- The Cross / กางเขน
คำว่า "INRI" ที่อยู่เหนือกางเขนของพระเยซูคริสต์ เป็นอักษรตัวแรกของคำสี่คำในภาษาละตินว่า "Jesus Nazarenus Rex Judaeorum" (อ่านว่า เยซุส นาซารีนุส เรกซ์ ยูเดโอรุม) มีความหมายว่า "Jesus of Nazareth, King of the Jews" หรือ "เยซูแห่งนาซาเรธ กษัตริย์แห่งยิว"ปิลาต เป็นผู้สั่งให้เขียนอักษรนี้ เนื่องจากเป็นข้อกล่าวหาที่บรรดาหัวหน้าปุโรหิตของชาวยิว ได้กล่าวร้ายต่อพระองค์ ป้ายดังกล่าวเขียนเป็นภาษาฮีบรู (อาราเมอิค) สำหรับชาวยิวพื้นเมือง ภาษาลาติน สำหรับชาวโรมันในแถบนั้น และภาษากรีก สำหรับชาวต่างชาติ และพวกยิวซึ่งมาจากที่อื่น
๑.ความหมายของกางเขน ( ใครที่ดูหนัง “พระมหาทรมาน/The Passion Of the Christ จะเข้าใจภาพเหล่านี้ชัดเจน )
เมื่อพระเยซูคริสต์ถูกตัดสินให้ประหารด้วยการตรึงบนไม้กางเขน เขาก็นำพระองค์ไปโบยตีด้วยแส้หนังตามวิธีลงโทษนักโทษประหาร แส้นี้ทำด้วยหนังเป็นเส้นๆ คล้ายหางม้า และมีตะกั่ว กระดูกสัตว์หรือของมีคมอื่นๆ ผูกเป็นปมๆ ติดอยู่ เพื่อเพิ่มความเจ็บปวดและสร้างบาดแผลให้มากยิ่งขึ้น นักโทษบางคนถึงกับเสียชีวิตด้วยการโบยด้วยแส้นี้ บางคนถึงกับตาบอดก็มี หลังจากเฆี่ยนแล้วเขาก็นำพระองค์มาล้อเลียน เยาะเย้ย ทั้งเอาหนามมาสานเป็นมงกุฎสวมให้ด้วย พอวันรุ่งขึ้นเขาก็ให้พระองค์แบกกางเขนอันใหญ่และหนักไปตามถนนทั้งๆ ที่พระองค์บอบช้ำและอดนอนมาตลอดทั้งคืนแล้ว ขบวนแห่นักโทษนี้จะมีทหารคุมไป 4 คนอยู่คนละมุมเป็นรูปสี่เหลี่ยม ข้างหน้ามีป้ายประจานความผิดของนักโทษเขียนเป็น 3 ภาษาคือ กรีก ลาติน และฮีบรู เพราะภาษากรีกเป็นภาษาที่ใช้ในทางการค้า ภาษาลาตินเป็นภาษาทางราชการ ส่วนภาษาฮีบรูเป็นภาษาท้องถิ่น เขาจะนำป้ายอันนี้มาติดไว้ที่ยอดกางเขนเมื่อตรึงแล้วด้วย นักโทษจะถูกแห่ประจานไปรอบๆ เมือง ก่อนที่จะนำไปประหาร โดยใช้เส้นทางที่ยาวและคดเคี้ยวที่สุด ด้วยเหตุผลสองประการคือ หนึ่งเป็นการประจาน และสองถ้าในขณะที่เดินไปมีผู้ใดจะคัดค้านและขอเป็นพยานในความบริสุทธิ์ของนักโทษก็จะประท้วงคำพิพากษานี้ได้ คดีนี้จะต้องรื้อฟื้นขึ้นมาพิจารณาใหม่ น่าสลดใจที่ไม่มีผู้ใดคัดค้านเพื่อพระเยซูกันเลยแม้แต่คนเดียว
กางเขนที่พระเยซูแบกไปนั้นเข้าใจกันว่าเป็นกางเขนที่เราเห็นอยู่ในโบสถ์ทั่วๆ ไปซึ่งเรียกกันว่ากางเขนแบบลาติน กางเขนในสมัยนั้นไม่ได้มีอยู่แบบเดียวเท่านั้น ยังมีกางเขนรูปตัว X เรียกว่ากางเขนของนักบุญอันดรูว์ เพราะเชื่อว่าอัครสาวกอันดรูว์ถูกตรึงด้วยกางเขนชนิดนี้ แบบที่ 3 ก็เป็นรูปตัว T มีชื่อว่ากางเขนของนักบุญแอนโทนี และแบบที่ 4 ก็คือแบบของกรีกที่เป็นรูปกากบาท + คือแบบสัญลักษณ์ของกาชาดนั่นเอง
ความเป็นมาของกางเขนนั้นเดิมทีเกิดขึ้นในหมู่ชาวเปอร์เซีย พวกเขามีความเชื่อว่าแผ่นดินนั้นบริสุทธิ์และศักดิ์สิทธิ์ จึงไม่ยอมให้ร่างกายของผู้ทำผิดหรือร่างกายที่ชั่วร้ายนั้นมาเกลือกกลั้ว เมื่อจะประหารก็จัดการตรึงไว้ด้วยตะปูนแขวนห้อยเหนือพื้นดิน เมื่อตายแล้วก็ให้แร้งหรือสุนัขป่ามาฉีกกินจนสิ้นซาก วิธีการเช่นนี้พวกคาเธจซึ่งอยู่ใกล้อิตาลีหรือโรมจดจำมาใช้และทางโรมันก็นำมาใช้อีกต่อหนึ่ง แต่การนำกางเขนมาใช้นี้มิได้ใช้กับชาวโรมัน แต่จะใช้กับพวกทาสหรือพวกกบฏที่เป็นชาวต่างชาติ เพราะเขาถือว่าชาวโรมันเป็นผู้ที่อยู่เหนือกว่าคนชาติอื่นๆ จะถูกทำทารุณกรรมอย่างนั้นไม่ได้ ซิเซโร นักปรัชญาเป็นเอกที่มีชื่อเสียงในสมัยก่อนคริสตศตวรรษแสดงความเห็นไว้ว่า สำหรับประชาชนชาวโรมันแล้ว "การถูกจับมัดก็เป็นอาชญากรรม ถ้าถูกเฆี่ยนตีก็ยิ่งเลวร้ายไปกว่านั้นอีก คือถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงอย่างที่สุด แต่ถ้าถูกตรึงบนกางเขนละก็ไม่ทราบว่าจะเปรียบกับอะไรอีกได้" ด้วยเหตุนี้การประหารด้วยการตรึงบนกางเขนจึงไม่มีในหมู่ชาวโรมัน พระเยซูคริสต์ของเราถูกประหารอย่างทารุณที่สุด ต่ำต้อยที่สุดและน่าอับอายที่สุดที่มนุษย์จะคิดขึ้นได้ในสมัยนั้น
- ๒.การตรึงบนไม้กางเขน
- พระเยซูคริสต์ โดนตี/โบย กี่ครั้ง คริสตศวรรษ 14 นักบุญบริดจิท บอกว่า 5,480 ครั้ง เขาทราบได้อย่างไร คือขณะที่ท่านอธิษฐานอย่างลึกซึ้งด้วยหัวใจ เรียกว่า “ภาวนาด้วยหัวใจ” เขาได้สนทนากับพระเยซูคริสต์เขาได้ถามพระองค์เรื่องนี้
- เป็นวิธีการทำให้เจ็บปวดรวดร้าว เป็นวิธีการประหารชีวิตซึ่งพวกโรมันใช้ ไม่ใช่เป็นวิธีการของพวกยิว พวกยิวในสมัยพระคัมภีร์เดิมใช้วิธีประหารชีวิตพวก อาชญากรโดยใช้หินขว้างให้ตาย และเอาศพแขวนไว้บนต้นไม้เป็นเครื่องแสดงว่าคนถูกประหารชีวิตเหล่านั้นอยู่ภายใต้การสาปแช่งของพระเจ้า (ฉธบ. 21:22-23) พวกยิวในสมัยพระเยซูอยู่ภายใต้การปกครองของโรมไม่มีอำนาจจัดการประหารชีวิต เขาต้องยอมให้ทางโรมทำ อย่างไรก็ตามพวกชาวยิวไม่ขอให้โรมเอาหินขว้างพระเยซูให้ตาย เขาเห็นว่าจับพระองค์ตรึงบนกางเขนให้ตายมันง่ายดีกว่า (มธ. 27:22-23)
- สำหรับพวกยิวถือกันว่ากางเขนของพระเยซูเป็นเสมือนต้นไม้ เพราะพระองค์ถูกแขวนไว้บนท่อนไม้รูปกางเขนนั้น พวกเขาจึงถือว่าพระองค์ตกอยู่ภายใต้การสาปแช่งของพระเจ้า แท้ที่จริงพระเยซูคริสต์ได้ทรงแบกการสาปแช่งของพระเจ้าไว้กับพระองค์อย่างที่เขาคิด พระองค์กระทำเช่นนั้นไม่ใช่เพราะพระองค์เองกระทำผิด พระองค์เป็นผู้บริสุทธิ์ไม่มีความบาป แต่พระองค์ทรงรับการสาปแช่งแทนคนบาป เพราะเหตุความเข้าใจผิดเรื่องการสาปแช่งแห่งการเขนจึงทำให้การตรึงพระเยซูบนไม้กางเขนเป็นหินสะดุดพวกชาวยิว พวกเขาปฏิเสธไม่ยอมเชื่อพระเยซู เพราะฉะนั้นกางเขนจึงเป็นเครื่องกีดกันพวกเขา ไม่ให้รับความรอดจากพระเจ้า ผู้เขียนพระคัมภีร์ใหม่ถือว่าการที่พระเยซูคริสต์ได้ทรงสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนนี้เป็นรากฐานแห่งพันธกิจการช่วยให้รอดของพระเจ้า ดังนั้นไม้กางเขนจึงกลายเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของความรอด ซึ่งพระเจ้าทรงโปรดให้ผู้เชื่อทุกคนพ้นจากความผิดบาป ข่าวประเสริฐก็คือข่าวเรื่องไม้กางเขนนั่นเอง กางเขนจึงเป็นสัญลักษณ์แห่งความอับอาย และความตายด้วย พระเยซูคริสต์ได้ทรงชี้แจงด้วยพระองค์เองว่า คนเหล่านั้นที่ต้องการจะเป็นสาวกของพระองค์ ต้องพร้อมที่จะเผชิญกับความอับอาย ความทุกข์ทรมานและความตาย ถ้าหากพวกเขาเป็นสาวกที่แท้จริงของพระองค์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น