างกัน พระศาสนจักรมองตนเองในขอบเขตความจริงที่ว่า พระเยซูเจ้าทรงเลือกเฉพาะผู้ชายให้อยู่ในการเลี้ยงอาหารค่ำมื้อสุดท้ายในการตั้งสังฆภาพ สมเด็จพระสันตะปาปายอห์นปอลที่ 2 ทรงประกาศในปี ค.ศ. 1994 ว่า  “พระศาสนจักรไม่มีอำนาจใดๆที่จะยกการบวชเป็นพระสงฆ์ให้กับสตรี และเป็นการตัดสินอย่างเด็จขาดจากสัตบุรุษทุกคนของพระศาสนจักร”
พระเยซูเจ้าไม่ทรงเหมือนใครในสมัยโบราณ พระองค์ทรงยืนยันถึงคุณค่าของสตรี ทรงมอบมิตรภาพของพระองค์ให้กับสตรี และปกป้องพวกเขา สตรีเป็นศิษย์ติดตามพระองค์และพระเยซูเจ้าทรงให้คุณค่าแก่ความเชื่อของสตรีอย่างมาก ยิ่งกว่านั้น ประจักษ์พยานคนแรกในการกลับคืนพระชนม์ชีพของพระองค์ ก็เป็นสตรี ด้วยเหตุนี้มารีย์ ชาวมักดาลาจึงได้ชื่อว่าเป็น “อัครสาวกของบรรดาอัครสาวก” อย่างไรก็ตาม สังฆภพที่ได้รับการบวช (และศาสนบริการการอภิบาลที่ตามมา)ได้มอบให้กับบุรุษเสมอมา ชุมชนคริสตชนมองพระสงฆ์ที่เป็นชายว่าเป็นผู้แทนของพระเยซูคริสตเจ้า การเป็นพระสงฆ์เป็นการให้บริการแบบพิเศษซึ่งมีความต้องการผู้เป็นชายในบทบาทเฉพาะเพศของเขา และความเป็นบิดาอย่างไรก็ตาม มิใช่ว่าเพศชายจะอยู่เหนือสตรี ดังที่เราเห็นในพระนางมารีย์ สตรีมีบทบาทในพระศาสนจักรไม่แพ้บทบาทของเพศชาย แต่เป็นเพศหญิง เอวากลายเป็นมารดาของผู้มีชีวิตทั้งหลาย (ปฐก 3:20) ในฐานะ “มารดาของผู้มีชีวิตทั้งหลาย” สตรีมีพระพรและความสามารถอย่างพิเศษ ปราศจากการสอน การเทศน์ ความรักเมตตา  ชีวิตฝ่ายจิต และการให้คำแนะนำ พระศาสนจักรคงจะเป็น “อัมพาตไปส่วนหนึ่ง” ตราบเท่าที่ชายในพระศาสนจักรใช้ศาสนบริการการเป็นสงฆ์ของเขาเป็นดั่งเครื่องมือของอำนาจ หรือไม่ ยอมเปิดโอกาสให้กับสตรี พวกเขาทำผิดต่อความรักเมตตาและต่อพระจิตของพระเยซูเจ้า 64

การถือพรมจรรย์ (CELIBACY)
การถือพรมจรรย์ (มาจากภาษาลาตินว่า caelebs แปลว่าโสด บุคคลผู้ไม่แต่งงาน) เป็นการอุทิศตนเองส่วนบุคคลของผู้ที่มีชีวิตแบบไม่แต่งงาน “เพื่อประโยชน์ของพระอาณาจักรสวรรค์” ในพระศาสนจักรคาทอลิกการสัญญาที่จะมีชีวิตแบบนี้ เป็นพิเศษคือผู้ที่เป็นนักบวช (ผู้ซึ่งกระทำการปฏิญาณตน) และคณะสงฆ์ (ซึ่งทำสัญญาว่าจะถือโสด) 

ขอบคุณข้อมูลจาก kamsonbkk.com

วันเสาร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ทำไมพระศาสนจักรจำเป็นต้องให้พระสงฆ์และพระสังฆราชมีชีวิตพรหมจรรย์



ทำไมพระศาสนจักรจำเป็นต้องให้พระสงฆ์และพระสังฆราชมีชีวิตพรหมจรรย์
              พระเยซูเจ้าทรงมีชีวิตพรหมจรรย์ และด้วยวิธีนี้พระองค์ทรงมีเจตนาที่จะแสดงถึงความรักที่ไม่แบ่งแยกของพระองค์ต่อพระเจ้าพระบิดา เพื่อกระทำตามวิถีของพระเยซูเจ้า และมีชีวิตความบริสุทธิ์ไม่แต่งงาน “เพราะเห็นแก่อาณาจักรสวรรค์” (มธ 19:12) ซึ่งมีมาแล้วตั้งแต่สมัยของพระเยซูเจ้า เป็นเครื่องหมายของความรัก ของการอุทิศตนอย่างไม่แบ่งแยกต่อองค์พระผู้เป็นเจ้า และของความเต็มใจที่จะรับใช้อย่างสมบูรณ์
พระศาสนจักรโรมันคาทอลิกจำเป็นต้องให้มีรูปแบบชีวิตแบบนี้สำหรับพระสังฆราชและพระสงฆ์ ในขณะที่พระศาสนจักรคาทอลิกตะวันออกเรียกร้องเฉพาะผู้เป็นพระสังฆราชเท่านั้น (1579-1580, 1599)

มเด็จพระสันตะปาปาเบเนดิกติ์ที่ 16 ตรัสถึงการถือพรหมจรรย์ ว่ามิได้หมายถึง “คงอยู่ในความว่างเปล่าของความรัก แต่จะต้องหมายถึงการยอมให้ตนเองสามารถเอาชนะอารมณ์เพื่อพระเจ้า” พระสงฆ์ ซึ่งดำเนินชีวิตถือพรหมจรรย์ควรทำให้การเป็นผู้แทนบุคลิกความเป็นบิดาของพระเจ้า และของพระเยซูเจ้าเกิดผลให้มากที่สุด สมเด็จพระสันตะปาปายังตรัสต่ออีกว่า “พระคริสตเจ้าทรงปรารถนาพระสงฆ์ผู้ซึ่งเป็นผู้ใหญ่และอย่างผู้ชาย สามารถปฏิบัติความเป็นบิดาฝ่ายจิตได้อย่างถูกต้อง”

ขอบคุณข้อมูลจาก kamsonbkk.com

วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ใครคือผู้เขียนหนังสือทั้งหลายในพระคัมภีร์ไบเบิ้ล?


ใครคือผู้เขียนหนังสือทั้งหลายในพระคัมภีร์ไบเบิ้ล?

คำตอบ: ในที่สุด นอกเหนือจากมนุษย์ผู้เขียนดังกล่าวข้างต้น พระคัมภีร์เขียนขึ้นโดยพระเจ้า.

2 ทิโมธี 3:16 บอกเราว่าพระคัมภีร์ถูก "ปล่อยลมหายใจออก" โดยพระเจ้า “ พระคัมภีร์ ทุกตอนได้รับการดลใจจากพระเจ้า และเป็นประโยชน์ในการสอน การตักเตือนว่ากล่าว การปรับปรุงแก้ไขคนให้ดี และการอบรมในทางธรรม “ พระเจ้าทรงดูแลกำกับมนุษย์ผู้เขียนพระคัมภีร์ เพื่อว่าในการใช้รูปแบบการเขียนและบุคลิกภาพ ของเขาเอง พวกเขายังคงบันทึกแน่นอนสิ่งที่พระเจ้าทรงตั้งเป้าหมาย พระคัมภีร์ไม่ได้ถูกบอกให้เขียนตามพระเจ้า แต่มันก็รับแนวทางที่ถูกต้องสมบูรณ์และได้รับการดลใจทั้งหมดโดยพระองค์

พูดตามประสามนุษย์ พระคัมภีร์ถูกเขียนขึ้นโดยคนประมาณ 40 คนที่มีภูมิหลังแตกต่างกันในระยะเวลามากกว่า 1500 ปี

อิสยาห์เป็นผู้พยากรณ์ เอสราเป็นปุโรหิต มัทธิวเป็นคนเก็บภาษี ยอห์นเป็นชาวประมง เปาโลเป็นนักเย็บเต้นท์ขาย โมเสสเป็นคนเลี้ยงแกะ ลูกาเป็นนายแพทย์

แม้ว่ามีกลุ่มนักเขียนต่างๆ กันจับปากกาเขียนเมื่อ 15 ศตวรรษที่แล้ว พระคัมภีร์ไม่ได้ขัดแย้งกันเอง และไม่ได้มีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนต่างเสนอมุมมองที่แตกต่างกัน แต่พวกเขาทั้งหมดประกาศยอมรับพระเจ้าองค์เที่ยงแท้องค์เดียว และเช่นเดียวกับหนทางไปสู่ความรอด ----พระเยซูคริสต์ (ยอห์น14.6 กิจการ 4.12)

หนังสือสองสามเล่มในพระคัมภีร์ตั้งชื่อเฉพาะตามผู้เขียนหนังสือนั้น นี่เป็นชื่อหนังสือพระคัมภีร์ เรียกตามชื่อของนักเขียน โดยนักวิชาการหลักพระคัมภีร์ส่วนใหญ่สันนิษฐาน พร้อมกับประมาณวันเวลาที่ทำการเขียน :

ปฐมกาล อพยพ เลวีนิติ กันดารวิถี เฉลยธรรมบัญญัติ โดยโมเสส – ค.ศ. 1400

โยชูวา โดยโยชูวา - 1350 ก่อนคริสต์กาล

ผู้วินิจฉัย รูธ 1ซามูเอล , 2 ซามูเอล โดยซามูเอล บางส่วน โดย นาธาน และ กาด – 1000-900 ปีก.ค.ศ.

1 พงศ์กษัตริย์ 2 พงศ์กษัตริย์ โดย เยเรมีย์ - 600 ปี ก.ค.ศ.

1 พงศาวดาร 2 พงศาวดาร เอสรา เนหะมีย์ โดย เอสรา – 450 ปีก.ค.ศ.

เอสเธอร์ โดย โมระเดคาย - 400 ก.ค.ศ.

โยบ โดย โยบ แต่นี่ไม่แน่นอน มีคำแนะนำว่าอาจเป็นโมเสส หรือ อีลิฮู - 1400 ปี ก.ค.ศ.

บทเพลงสดุดี โดยผู้เขียนหลายคนต่างกัน ส่วนใหญ่คือ ดาวิด – 1000 ปี– 400 ปีก.ค.ศ.

สุภาษิต , ปัญญาจารย์ และ บทเพลงของโซโลมอน โดยโซโลมอน – 900 ปี ก.ค.ศ.

อิสยาห์ โดย อิสยาห์ - 700 ปี ก.ค.ศ.

เยเรมีย์และ บทเพลงคร่ำครวญ โดย เยเรมีย์ - 600 ปี ก.ค.ศ.

เอเสเคียล โดย เอเสเคียล - 550 ปี ก.ค.ศ.

ดาเนียลโดย ดาเนียล- 550 ปี ก.ค.ศ.

โฮเชยา โดย โฮเชยา - 750 ปี ก.ค.ศ.

โยเอล โดยโยเอล - 850 ปี ก.ค.ศ.

อาโมส โดยอาโมส - 750 ปี ก.ค.ศ.

โอบาดีห์ โดย โอบาดีห์ - 600 ปี ก.ค.ศ.

โยนาห์โดย โยนาห์- 700 ปี ก.ค.ศ.

มีคาห์ โดย มีคาห์ - 700 ปี ก.

นาฮูม โดย นาฮูม - 650 ปี ก.ค.ศ.

ฮาบากุกโดย ฮาบากุก - 600 ปี ก.ค.ศ.

เศฟันยาห์ โดย เศฟันยาห์ - 650 ปี ก.ค.ศ.

ฮักกัย โดย ฮักกัย - 520 ปี ก.ค.ศ.

เศคาริยาห์ โดย เศคาริยาห์ - 500 ปี ก.ค.ศ.

มาลาคี โดย มาลาคี - 430 ปี ก.ค.ศ.

มัทธิวโดย มัทธิว - ค.ศ. 55

มาระโกโดยมาระโก - ค.ศ. 50

ลูกา โดย ลูกา- ค.ศ. 60

ยอห์น โดย ยอห์น - ค.ศ. 90

พระธรรมกิจการ โดย ลูกา- ค.ศ. 65

โรม 1โครินธ์ 2โครินธ์ กาลาเทีย เอเฟซัส ฟีลิป โคโลสี 1เธสะโลนิกา 2 เธสะโลนิกา ,

1 ทิโมธี 2 ทิโมธี ติตัส ฟิเลโมนโ ดยเปาโล - ค.ศ 50-70

ฮีบรู โดย ผู้เขียนไม่ทราบชื่อ ส่วนใหญ่โดยเปาโล ลูกา บารนาบัส หรือ อปอลโล - ค.ศ 65

ยากอบโดย ยากอบ - ค.ศ. 45

1 เปโตร และ 2 เปโตร โดยเปโตร - ค.ศ. 60

1 ยอห์น 2 ยอห์น, 3 ยอห์น โดย ยอห์น - ค.ศ. 90

ยูดาโดย ยูดา- ค.ศ. 60

วิวรณ์ โดยยอห์น - ค.ศ. 90 

วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557

มี​ปัจจัย​อะไร​บ้าง​ที่​จะ​ช่วย​เรา​ให้​เข้าใจ​คัมภีร์​ไบเบิล?




มี​ปัจจัย​อะไร​บ้าง​ที่​จะ​ช่วย​เรา​ให้​เข้าใจ​คัมภีร์​ไบเบิล?


คำ​ตอบ​จาก​คัมภีร์​ไบเบิล

คัมภีร์​ไบเบิล​บอก​ให้​รู้​ว่า​คุณ​ต้อง​ทำ​อะไร​เพื่อ​จะ​เข้าใจ​พระ​คัมภีร์ ไม่​ว่า​คุณ​มี​ภูมิหลัง​อย่าง​ไร ข่าวสาร​ใน​คัมภีร์​ไบเบิล “ไม่​ใช่​สิ่ง​ที่​เหลือ​บ่า​กว่า​แรง​หรือ​เกิน​เอื้อม​สำหรับ [คุณ]”—พระ​บัญญัติ 30:11พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย

ปัจจัย​ที่​ช่วย​ให้​เข้าใจ​คัมภีร์​ไบเบิล

  1. มีเจตคติที่ถูกต้อง ให้​ยอม​รับ​ว่า​คัมภีร์​ไบเบิล​เป็น​พระ​คำ​ของ​พระเจ้า จง​ถ่อม​ใจ​เพราะ​พระเจ้า​เกลียด​คน​เย่อหยิ่ง (1 เทสซาโลนิเก 2:13; ยาโกโบ 4:6) อย่าง​ไร​ก็​ตาม อย่า​เชื่อ​แบบ​งมงาย พระเจ้า​ต้องการ​ให้​คุณ “ใช้​เหตุ​ผล”—โรม 12:1, 2
  2. อธิษฐานขอสติปัญญา สุภาษิต 3:5 บอก​ว่า “อย่า​พึ่ง​ใน​ความ​เข้าใจ​ของ​ตน​เอง” แทน​ที่​จะ​ทำ​อย่าง​นั้น “ให้​เขา​ทูล​ขอ [สติ​ปัญญา​จาก] พระเจ้า​ต่อ ๆ ไป” เพื่อ​จะ​เข้าใจ​คัมภีร์​ไบเบิล—ยากอบ 1:5
  3. ศึกษาอย่างสม่ำเสมอ คุณ​จะ​ได้​รับ​ประโยชน์​มาก​ที่​สุด​ถ้า​คุณ​ศึกษา​คัมภีร์​ไบเบิล​เป็น​ประจำ ไม่​ใช่​ศึกษา​เป็น​ครั้ง​คราว—ยะโฮซูอะ 1:8
  4. ศึกษาเป็นเรื่อง ๆ การ​ตรวจ​สอบ​ดู​ว่า​คัมภีร์​ไบเบิล​พูด​ถึง​เรื่อง​ใด​เรื่อง​หนึ่ง​อย่าง​ไร​เป็น​วิธี​ที่​ดี​ที่​จะ​ช่วย​คุณ​ให้​เข้าใจ​คำ​สอน​ใน​พระ​คัมภีร์ ให้​เริ่ม​กับ “คำ​สอน​พื้น​ฐาน” จาก​นั้น​ก็​พยายาม​ศึกษา​ค้นคว้า​เรื่อง​ที่​ลึกซึ้ง​กว่า (ฮีบรู 6:1, 2) เมื่อ​ทำ​อย่าง​นี้​คุณ​จะ​สามารถ​ผูก​โยง​ข้อ​คัมภีร์​หนึ่ง​กับ​อีก​ข้อ​หนึ่ง และ​เห็น​ว่า​ข้อ​ต่าง ๆ ใน​พระ​คัมภีร์​อธิบาย​ตัว​มัน​เอง แม้​แต่​ข้อ​ที่ “เข้าใจ​ยาก”—2 เปโตร 3:16
  5. ขอความช่วยเหลือ คัมภีร์​ไบเบิล​สนับสนุน​เรา​ให้​ยอม​รับ​ความ​ช่วยเหลือ​จาก​คน​ที่​เข้าใจ​คำ​สอน​ใน​คัมภีร์​ไบเบิล (กิจการ 8:30, 31) พยาน​พระ​ยะโฮวา​เสนอ​การ​ศึกษา​คัมภีร์​ไบเบิล​ฟรี พวก​เขา​อ้างอิง​ข้อ​คัมภีร์​ต่าง ๆ เพื่อ​ช่วย​ให้​คน​อื่น​เข้าใจ​ว่า​คัมภีร์​ไบเบิล​สอน​อะไร​จริง ๆ เช่น​เดียว​กับ​คริสเตียน​รุ่น​แรก—กิจการ 17:2, 3

สิ่ง​ที่​เรา​ไม่​จำเป็น​ต้อง​มี

  1. การศึกษาสูงหรือเป็นคนเฉลียวฉลาด อัครสาวก 12 คน​ของ​พระ​เยซู​เข้าใจ​พระ​คัมภีร์​และ​สอน​ความ​รู้​ใน​พระ​คัมภีร์​แก่​คน​อื่น แม้​บาง​คน​มอง​ว่า​เหล่า​อัครสาวก “เป็น​สามัญ​ชน​ที่​เรียน​มา​น้อย”—กิจการ 4:13
  2. เงิน คุณ​สามารถ​เรียน​รู้​สิ่ง​ที่​คัมภีร์​ไบเบิล​สอน​โดย​ไม่​ต้อง​เสีย​ค่า​ใช้​จ่าย​ใด ๆ พระ​เยซู​บอก​สาวก​ของ​พระองค์​ว่า “พวก​เจ้า​ได้​รับ​เปล่า ๆ จง​ให้​เปล่า ๆ”—มัทธิว 10:8
www.jw.org

พระวจนะของพระเจ้าสำหรับวันนี้ พระเจ้ายิ่งใหญ่กว่าพายุของคุณ

  พระวจนะของพระเจ้าสำหรับวันนี้ พระเจ้ายิ่งใหญ่กว่าพายุของคุณ อ่านมัทธิว 8:1 ถึง 11:1 ​    25 และพวกสาวกมาปลุกพระองค์ ทูลว่า “องค์พร...