การให้อภัยคืออะไร?
คำตอบจากคัมภีร์ไบเบิล
การให้อภัย คือ การยกโทษให้คนที่ทำผิด ในคัมภีร์ไบเบิล คำภาษากรีกที่แปลว่า “การให้อภัย” มีความหมายตรงตัวว่า “ปล่อยไป” เหมือนกับที่เจ้าหนี้ยอมยกหนี้ให้คนที่เป็นหนี้เขา พระเยซูใช้การเปรียบเทียบแบบนี้ตอนที่ท่านสอนสาวกให้อธิษฐานว่า “ขอทรงอภัยบาปของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพราะข้าพเจ้าก็ให้อภัยทุกคนที่เป็นหนี้ความผิดต่อข้าพเจ้าเช่นกัน” (ลูกา 11:4) ตอนที่พระเยซูเล่าตัวอย่างเรื่องทาสที่ไม่ยอมยกหนี้ ท่านเปรียบการให้อภัยว่าเป็นเหมือนกับการยกหนี้—มัทธิว18:23-35
การให้อภัย คือ การยกโทษให้คนที่ทำผิด ในคัมภีร์ไบเบิล คำภาษากรีกที่แปลว่า “การให้อภัย” มีความหมายตรงตัวว่า “ปล่อยไป” เหมือนกับที่เจ้าหนี้ยอมยกหนี้ให้คนที่เป็นหนี้เขา พระเยซูใช้การเปรียบเทียบแบบนี้ตอนที่ท่านสอนสาวกให้อธิษฐานว่า “ขอทรงอภัยบาปของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพราะข้าพเจ้าก็ให้อภัยทุกคนที่เป็นหนี้ความผิดต่อข้าพเจ้าเช่นกัน” (ลูกา 11:4) ตอนที่พระเยซูเล่าตัวอย่างเรื่องทาสที่ไม่ยอมยกหนี้ ท่านเปรียบการให้อภัยว่าเป็นเหมือนกับการยกหนี้—มัทธิว18:23-35
การให้อภัยไม่ได้หมายความว่า
-
เห็นด้วยกับการกระทำแบบนั้น คัมภีร์ไบเบิลตำหนิคนที่เห็นชั่วเป็นดี เพราะเขาคิดว่ามันไม่เสียหายอะไรหรือเป็นสิ่งที่ยอมรับได้—อิสยาห์ 5:20
-
ทำเป็นไม่เห็น พระเจ้าให้อภัยกษัตริย์ดาวิดที่ทำบาปร้ายแรง แต่พระองค์ไม่ได้ทำเป็นไม่เห็นความผิดที่เขาทำแล้วก็ปกป้องไม่ให้เขาต้องเจอกับเรื่องร้าย ๆ ที่ตามมา พระเจ้าถึงกับให้มีการบันทึกเรื่องราวของดาวิดไว้เป็นเครื่องเตือนใจเราในทุกวันนี้ด้วย—2 ซามูเอล 12:9-13
-
ยอมให้คนอื่นเอาเปรียบ ยกตัวอย่างเช่น คุณให้คนอื่นยืมเงิน แต่เขากลับทำให้เงินนั้นสูญเปล่า และไม่สามารถหาเงินมาคืนคุณอย่างที่สัญญาไว้ เขาเสียใจมากแล้วก็ขอโทษคุณ คุณอาจจะให้อภัยเขาและไม่เก็บเรื่องนั้นมาเป็นอารมณ์ ไม่ทวงถามให้กลุ้มใจอีก และบางทีถึงกับยกหนี้ก้อนนั้นให้เขาเลย แต่คุณอาจจะไม่ให้เขายืมเงินอีกก็ได้—บทเพลงสรรเสริญ 37:21; สุภาษิต 14:15; 22:3; กาลาเทีย 6:7
-
ยกโทษให้คนที่ไม่คู่ควรจะได้รับการอภัย พระเจ้าไม่ได้ให้อภัยคนที่จงใจทำบาปร้ายแรง หรือคนที่ไม่ยอมรับผิด ไม่ยอมกลับเนื้อกลับตัว และไม่ยอมขอโทษอีกฝ่ายหนึ่ง (สุภาษิต 28:13; กิจการ 26:20; ฮีบรู 10:26) คนที่ไม่สำนึกผิดและไม่กลับใจก็เป็นศัตรูกับพระเจ้า และพระองค์ไม่ต้องการให้เรายกโทษให้คนที่พระองค์ไม่ยกโทษให้ด้วย—บทเพลงสรรเสริญ 139:21, 22
ถ้ามีใครทำกับคุณอย่างเลวร้าย แล้วเขาก็ไม่ยอมขอโทษหรือไม่ยอมรับผิด คุณจะทำอย่างไร? คัมภีร์ไบเบิลแนะนำว่า “จงอดกลั้นความโกรธไว้ และระงับความโทโสเสีย” (บทเพลงสรรเสริญ 37:8) แม้คุณไม่ได้มองข้ามความผิดที่เขาทำ แต่คุณก็ไม่จำเป็นต้องโกรธ ขอให้ไว้วางใจว่าพระเจ้าจะจัดการกับคนที่ทำผิดแน่ ๆ (ฮีบรู 10:30, 31) นอกจากนี้ คุณอาจรู้สึกสบายใจขึ้นเมื่อรู้ว่าจะมีวันหนึ่งที่พระเจ้าจะทำให้ความเจ็บปวดหรือความทุกข์ที่เราแบกรับอยู่ในทุกวันนี้หมดสิ้นไป—อิสยาห์ 65:17; วิวรณ์ 21:4
-
“ให้อภัย” ในเรื่องที่เราคิดไปเองว่าเป็นความผิดของเขา บางครั้ง เราอาจต้องยอมรับว่า ไม่มีเหตุผลที่เราจะโกรธด้วยซ้ำ อย่าว่าแต่จะยกโทษให้กับคนที่เราคิดว่าเขาทำผิดต่อเราเลย คัมภีร์ไบเบิลบอกว่า “อย่าปล่อยให้ใจของเจ้าโกรธเร็ว เพราะความโกรธอยู่ในใจของคนโง่”—ท่านผู้ประกาศ 7:9, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย
- เห็นด้วยกับการกระทำแบบนั้น คัมภีร์ไบเบิลตำหนิคนที่เห็นชั่วเป็นดี เพราะเขาคิดว่ามันไม่เสียหายอะไรหรือเป็นสิ่งที่ยอมรับได้—อิสยาห์ 5:20
- ทำเป็นไม่เห็น พระเจ้าให้อภัยกษัตริย์ดาวิดที่ทำบาปร้ายแรง แต่พระองค์ไม่ได้ทำเป็นไม่เห็นความผิดที่เขาทำแล้วก็ปกป้องไม่ให้เขาต้องเจอกับเรื่องร้าย ๆ ที่ตามมา พระเจ้าถึงกับให้มีการบันทึกเรื่องราวของดาวิดไว้เป็นเครื่องเตือนใจเราในทุกวันนี้ด้วย—2 ซามูเอล 12:9-13
- ยอมให้คนอื่นเอาเปรียบ ยกตัวอย่างเช่น คุณให้คนอื่นยืมเงิน แต่เขากลับทำให้เงินนั้นสูญเปล่า และไม่สามารถหาเงินมาคืนคุณอย่างที่สัญญาไว้ เขาเสียใจมากแล้วก็ขอโทษคุณ คุณอาจจะให้อภัยเขาและไม่เก็บเรื่องนั้นมาเป็นอารมณ์ ไม่ทวงถามให้กลุ้มใจอีก และบางทีถึงกับยกหนี้ก้อนนั้นให้เขาเลย แต่คุณอาจจะไม่ให้เขายืมเงินอีกก็ได้—บทเพลงสรรเสริญ 37:21; สุภาษิต 14:15; 22:3; กาลาเทีย 6:7
- ยกโทษให้คนที่ไม่คู่ควรจะได้รับการอภัย พระเจ้าไม่ได้ให้อภัยคนที่จงใจทำบาปร้ายแรง หรือคนที่ไม่ยอมรับผิด ไม่ยอมกลับเนื้อกลับตัว และไม่ยอมขอโทษอีกฝ่ายหนึ่ง (สุภาษิต 28:13; กิจการ 26:20; ฮีบรู 10:26) คนที่ไม่สำนึกผิดและไม่กลับใจก็เป็นศัตรูกับพระเจ้า และพระองค์ไม่ต้องการให้เรายกโทษให้คนที่พระองค์ไม่ยกโทษให้ด้วย—บทเพลงสรรเสริญ 139:21, 22ถ้ามีใครทำกับคุณอย่างเลวร้าย แล้วเขาก็ไม่ยอมขอโทษหรือไม่ยอมรับผิด คุณจะทำอย่างไร? คัมภีร์ไบเบิลแนะนำว่า “จงอดกลั้นความโกรธไว้ และระงับความโทโสเสีย” (บทเพลงสรรเสริญ 37:8) แม้คุณไม่ได้มองข้ามความผิดที่เขาทำ แต่คุณก็ไม่จำเป็นต้องโกรธ ขอให้ไว้วางใจว่าพระเจ้าจะจัดการกับคนที่ทำผิดแน่ ๆ (ฮีบรู 10:30, 31) นอกจากนี้ คุณอาจรู้สึกสบายใจขึ้นเมื่อรู้ว่าจะมีวันหนึ่งที่พระเจ้าจะทำให้ความเจ็บปวดหรือความทุกข์ที่เราแบกรับอยู่ในทุกวันนี้หมดสิ้นไป—อิสยาห์ 65:17; วิวรณ์ 21:4
- “ให้อภัย” ในเรื่องที่เราคิดไปเองว่าเป็นความผิดของเขา บางครั้ง เราอาจต้องยอมรับว่า ไม่มีเหตุผลที่เราจะโกรธด้วยซ้ำ อย่าว่าแต่จะยกโทษให้กับคนที่เราคิดว่าเขาทำผิดต่อเราเลย คัมภีร์ไบเบิลบอกว่า “อย่าปล่อยให้ใจของเจ้าโกรธเร็ว เพราะความโกรธอยู่ในใจของคนโง่”—ท่านผู้ประกาศ 7:9, พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย
จะให้อภัยคนอื่นได้อย่างไร?
-
จำความหมายของการให้อภัยเอาไว้เสมอ การให้อภัยไม่ได้หมายความว่าคุณยอมให้กับการทำผิดหรือทำเหมือนกับว่าความผิดนั้นไม่ได้เกิดขึ้น คุณเพียงแต่ยอมให้เรื่องนั้นผ่านไป
-
นึกถึงข้อดีของการให้อภัย การไม่ถือโทษหรือแค้นเคืองอาจช่วยให้คุณมีใจสงบไม่ร้อนรุ่ม ไม่เสียสุขภาพ และทำให้คุณมีความสุขมากขึ้น (สุภาษิต 14:30; มัทธิว 5:9) ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น ถ้าคุณให้อภัยคนอื่น พระเจ้าก็จะให้อภัยคุณ—มัทธิว 6:14, 15
-
เอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่มีใครเป็นคนสมบูรณ์แบบ (ยากอบ 3:2) ถ้าเรารู้สึกขอบคุณเมื่อมีคนยอมยกโทษให้เรา เราก็น่าจะยกโทษให้คนที่ทำผิดต่อเราด้วย—มัทธิว 7:12
-
เป็นคนที่มีเหตุผล แม้มีเหตุที่จะบ่นได้ แต่เราก็อาจเอาคำแนะนำในข้อคัมภีร์นี้มาใช้ที่ว่า “จงทนกันและกันเรื่อยไป”—โคโลสี 3:13
-
ทำทันที ให้อภัยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดีกว่าเก็บความโกรธไว้ในใจ—เอเฟซัส 4:26, 27
ขอบคุณข้อมูลจาก www.jw.org
- จำความหมายของการให้อภัยเอาไว้เสมอ การให้อภัยไม่ได้หมายความว่าคุณยอมให้กับการทำผิดหรือทำเหมือนกับว่าความผิดนั้นไม่ได้เกิดขึ้น คุณเพียงแต่ยอมให้เรื่องนั้นผ่านไป
- นึกถึงข้อดีของการให้อภัย การไม่ถือโทษหรือแค้นเคืองอาจช่วยให้คุณมีใจสงบไม่ร้อนรุ่ม ไม่เสียสุขภาพ และทำให้คุณมีความสุขมากขึ้น (สุภาษิต 14:30; มัทธิว 5:9) ที่สำคัญยิ่งกว่านั้น ถ้าคุณให้อภัยคนอื่น พระเจ้าก็จะให้อภัยคุณ—มัทธิว 6:14, 15
- เอาใจเขามาใส่ใจเรา ไม่มีใครเป็นคนสมบูรณ์แบบ (ยากอบ 3:2) ถ้าเรารู้สึกขอบคุณเมื่อมีคนยอมยกโทษให้เรา เราก็น่าจะยกโทษให้คนที่ทำผิดต่อเราด้วย—มัทธิว 7:12
- เป็นคนที่มีเหตุผล แม้มีเหตุที่จะบ่นได้ แต่เราก็อาจเอาคำแนะนำในข้อคัมภีร์นี้มาใช้ที่ว่า “จงทนกันและกันเรื่อยไป”—โคโลสี 3:13
- ทำทันที ให้อภัยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดีกว่าเก็บความโกรธไว้ในใจ—เอเฟซัส 4:26, 27
ขอบคุณข้อมูลจาก www.jw.org
ปรัชญาคำสอนในพระคัมภีร์
การให้อภัยคล้ายกับเป็นการปล่อยนักโทษให้เป็นอิสระ แล้วมาพบว่า นักโทษนั้นก็คือ ตัวคุณเอง
คำสอนในพระคัมภีร์ (มัทธิ 6:14,15)หากท่านให้อภัยผู้ที่กระทำผิดต่อท่าน พระบิดาเจ้าก็จะทรงให้อภัยท่านด้วย แต่หากท่านไม่ให้อภัยผู้อื่น พระบิดาของท่านก็จะไม่ทรงให้อภัยแก่ท่านเช่นกัน
การพูดเป็นคำสุดท้าย ควรเป็นการกล่าวขออภัย
คำสอนในพระคัมภีร์ (สุภาษิต 6:2,3)ลูกรัก หากลูกตกเป็นเหยื่อของสิ่งที่พูด หรือถูกคำพูดของลูกเป็นกับดัก ก็จงทำดังนี้สิ จงปลดปล่อยตัวของลูกเสีย เมื่อลูกตกเป็นเหยื่อในเงื้อมมือของเพื่อนบ้านแล้ว จงถ่อมตนแล้ววิงวอนเพื่อนบ้านของลูก
ผู้ที่ไม่ให้อภัย คือผู้ที่ทำลายสะพานที่เขาเองจะต้องข้าม.
คำสอนในพระคัมภีร์ (มัทธิว 6:14หากท่านให้อภัยความผิด ที่ผู้อื่นกระทำต่อท่าน พระบิดาเจ้าของท่านในสวรรค์ ก็จะทรงให้อภัยแก่ท่านด้วย
“การให้อภัย” ซึ่งสามารถเยียวยาความวุ่นวายภายใจจิตใจของเราและของสังคมของเรานั้นไม่ได้มาจากตัวเรา เราเองไม่สามารถยกโทษให้ใครได้ ถ้าไม่ได้รับความช่วยเหลือจากเบื้องบน ซึ่งเราคริสชนเรียกว่า “พระหรรษทาน” เมื่อพระเยซูเจ้าทรงสั่งเราให้รักแม้กระทั่งศัตรู พระองค์ไม่ได้ทรงสั่งแต่อย่างเดียวแต่พระองค์ประทานพระหรรษทานให้กับเราด้วย ดังนั้นสิ่งใดที่เกินกว่าความสามารถของเรา ขอให้เราอย่าลืมวอนขอความช่วยเหลือจากพระองค์ เป็นต้นในวันนี้ในเรื่องของการยกโทษหรือการให้อภัยต่อบุคคลที่กระทำผิดต่อเรา
ในเรื่องของการอภัยกับบุคคลที่ยากแก่การให้อภัยนั้น เราสามารถกระทำได้หลายวิธีด้วยกัน
ประการแรกการวอนของพละกำลังจากองค์พระผู้เป็นเจ้า “ข้าแต่พระเจ้าโปรดช่วยลูกให้สามารถให้อภัยกับพี่น้อง...ที่กระทำผิดต่อลูกด้วย อาแมน”
ประการที่สอง ให้เราหาเวลานั่งนิ่งๆอยู่ต่อหน้าพระเจ้า อาจจะเป็นในวัด หรือหน้ารูปพระที่อยู่ในบ้านของเรา พิจารณาคำสอนของพระเยซูเจ้าที่เราได้รับฟังในวันนี้ พิจารณาตนเองว่าเราเองได้รับพระเมตตาจากพระเจ้ามากมายเพียงใด เราเองก็เป็นคนบาป เราทำบาปมากมาย แต่พระเจ้าทรงยกโทษให้เราเสมอ แล้วเราทำไมยังไม่ยอมยกโทษให้ผู้อื่นบ้าง พระเจ้าทรงยกโทษให้เรา เพื่อให้เราออกไปยกโทษให้ผู้อื่น
ประการที่สาม ให้เรามองศัตรูของเราในแง่มุมใหม่ คือ อย่าคิดว่าเขาเป็นศัตรูคู่แค้นของเรา แต่เขาเป็นเพียงมนุษย์ธรรมดาคนหนึ่งเหมือนๆกับตัวเราเอง ที่บางครั้งเราก็ผิดพลาด เราก็ยึดเอาแต่ประโยชน์ส่วนตน ฯลฯ เขาเองก็มีความทุกข์ มีภาระเช่นเดียวกับเรา เราอย่าไปเพิ่มปัญหาให้แก่กันและกันเลย แต่พยายามมองข้อดีหรือสิ่งดีๆในตัวของเขาให้มากขึ้น พระเยซูเจ้าทรงภาวนาขณะที่ถูกตรึงอยู่ในบนไม้กางเขนว่า “พระบิดาเจ้าข้าโปรดอภัยความผิดแก่เขาเถิด เพราะเขาไม่รู้ว่ากำลังทำอะไร”(ลูกา 23:34)
พระเยซูเจ้าทรงมองดูความเจ็บแค้นด้วยสายตาที่แตกต่างไปจากกับเรามนุษย์ พระองค์ทรงมองเหนือกว่าสิ่งที่ปรากฏอยู่แต่ภายนอก พระองค์ทรงมองเราที่กระทำบาปและความผิดต่างๆอย่างที่เราเป็นจริงๆ คือ เราเป็นบุตรของพระบิดาที่ยังมีความอ่อนแอ ยังเป็นคนที่ไม่สมบูรณ์ แต่อยู่ในกระบวนการพัฒนาตนเองเพื่อจะได้เป็นคนดีบริบูรณ์เหมือนพระบิดาเจ้าสวรรค์ของเรา
การที่เราจะยกโทษให้ศัตรูของเราได้นั้น เราต้องเริ่มต้นด้วยการมองโลกและคนในแง่มุมใหม่ เราต้องมองเพื่อนมนุษย์ของเราด้วยสายตาของพระเยซูเจ้า
คำตอบสำหรับการยกโทษให้ผู้อื่นนั้น เราต้องเริ่มจากการภาวนาขอพระหรรษทานจากพระเจ้าเพื่อให้เรากล้าที่จะยกโทษให้ผู้อื่น สองดูแบบอย่างของพระเยซูเจ้าที่ยกโทษให้อย่างไม่มีสิ้นสุด สามมองบุคคลที่เราไม่ชอบหรือมีเรื่องกับเราด้วยสายตาของพระเยซูเจ้า
ความผิดพลาดเกิดขึ้นได้เสมอกับคนทุกคน
เราทุกคนต้องฝึกที่จะยอมรับในสิ่งผิดพลาดที่เกิดขึ้นในชีวิต
รู้จักให้อภัยแก่ตัวเองและผู้อื่น
และเมื่อเราเรียนรู้ที่จะยอมรับความผิดพลาดจนเป็นนิสัย
เราก็จะสามารถอธิษฐานให้พระเจ้า
ยกโทษบาปผิดนั้นๆได้จากใจจริง
และยังทำให้เราเลิกโยนความผิดพลาดใดๆก็แล้วแต่ให้กับคนอื่น
ขอพระเจ้าทรงนำเราทุกคน
ให้ยอมรับความผิดพลาด
และระมัดระวังทุกๆคำพูดจากปากของเรา
และให้ชื่นชมยินดีในพระองค์ในทุกๆสถานการณ์
ขอพระเจ้าทรงอวยพระพรทุกท่านค่ะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น