วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

พระคัมภีร์สอนเกี่ยวกับการเป็นพ่อแม่ที่ดีว่าอย่างไร




เด็กที่ถูกละเลยนั้นเป็นเหตุกระทำให้มารดาของตนได้ความละอาย”—สุภาษิต 29:15

อย่าละเลยการตีสั่งสอนลูก”—สุภาษิต 23:13, ฉบับอมตธรรมร่วมสมัย

ถ้าพวกท่านไม่พูดภาษาที่เข้าใจง่าย คนที่ได้ยินจะเข้าใจที่พวกท่านพูดได้อย่างไร?”—1 โครินท์ 14:9

การเป็นพ่อแม่อาจเป็นเรื่องยาก แต่มันก็ทำให้เรามีความรู้สึกเหมือนได้รับรางวัลและสมปรารถนาเช่นกัน พระเจ้าทรงมีอะไรมากมายที่จะตรัสเกี่ยวกับวิธีเลี้ยงดูลูกอย่างประสบความสำเร็จโดยการทำให้เขาเป็นคนที่อยู่ในทางของพระองค์ สิ่งแรกที่เราจะต้องทำคือการสอนให้เขารู้จักความจริงเกี่ยวกับพระวจนะของพระเจ้า

นอกจากจะรักพระเจ้าและเป็นตัวอย่างของคนที่อยู่ในทางของพระเจ้าด้วยการทำตามคำสั่งของพระองค์แล้ว เรายังจำเป็นจะต้อง “และพวกท่านจงอุตส่าห์สอนถ้อยคำเหล่านั้นแก่บุตรหลานของท่าน เมื่อท่านนั่งอยู่ในเรือน เดินอยู่ตามทาง และนอนลงหรือลุกขึ้น จงพูดถึงถ้อยคำนั้น จงเอาถ้อยคำเหล่านี้พันไว้ที่มือของท่านเป็นหมายสำคัญ และจงจารึกไว้ที่หว่างคิ้วของท่าน และเขียนไว้ที่เสาประตูเรือน และที่ประตูของท่าน” (เฉลยธรรมบัญญัติ 6:7-9) โดยการนำคำสอนที่พระเจ้าทรงให้กับคนฮีบรูมาประยุกต์ใช้ เราสอนบุตรหลานของเราว่าการนมัสการพระเจ้านั้นควรเป็นการกระทำตลอดเวลา ไม่ใช่เป็นเพียงการกระทำในวันอาทิตย์หรือในการอธิษฐานตอนกลางคืนเท่านั้น

แม้ว่าลูก ๆ ของเราจะได้เรียนรู้อย่างมากมายผ่านทางการสอนโดยตรงแล้ว พวกเขายังได้เรียนรู้โดยการดูจากเราด้วย นี่คือเหตุผลว่าทำไมเราจึงต้องระวังตัวอยู่ตลอดเวลา ประการแรกเราจะต้องยอมรับบทบาทของเราที่พระเจ้าทรงมอบให้ สามีและภรรยาควรจะต้องให้เกียรติและยอมฟังซึ่งกันและกัน (เอเฟซัส 5:21) พร้อมกันนั้นพระเจ้าได้ทรงกำหนดสิทธิอำนาจไว้ให้เพื่อให้เกิดความมีระเบียบ

หนังสือ 1 โครินธ์ 11:3 กล่าวว่า “แต่ข้าพเจ้าใคร่ให้ท่านเข้าใจว่า พระคริสต์ทรงเป็นศีรษะของชายทุกคน และชายเป็นศีรษะของหญิง และพระเจ้าทรงเป็นพระเศียรของพระคริสต์” เรารู้ว่าพระคริสต์ไม่ได้ด้อยไปกว่าพระเจ้า เหมือนกับที่ภรรยาไม่ได้ด้วยไปกว่าสามี แต่พระเจ้าทรงรู้ว่าหากไม่มีการจำนนต่อสิทธิอำนาจ ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะก็ไม่เป็นระเบียบ ความรับผิดชอบของสามีในฐานะหัวหน้าครอบครัว คือ การรักภรรยาเหมือนกับรักร่างกายของตัวเอง แบบเดียวกับที่พระคริสต์ทรงรักคริสตจักรด้วยความเสียสละ (เอเฟซัส 5:25-29)

ในการตอบสนองต่อผู้นำที่เต็มไปด้วยความรัก มันไม่ใช่เรื่องยากที่ภรรยาจะยอมอยู่ภายใต้สิทธิอำนาจของสามี (เอเฟซัส 5:24, โคโลสี 3:18) ความรับผิดชอบเบื้องต้นของเธอ คือ การรักสามีและลูก ๆ ของเธอ, ใช้ชีวิตอยู่อย่างฉลาดและบริสุทธิ์ และดูแลบ้านเรือนของเธอ (ทิต้ส 2:4-5) ผู้หญิงจะเลี้ยงดูลูกได้เก่งกว่าผู้ชายเพราะผู้หญิงถูกสร้างขึ้นมาให้เป็นผู้ดูแลลูก ๆ

การตีสอนเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นพ่อแม่ หนังสือสุภาษิต 13:24 กล่าวว่า “บุคคลที่สงวนไม้เรียวก็เกลียดบุตรชายของตน แต่ผู้ที่รักเขาพยายามตีสอนเขา” เด็ก ๆ ที่โตขึ้นมาในครอบครัวที่ไม่มีการตีสอนจะมีความรู้สึกว่าเขาไม่เป็นที่ต้องการและไร้ค่า พวกเขาจะไม่ทีทิศทางและขาดการควบคุมตัวเอง และเมื่อโตขึ้นเขาจะเป็นคนดื้อรั้นและไม่ค่อยเคารพต่อสิทธิอำนาจ รวมไปถึงสิทธิอำนาจของพระเจ้าด้วย “จงตีสอนบุตรชายของตนเมื่อยังมีความหวัง อย่าจงใจให้เขาถึงพินาศไป” (สุภาษิต 19:18)

ในเวลาเดียวกันการตีสอนต้องสมดุลกับความรัก ไม่เช่นนั้นเด็ก ๆ จะโตขึ้นด้วยความขุ่นเคืองใจ, เสียกำลังใจ และดื้อรั้น (โคโลสี 3:21) พระเจ้าทรงรู้ว่าการตีสอนนั้นเป็นเรื่องเจ็บปวดเมื่อต้องทำ (ฮีบรู 12:11) แต่หากมันเป็นการกระทำด้วยความรัก มันก็จะเป็นผลดีอย่างไม่น่าเชื่อกับเด็ก ๆ “ฝ่ายท่านผู้เป็นบิดาอย่ายั่วบุตรของตนให้เกิดโทสะ แต่จงอบรมบุตรด้วยการสั่งสอนและการเตือนสติตามหลักขององค์พระผู้เป็นเจ้า” (เอเฟซัส 6:4)

การให้เด็ก ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องกับคริสตจักร(การไปวัด ได้ร่วมพิธีบูชามิสซา)และพันธกิจ(กิจกรรมในวัด)ในขณะที่เขายังเล็กอยู่เป็นเรื่องสำคัญ การไปคริสตจักรที่เชื่อในพระคัมภีร์เป็นประจำ (ฮีบรู 10:25) จะช่วยให้เขาเห็นท่านศึกษาพระวจนะ และศึกษาร่วมกับพวกเขา จงคุยกับพวกเขาเกี่ยวกับโลกรอบ ๆ ตัวเขาตามที่เขาเห็น และสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระสิริของพระเจ้าผ่านทางการดำเนินชีวิตในทุกวัน “จงฝึกเด็กในทางที่เขาควรจะเดินไป และเมื่อเขาเป็นผู้ใหญ่แล้ว เขาจะไม่พรากจากทางนั้น” (สุภาษิต 22:6)
divinerevelations.info

ตะคอกลูก ระเบิดลงใส่ลูก ผลเสียเลี้ยงลูกด้วยอารมณ์นี่แหละจะทำให้ลูกมีปัญหา

การลงทำโทษที่ใช้วิธีรุนแรงด้วยการเฆี่ยนตียิ่งว่าหนักแล้ว แต่ยิ่ง ตะคอกลูก ตะโกนใส่ หรือใช้คำพูดเจ็บ ๆ แรง ๆ ถือเป็นลงโทษด้วยวาจาที่ทิ่มแทงหัวใจลูก ส่งผลต่อจิตใจ และความรู้สึกของลูกเข้าไปได้อีก

พฤติกรรมของพ่อแม่ที่ชอบ ตะคอกลูก ว่ากล่าวด้วยคำหยาบคาย พูดไปแบบไม่คิด มีผลการศึกษาพบว่า การลงโทษลูกด้วยวาจาลักษณะนี้ จะทำให้ลูกโตขึ้นมากลายเป็นเด็กมีปัญหา มีพฤติกรรมที่ชอบโกหก ลักขโมย และเป็นเด็กก้าวร้าว เกเร ทะเลาะวิวาทกับเพื่อนที่โรงเรียนได้

ยิ่ง ตะคอกลูก ระเบิดลงใส่ลูก ยิ่งทำให้เด็กมีปัญหา
ดอกเตอร์หมิง ที หวัง รองศาสตราจารย์วิชาจิตวิทยาการศึกษา ของมหาวิทยาลัยพิตต์เบิร์ก สหรัฐอเมริกากล่าวถึงผลการศึกษาในเรื่องนี้จากกลุ่มพ่อแม่ครอบครัวชนชั้นกลางในสหรัฐอเมริการาว 976 ครอบครัว พบว่ามีพ่อแม่จำนวนมากที่ใช้วิธีตะโกนดุด่าว่ากล่าวลูกเสียงดัง ใช้คำที่ทำร้ายความรู้สึกลูก โดยเด็กที่ถูกลงโทษด้วยวิธีนี้บ่อย ๆ จะมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาได้มากกว่าเด็กที่ไม่เคยถูกพ่อแม่ตะคอกใส่หรือว่ากล่าวด้วยถ้อยคำรุนแรง โดยเฉพาะเมื่อลูกเข้าสู่วัยรุ่น อายุ 13-14 ปี ที่ถือว่าเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อ

ดอกเตอร์หมิงกล่าวเพิ่มว่า แม้จะเป็นครอบครัวที่พ่อแม่ลูกสนิทกัน แต่ความเข้าใจของพ่อแม่ที่คิดว่าการดุด่านั้นเกิดจากความรัก ความหวังดีกับลูก และเข้าใจว่าลูกจะเข้าใจในเรื่องที่พ่อแม่ดุ แต่จริง ๆ แล้วการกระทำแบบนี้นี่แหละที่จะส่งผลร้ายต่อตัวลูกทั้งทางจิตใจ รวมถึงก่อให้เกิดการลอกเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่ดีจากพ่อแม่ได้

มีงานวิจัยระบุว่า การที่พ่อแม่ตะคอกหรือตะโกนใส่ลูกนั้น ในระยะสั้นจะส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึก ทำให้ลูกรู้สึกไม่ปลอดภัยและหวาดกลัว ส่วนระยะยาวนั้นการที่พ่อแม่ดุด่าหรือตะคอกใส่บ่อย ๆ เด็กที่โตขึ้นมากับคำพูดแบบนี้หรือการดูถูก จะส่งผลทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวมากขึ้น ทั้งการแสดงออกผ่านท่าทางและคำพูด รวมถึงกลายเป็นคนที่ไม่มีความมั่นใจในตัวเองด้วย สิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นจากการที่พ่อแม่เป็นผู้ถ่ายทอดพฤติกรรมผ่านลูกนั่นเอง

วิธีลงโทษลูกเมื่อลูกทำผิดด้วยคำพูดด่าทอ ตะคอกใส่ หรือใช้ความรุนแรงจึงไม่ใช้วิธีที่ถูกต้องที่สุดสำหรับการเลี้ยงลูกให้เติบโตมาเป็นเด็กดีนะคะ การคุยกับลูกที่ดีโดยไม่ใช้อารมณ์ สอนและคุยกันด้วยเหตุผล ใช้ถ้อยคำที่นุ่มนวล ชี้ให้เห็นถึงผลลัพธ์ต่าง ๆ ที่จะตามมาให้ลูกได้เข้าใจ จะเป็นวิธีที่ดีกว่า ดังนั้นถ้าไม่อยากให้ผลเสียต่าง ๆ เกิดขึ้นกับลูกทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอย่าเผลอไปใช้อารมณ์ระเบิดใส่ลูกเด็ดขาดจ้า!


ปัญหา
คุณต้องตามใจลูกวัย 4-7 ขวบเสมอ ไม่ว่าเขาอยากได้อะไรหรืออยากทำอะไร

เวลาคุณบอกลูกให้ทำบางอย่างที่เขาไม่อยากทำ เขาก็เฉยไม่ยอมทำตาม *

เมื่อคุณห้าม ลูกไม่ให้ทำบางอย่างที่เขาอยาก ทำ เขาก็อาละวาดใส่คุณ

คุณอาจคิดว่า ‘เด็กวัยนี้ก็เป็นแบบนี้แหละ เดี๋ยวโตขึ้นก็จะดีเอง’

คุณสอนลูกให้เชื่อฟังได้ แต่ก่อนที่เราจะพิจารณาว่าจะสอนอย่างไร ให้เรามาดูว่าทำไมเด็กบางคนถึงไม่เชื่อฟัง

สาเหตุของปัญหา
ตอนที่ลูกเกิดมา คุณต้องคอยดูแลเอาใจใส่ลูกและประคบประหงมเขา เมื่อลูกร้องคุณก็จะรีบวิ่งไปและทำทุกอย่างเพื่อให้ลูกหยุดร้อง แน่นอนว่า การทำแบบนี้เป็นเรื่องเหมาะสมและจำเป็นเพราะเด็กทารกจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดจากพ่อแม่

หลังจากที่ได้รับการดูแลอย่างดีเป็นเวลาหลายเดือนจึงเป็นเรื่องธรรมดาที่เด็กจะทำตัวเป็นเจ้านายในบ้าน ส่วนพ่อแม่ก็เป็นคนรับใช้ที่ต้องทำตามคำสั่ง แต่พออายุ 2 ขวบ เด็กไม่ค่อยจะยอมรับว่าตอนนี้เขาไม่ใช่ “เจ้านาย” อีกต่อไป พ่อแม่ไม่ตามใจเขา แล้ว ไม่ใช่แค่นั้นพ่อแม่ต้องการให้ลูก ทำตามที่พวกเขา บอกด้วย เรื่องนี้ทำให้เด็กงง บางคนถึงกับอาละวาด ส่วนบางคนก็อยากลองดูว่าพ่อแม่มีอำนาจจริงหรือไม่โดยการไม่เชื่อฟัง

ในช่วงนี้ พ่อแม่จำเป็นต้องรับบทบาทใหม่ นั่นก็คือผู้มีอำนาจที่จะสั่งลูกให้ทำตาม แต่ถ้าลูกไม่สนใจหรือไม่ยอมรับอำนาจเหมือนตัวอย่างในตอนต้น พ่อแม่ควรทำอย่างไร?

 สิ่งที่คุณทำได้
ต้องเป็นผู้นำ ลูกจะไม่ยอมรับว่าคุณเป็นผู้นำถ้าบทบาทของคุณไม่ชัดเจน ดังนั้น คุณต้องใช้อำนาจอย่างสมดุล ในช่วงไม่กี่สิบปีมานี้ บางคนที่อ้างว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญทำให้คำว่า “อำนาจ” ดูเป็นเรื่องโหดร้าย มีคนหนึ่งถึงกับพูดเรื่องการใช้อำนาจของพ่อแม่ว่า “ผิดจรรยาบรรณ” และ “ผิดทำนองคลองธรรม” แต่จริง ๆ แล้ว การตามใจลูกมากเกินไปจะทำให้เด็กไม่รู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด เอาแต่ใจ และคิดว่าตัวเองมีสิทธิ์เหนือคนอื่น การทำแบบนี้ไม่ได้ช่วยฝึกลูกให้โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบเลย—หลักการในคัมภีร์ไบเบิล: สุภาษิต 29:15

ต้องอบรมสั่งสอน พจนานุกรมเล่มหนึ่งอธิบายว่าการอบรมสั่งสอนเป็น “การฝึกอบรมเพื่อให้เกิดการเชื่อฟังหรือการควบคุมอารมณ์ รวมถึงการตั้งกฎและลงโทษถ้าไม่เชื่อฟัง” จริงอยู่ที่การอบรมสั่งสอนไม่ควรจะเป็นแบบไร้เหตุผลหรือพูดแรง ๆ แต่ก็ไม่ใช่สอนแบบคลุมเครือหรือมองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะจะทำให้เด็กไม่อยากปรับปรุงตัว—หลักการในคัมภีร์ไบเบิล: สุภาษิต 23:13

ต้องชัดเจน พ่อแม่บางคนเพียงแค่ขอ ให้ลูกเชื่อฟังพวกเขา (“ลูกช่วยทำความสะอาดห้องของลูกหน่อยได้ไหม?”) พวกเขาอาจคิดว่าการทำแบบนี้เป็นการแสดงมารยาทที่ดี แต่การทำแบบนี้จะทำให้อำนาจของพ่อแม่ลดลง ทำให้เด็กคิดว่าเป็นแค่คำขอ จะทำหรือไม่ทำก็ได้ แทนที่จะขอให้ลูกทำ พ่อแม่ต้องสั่งอย่างชัดเจน—หลักการในคัมภีร์ไบเบิล: 1 โครินท์ 14:9

ต้องเด็ดเดี่ยว ถ้าคุณบอกว่าไม่ ก็ต้องเป็นไปตามนั้น พ่อแม่ต้องตกลงและเห็นพ้องกันในเรื่องนี้ ถ้าคุณบอกลูกแล้วว่าคุณจะลงโทษลูกอย่างไรเมื่อเขาทำผิดก็ให้ทำตามนั้น อย่ามัวเสียเวลากับการต่อรองหรืออธิบายว่าทำไม คุณทำแบบนั้น นี่จะช่วยให้ง่ายขึ้นทั้งคุณและลูก ถ้าคุณ “ให้คำว่า ‘ใช่’ หมายความว่าใช่และ ‘ไม่’ หมายความว่าไม่”—หลักการในคัมภีร์ไบเบิล: ยากอบ 5:12

ต้องแสดงความรัก ครอบครัวไม่ใช่การปกครองแบบประชาธิปไตยหรือแบบเผด็จการ พระเจ้าต้องการให้พ่อแม่สอนลูกด้วยความรักเพื่อเขาจะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรับผิดชอบ และส่วนหนึ่งของขั้นตอนที่จะช่วยให้เป็นอย่างนั้นได้ ก็คือการอบรมสั่งสอนซึ่งจะช่วยลูกให้เชื่อฟังและทำให้ลูกมั่นใจว่าคุณรักเขา
.jw.org


#ทำอย่างไรไม่ให้ลูกขี้โมโห
คือ หนึ่งในคำถามยอดฮิตของการเป็นจิตแพทย์เด็ก ที่มักถูกถามมาเป็นประจำ
หมอมักจะถามกลับไปว่า เวลาลูกโมโห พ่อกับแม่ แก้สถานการณ์อย่างไรในตอนนั้น
ลองตอบคำถามนี้ดูก่อนอ่านต่อนะ
พ่อแม่ส่วนใหญ่มักตอบว่า
พยายามบอกลูกว่า อย่าโมโหนะ ใจเย็นๆ ฯลฯ
(พร้อมอธิบายเหตุผลกับลูกว่าทำไมไม่ควรโมโห)
หมอถามพ่อแม่กลับไปว่า ถ้าเราเองกำลังโมโห แล้วมีคนมาบอกด้วยประโยคเดียวกัน
เราจะรู้สึกดีขึ้นหรือเปล่า?
ถ้าไม่ เราอยากได้ยินประโยคแบบไหน ที่ฟังแล้วจะรู้สึกดีขึ้น
ประโยคนั้น ก็น่าจะเหมาะที่จะไปพูดกับลูกมากกว่า
มีประเด็นเรื่องอารมณ์ขี้โมโหของเด็กที่หมอจะสรุปให้ฟังครับ

1. อารมณ์โมโห โกรธ หงุดหงิด (รวมถึงอารมณ์ด้านลบอื่นๆ เช่น เศร้า เสียใจ ท้อใจ ฯลฯ)
ไม่ใช่เรื่องแย่ ที่พ่อแม่ต้องไปหงุดหงิดตาม

แต่เป็นโอกาสที่ดีที่จะสอนให้ลูกรู้จักและเรียนรู้เรื่อง “อารมณ์” โดยเฉพาะอารมณ์ตนเอง

2. อารมณ์เป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่มีผิดถูก
เป็นเรื่องส่วนบุคคลของคนคนนั้นที่พ่อแม่ก็ไม่มีสิทธิ์บังคับไม่ให้เกิด
หรือบังคับให้ลูกรู้สึกอย่างนั้นอย่างนี้ได้
(เพราะแม้แต่ผู้ใหญ่อย่างเราๆ บางทีก็ยังคุมไม่ค่อยได้เลยครับ)

ดังนั้น การไปห้ามว่า ลูกอย่าโมโหสิ อย่าโกรธแบบนี้นะ ไม่ช่วยให้อะไรดีขึ้น
ยิ่งทำให้ลูกต้องเก็บกดอารมณ์แทน (เพราะโดนห้าม)
กลายเป็นเด็กที่สะสมความโกรธ ขี้ฉุนเฉียว และรอวันระเบิดออกมา

3. เราไม่จำเป็นต้องปฏิเสธหรือห้ามอารมณ์ทางลบพวกนี้
เพียงแค่พ่อแม่ “ยอมรับ” ว่ามันเกิดขึ้น และบอกให้ลูกยอมรับมันเช่นเดียวกัน
พ่อแม่สามารถบอกตัวเองในใจได้ว่า “โอเค ตอนนี้ลูกกำลังโกรธนะ”

4. การบอกให้ลูกยอมรับ ทำได้โดยการ “สะท้อนอารมณ์”
และไม่จำเป็นต้องสอนอะไรมากมายในช่วงนั้น เช่น

ลูกกำลังโมโหอยู่นะ”
หนูหงุดหงิดอยู่ใช่มั้ยลูก”

การสะท้อนอารมณ์ จะทำให้ลูกเกิดการรับรู้อารมณ์ตัวเอง เข้าใจตัวเองขึ้น
และลูกจะรู้สึกดีขึ้น ที่พ่อแม่เข้าใจและยอมรับความรู้สึกของเขา ไม่ตัดสินอะไรเขา
ทั้งหมดนี้จะทำให้เด็กใจเย็นลงเอง

5. ให้เวลากับลูก ได้ทบทวน และจัดการอารมณ์สักหน่อย
โดยที่พ่อแม่อาจจะนั่งเป็นเพื่อนอารมณ์กับเขา โดยที่ยังไม่ต้องพูดอะไร
แต่กรณีที่เราเองก็อารมณ์เสีย หรือตัวกระตุ้นให้ลูกโมโห คือเราเอง
อาจต้องปล่อยให้ลูกอยู่คนเดียวก่อน

โดยบอกลูกสั้นๆด้วยท่าทีสงบว่า
ไว้ลูก (กับแม่) อารมณ์ดีขึ้น เราค่อยมาคุยกันต่อนะ”

6. เมื่ออารมณ์ดีขึ้น จึงเป็นช่วงที่พ่อแม่กับลูกได้มาทบทวน เรียนรู้ร่วมกัน
สอดแทรกคำสอนกับลูกได้ครับ (รีบสอนตอนลูกกำลังโมโห ไม่ได้ประโยชน์อะไร)

7. การฝึกให้ลูกรับรู้อารมณ์ตัวเองบ่อยๆ
จะทำให้ลูกเกิดความตระหนักกับอารมณ์ตนเอง ซึ่งเป็นรากฐานของการพัฒนา EQ
และรู้จักจัดการอารมณ์ตนเองได้อย่างเหมาะสม ไม่กลายเป็นเด็กขี้โมโหครับ

8. สำคัญมากคือ คงเป็นไปไม่ได้ หากพ่อแม่ อยากให้ลูกอารมณ์ดี
แต่พ่อแม่ยังคงเกรี้ยวกราดกับลูกทุกวัน

การเป็นตัวอย่างในเรื่องการควบคุมอารมณ์สำคัญมากๆๆๆครับ
สรุปใจความสำคัญ ในบทความนี้ ว่า #ทำอย่างไรไม่ให้ลูกขี้โมโห
คือ “ยอมรับ สะท้อนอารมณ์ และเป็นตัวอย่างที่ไม่ขี้โมโห” ครับ
หมอไปป์_แฮปปี้คิดส์


10 คำพูดที่พ่อแม่ไม่ควรใช้กับลูก
บางครั้งคนเป็นพ่อเป็นแม่อาจไม่ค่อยสนใจว่าเราพูดอะไรกับลูกบ้าง แต่รู้หรือไม่ว่าเวลาเราเครียดหรือโมโห เราอาจพูดสิ่งที่ทำร้ายจิตใจลูกอย่างรุนแรงออกไปโดยไม่ได้ตั้งใจ เราควรระลึกไว้เสมอว่าผลจากการกระทำของเราอาจส่งผลต่อคนอื่นโดยที่เราคาดไม่ถึง

ล้อเลียน
นี่เป็นสิ่งต้องห้ามเด็ดขาดสำหรับคุณพ่อคุณแม่ เราไม่ควรล้อเลียนหรือเรียกลูกด้วยชื่ออื่น ๆ ที่อาจทำให้เขาสูญเสียความมั่นใจให้เขา เช่น อ้วน แห้ง สิว ฯลฯ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม

หยุดกวนซะที
บางครั้งผู้ปกครองอาจต้องการเวลานอก แต่ถ้าคุณบอกลูกว่าอย่ามายุ่งกับคุณบ่อย ๆ เข้า พวกเขาก็อาจไม่คุยกับคุณอีกต่อไป เด็ก ๆ ควรเรียนรู้ว่าบางครั้งคุณก็ต้องการเวลาพักบ้าง พยายามอธิบายให้ลูกฟังก่อนที่จะระเบิดใส่พวกเขาว่าคุณขอเวลาทำธุระส่วนตัวสัก 2-3 นาที

ต่อว่าตลอดเวลา
การบอกลูกว่าเขาซุ่มซ่ามหรือนิสัยไม่ดีไม่ได้ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจหรือรู้สึกมีคุณค่ามากขึ้น แม้ว่าคุณจะไม่ได้พูดกับเขาโดยตรงก็ตาม เด็ก ๆ มักเชื่อในสิ่งที่พวกเขาได้ยินโดยไม่ถามอะไรทั้งสิ้น สุดท้ายพวกเขาก็จะเชื่อว่าพวกเขาแย่อย่างที่คุณพูดจริง ๆ

สั่งให้เก็บอารมณ์
เรามักพยายามปกป้องลูกโดยการบอกเขาว่าไม่ต้องเศร้า หรือไม่ต้องกลัว แต่บางครั้งการบอกไม่ให้เขารู้สึกอย่างนั้นอย่างนี้อาจเป็นการสื่อให้เขารู้สึกว่าอารมณ์และความรู้สึกของเขานั้นไม่สำคัญ พยายามบอกลูกว่าไม่เป็นไรที่จะรู้สึกเช่นนั้น และคุณจะคอยอยู่ข้าง ๆ พวกเขาเสมอ

 สิ่งที่คุณไม่ควรบอกลูกคือ
เปรียบเทียบกับพี่น้อง

พ่อแม่ไม่ควรเปรียบเทียบลูกคนหนึ่งกับลูกอีกคน เราควรเข้าใจว่าเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกันและคุณก็รักที่พวกเขาแตกต่างกัน การพูดเปรียบเทียบพี่น้องจะทำให้พวกเขาเกลียดกัน พยายามทำให้ลูกรู้ว่าพวกเขาพิเศษกันคนละแบบ

ปรี๊ดใส่
การบอกลูกว่า “ไม่อยากจะเชื่อเลยว่าลูกทำอย่างนั้น” หรือ “น่าจะฉลาดกว่านี้” จะทำให้ลูกขาดความมั่นใจ เขาจะโตขึ้นโดยรู้สึกว่าทำอะไรก็ผิดและก็ไม่มีวันทำอะไรถูกสักอย่าง พยายามพูดกับลูกดี ๆ แทนที่จะพูดกระโชกโฮกฮากตลอดเวลา

ลงไม้ลงมือ
การตี หรือการลงโทษหนัก ๆ อาจไม่ส่งผลดีเสมอไป มันอาจใช้ได้ผลแค่ในช่วงแรก แต่สุดท้ายมันก็จะใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป

บทความใกล้เคียง: ตีลูกหรือไม่ตี
ขู่ด้วยประโยคเดิม ๆ
เช่น “เดี๋ยวรอให้พ่อรู้ก่อนเถอะ” ปัญหาก็คือ เมื่อเด็ก ๆ โตขึ้น เขาก็จะรู้ว่าคุณก็แค่ขู่ไปอย่างนั้นโดยไม่ทำอะไร และเขาก็จะไม่ฟังคุณ

ชมพร่ำเพรื่อ
เด็ก ๆ ควรได้รับคำชมบ้าง แต่ไม่ใช่ตลอดเวลา คำชมควรถูกสงวนไว้สำหรับวาระสำคัญเท่านั้น ถ้าคุณชมลูกบ่อยเกินไป มันจะกลายเป็นไร้ความหมาย และเด็ก ๆ จะคิดว่าพวกเขาสมควรได้รับคำชมสำหรับทุก ๆ อย่างที่ทำ

ก็เพราะแม่สั่งให้ทำ
แม้คุณจะเป็นพ่อแม่ และเราก็ควรสอนให้ลูกฟังในสิ่งที่เราพูด แต่เราก็ควรอธิบายเหตุผลให้เขาฟัง อาจจะไม่ใช่ทุกเรื่อง แต่ก็ส่วนใหญ่ ไม่ใช่สักแต่พูดว่า “ก็เพราะแม่สั่งให้ทำ” ไม่เช่นนั้นเด็กก็จะไม่

เด็กอาจพูดคำที่ทำร้ายจิตใจสุด ๆ

ลองดูสถานการณ์นี้สิ: คุณกำลังช้อปปิ้งในซุปเปอร์มาเก็ตกับเจ้าตัวเล็กและลูกคุณกำลังจะเอาช็อคโกแล็ตกล่องเบ้อเริ่มใส่ในรถเข็น หลังจากที่คุณห้ามไม่ให้ลูกทำเช่นนั้น ลูกคุณก็พูดคำสามคำที่ทำร้ายจิตใจคุณสุด ๆ “หนู-เกลียด-แม่” นั่นไง การเป็นพ่อเป็นแม่คนยากมั้ยล่ะ?

เพราะคำเหล่านี้สามารถเฉือนใจคุณได้เหมือนมีดเลยทีเดียว แต่แทนที่คุณจะโมโหหรืออารมณ์เสียในซุปเปอร์มาเก็ต คุณควรพยายามทำให้ตัวเองใจเย็นลง หรืออาจเดินไปที่แผนกแช่แข็งเพื่อทำให้อารมณ์คุณเย็นลง

การโต้ตอบลูกด้วยอารมณ์นั้นมีแต่จะทำให้สถานการณ์แย่ลง และการให้ในสิ่งที่ลูกเรียกร้องจะแสดงให้เขาเห็นว่าคำพูดของเขานั้นมีอำนาจ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้เขาใช้คำพูดที่ทิ่มแทงหัวใจเหล่านี้ต่อไปเพื่อให้ได้ในสิ่งที่เขาต้องการ


เหตุผลที่พ่อแม่ควรสร้างอารมณ์ขันในบ้าน
พ่อแม่ชาวเอเชียถูกมองว่าเป็นพ่อแม่ที่มีความเข้มงวดมากที่สุดในโลก แต่จริง ๆ แล้วเราก็เข้มงวดด้วยเหตุผลที่ดี ถึงแม้การเลี้ยงลูกจะเป็นเหมือนการทำธุรกิจที่เครียด แต่คุณก็ควรสร้างบรรยากาศในบ้านให้มีอารมณ์ขันบ้าง เช่น เล่นเกมส์ในวันหยุดหรือวันพิเศษต่าง ๆ เราลองมาดูเหตุผล 5 ประการที่ทำไมพ่อแม่ควรสร้างอารมณ์ขันในบ้านบ้างในขณะที่เลี้ยงลูก

พ่อแม่มีเรื่องให้ต้องคิดตัดสินใจเกี่ยวกับลูกอยู่ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ลูกทำผิด รู้สึกไม่ดี หรือโกรธพ่อแม่ ผู้เป็นพ่อเป็นแม่ต้องเจอกับสภาวะลำบากในการจัดการปัญหาเพื่อให้เกิดผลในทางที่ดีที่สุดกับลูก การใช้อารมณ์ขันบ้างในสถานการณ์เช่นนี้จะช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคุณกับลูกให้ดีขึ้น

1. อารมณ์ขันช่วยสร้างความสัมพันธ์ที่ดี
พ่อแม่ควรพยายามอย่างมากที่จะจัดการกับลูก ๆ ให้เหมาะสมกับวัยของพวกเขา ลองนึกดูว่าหากลูกน้อยโกรธคุณมากและเรียกคุณว่า "แม่หน้าลิง" แทนที่คุณจะตะโกนด่าลูกหรือเรียกมาทำโทษ ทำไมไม่ลองตอบโต้พร้อมทำหน้าตาตื่นตกใจแกมทะเล้นดูว่า "ลูกรู้ชื่อลับของแม่ได้ยังไงอ่ะ?" การแสดงออกในเชิงตลกขบขับได้ทำลายกำแพงระหว่างคุณกับลูกไปเรียบร้อยแล้ว และจะทำให้ลูกมีโอกาสสร้างความสัมพันธ์กับคุณในระดับที่เขาสามารถทำได้ นอกจากนี้ เขาก็จะลืมเรื่องที่เขาโกรธคุณไปโดยปริยายเลยทีเดียว

2. อารมณ์ขันช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของลูก
เมื่อคุณช่วยลูกทำการบ้าน การทำให้เขาได้หัวเราะบ้างสามารถช่วยให้เขาจำบทเรียนได้ดี ลูกคุณอาจลืมทฤษฎีวิทยาศาตร์ ลืมกฎภาษาอังกฤษ หรือลืมสูตรคณิตศาสตร์ แต่เขาจะจำการทดลองวิทยาศาสตร์ตลก ๆ ที่เขาทำในห้องครัวกับแม่ได้อย่างแม่นยำ

3. อารมณ์ขันทำให้ลูกกลับมาอารมณ์ดีเหมือนเดิม
ถ้าลูกของคุณวิ่งมาหาคุณด้วยหน้าตาตื่นพร้อมน้ำตานองหน้าและบอกคุณว่าเขาพังตึกของเล่นที่ช่วยกันสร้างโดยไม่ตั้งใจ และคุณวิ่งไปที่หน้าต่างด้วยหน้าตาตื่น มองไปรอบ ๆ ด้วยอาการช็อคและพูดว่า "ลูกพังตึกเหรอ?" ตึกไหน? เราต้องเรียกตำรวจด่วนเลย!" การที่คุณทำตัวให้ตื่นเต้นเข้าไว้จะทำให้เขาหัวเราะออกมาแทบจะทันที ในช่วงชีวิตคนเราต้องเจอกับเรื่องเศร้ามากมาย เช่น สุนัขตัวโปรดตาย ทีมฟุตบอลโปรดดันแพ้ทีมอื่น หรือแม้กระทั่งตึกของเล่นที่ช่วยกันสร้างพังลง ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น คุณควรสอนให้ลูกรู้ว่าเราสามารถยิ้มได้เสมอ การสร้างสถานการณ์ให้เขาหัวเราะออกมาได้ ช่วยให้เขารู้สึกดีขึ้นและกลับมาเป็นลูกน้อยที่อารมณ์ดีเหมือนเดิม

4. อารมณ์ขันช่วยให้ลูกทำงานเสร็จ
พอถึง ณ จุดหนึ่ง ลูกของคุณจะปฏิเสธการทำตามคำสั่ง ลูกสาวตัวน้อยจะไม่อยากใส่ชุดที่คุณเลือกให้ แต่แทนที่คุณจะอารมณ์เสีย คุณอาจพูดติดตลกหรือทำเรื่องตลกให้ลูกได้หัวเราะ เช่น บอกลูกว่า ถ้าลูกไม่อยากใส่คุณจะยึดชุดสวยนั้นแล้วก็จะเอาไปใส่เอง แล้วก็ลองพยายามสวมชุดพร้อมทำหน้าตลกไปด้วย การที่คุณทำให้ลูกเปลี่ยนจากอารมณ์ไม่ดีเป็นอารมณ์ดีได้ นั่นหมายความว่า คุณชนะในสงครามเล็ก ๆ กับลูกแล้ว

5. อารมณ์ขันช่วยเลี่ยงการขัดแย้งกัน
บางครั้งความสัมพันธ์ระหว่างคุณและลูกอาจไม่ราบรื่น หากคุณมีอารมณ์ขันแบบที่เขาคาดไม่ถึงจะทำให้ลูกเกิดความประหลาดใจและช่วยให้เขาผ่อนคลายความเครียดลงได้ในหลายกรณี เช่น เมื่อคุณกลับจากทำงานมาเหนื่อย ๆ และพบว่าเด็ก ๆ เสียงดังมาก และทำให้คุณอยากจะตะโกนแข่งกับพวกเขา การทำเช่นนั้นรังแต่จะทำให้เสียความรู้สึกของทั้งสองฝ่าย ดังนั้น แทนที่จะสร้างความขัดแย้งระหว่างคุณกับลูก คุณควรเล่นไปกับพวกเขาสักพักแล้วก็บอกให้พวกเขาไปพักผ่อน ในท้ายที่สุด ทุกคนก็จะมีความสุขเอง

theasianparent.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข้อพระคัมภีร์ประจำวันและการอุทิศตน – โคโลสี 2:7

  ข้อพระคัมภีร์ประจำวันและการอุทิศตน – โคโลสี 2:7   จงหยั่งรากและก่อร่างสร้างขึ้นในพระองค์ จงมั่นคงในความเชื่อตามที่ได้รับการสอนมาแล้ว และ...