“คนรักเงินย่อมไม่อิ่มเงิน และคนรักสมบัติไม่รู้จักอิ่มกำไร นี่ก็อนิจจังด้วย”
เราจะมีความสุขได้อย่างไรและเราจะขอบคุณพระเจ้าได้ดีอย่างไรหากใจเรามีคำถามมากมายเหล่านี้อยู่ในใจ
เราจะมีความสุขได้อย่างไรและเราจะขอบคุณพระเจ้าได้ดีอย่างไรหากใจเรามีคำถามมากมายเหล่านี้อยู่ในใจ
คุณเคยตั้งคำถามกับตัวเองแบบนี้หรือไม่
“ฉันจะมีความสุขถ้าได้แต่งงานและมีลูก”
“ฉันจะมีความสุขถ้ามีบ้านสักหลัง”
“ฉันจะมีความสุขถ้าได้งานที่ชอบ”
“ฉันจะมีความสุขถ้า
. . .”
คุณเคยรู้สึกอย่างนั้นไหม? พอคุณได้อย่างที่ต้องการแล้ว
สิ่งเหล่านั้นทำให้คุณมีความสุขนานไหม? หรือไม่นานความสุขนั้นก็จางหายไป? การพยายามไปให้ถึงเป้าหมายหรือได้สิ่งของที่ต้องการทำให้มีความสุขได้จริงแต่ความสุขแบบนั้นก็อยู่ไม่นาน
เช่นเดียวกับการมีสุขภาพดี ความสุขแท้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสำเร็จหรือสิ่งของที่ได้มาเท่านั้น
แต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง
เราแต่ละคนไม่เหมือนกัน
เราอาจมีความสุขกับสิ่งหนึ่ง แต่คนอื่นอาจมีความสุขกับอีกสิ่งหนึ่ง
และเมื่อเวลาผ่านไปเราก็เปลี่ยนไปด้วย เห็นได้ชัดว่าคนเราจะมีความสุขแท้ได้ต้องมีปัจจัยอื่นด้วย
เช่น รู้สึกพอใจในชีวิต ไม่อิจฉาริษยา รักคนอื่น
พร้อมจะปรับเปลี่ยนและมีจิตใจที่เข้มแข็ง ให้เรามาดูว่าทำไมเรื่องเหล่านี้จึงสำคัญ
1. พอใจในชีวิต
คนฉลาดคนหนึ่งที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ได้สังเกตว่า
“เงินเป็นเครื่องป้องกัน” แต่ก็ยังเขียนด้วยว่า “คนรักเงินย่อมไม่อิ่มเงิน
และคนรักสมบัติไม่รู้จักอิ่มกำไร นี่ก็อนิจจังด้วย” (ปัญญาจารย์ 5:10 คนที่รักเงินไม่เคยพอใจกับเงินที่หามาได้
และคนที่รักสมบัติก็ไม่พอใจกับรายได้ของตัวเอง นี่ก็ไร้ประโยชน์เหมือนกัน ) เขาหมายความว่าอย่างไร? เงินเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน
แต่สิ่งที่เราต้องระวังก็คือความโลภ เพราะความโลภทำให้คนเราไม่รู้จักพอ!
ผู้เขียนคนนี้คือ โซโลมอนกษัตริย์ของชาติอิสราเอลโบราณ
เขาได้ลองดูว่าความมั่งคั่งร่ำรวยและชีวิตที่หรูหราฟุ่มเฟือยจะทำให้มีความสุขจริง
ๆ ไหม เขาเขียนว่า “ข้าพเจ้าไม่เคยปฏิเสธสิ่งใดที่ . . . ข้าพเจ้าปรารถนา
มิได้ห้ามใจจากความยินดีใด ๆ”— ( ปัญญาจารย์ 1:13
เราตั้งใจศึกษาและใช้สติปัญญาตรวจสอบงานทุกอย่างที่คนเราทำอยู่ใต้ฟ้า
คืองานที่ยากลำบากซึ่งพระเจ้าให้มนุษย์ทำอยู่ )
โซโลมอนสะสมทรัพย์สมบัติไว้มากมาย
เขาสร้างบ้านใหญ่โตหลายหลัง สร้างสวนและสระน้ำที่สวยงามหลายแห่ง
และมีคนรับใช้มากมาย เขามีทุกอย่างที่ต้องการ
แต่เขาได้เรียนรู้อะไรจากการลองใช้ชีวิตแบบนี้? เขามีความสุขอยู่บ้างแต่ก็ไม่นาน เขาบอกว่า
“การทั้งหลายเป็นอนิจจังเหมือนวิ่งไล่ตามลม และมิได้มีผลประโยชน์อะไร”
เขาถึงกับเกลียดชีวิตด้วยซ้ำ! (ปัญญาจารย์ 2:11
แต่เมื่อเราคิดถึงทุกสิ่งที่เราทำและงานหนักที่เราบากบั่นทำจนเสร็จ
เราก็เห็นว่าทุกสิ่งไร้ประโยชน์และเป็นการวิ่งไล่ตามลม
และไม่มีอะไรภายใต้ดวงอาทิตย์ที่มีค่า*จริง
ๆ) โซโลมอนได้เรียนรู้ว่าการทำตามใจตัวเอง
สุดท้ายก็เหลือแต่ความว่างเปล่าและไม่พอใจกับชีวิต *
ผลการวิจัยสมัยใหม่สอดคล้องกับสติปัญญาสมัยโบราณไหม? บทความหนึ่งที่ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Happiness Studies ให้ข้อสังเกตว่า
“ถ้าคุณมีสิ่งจำเป็นในชีวิตแล้ว
แม้จะมีเงินมากขึ้นก็ไม่ได้ทำให้คุณมีความสุขมากขึ้นไปด้วย” ที่จริง
จากผลวิจัยพบว่า การมีวัตถุสิ่งของเพิ่มขึ้นโดยไม่สนใจว่าจะต้องเสียอะไรไปไม่ได้ทำให้คนเรามีความสุขจริง
ๆ
คำแนะนำในคัมภีร์ไบเบิล:
“จงให้วิถีชีวิตของพวกท่านปราศจากการรักเงิน และจงพอใจในสิ่งที่พวกท่านมีอยู่”—(ฮีบรู
13:5 อย่าใช้ชีวิตแบบคนรักเงิน
แต่ให้พอใจในสิ่งที่มีอยู่
เพราะพระเจ้าบอกไว้ว่า
“เราจะไม่มีวันทิ้งเจ้า เราจะไม่ทอดทิ้งเจ้าเลย” )
2.
ไม่อิจฉาริษยา
ความอิจฉาริษยาคือ
“ไม่พอใจหรือเจ็บใจที่เห็นคนอื่นได้ดีและอยากได้อยากมีอย่างเขาบ้าง”
ความอิจฉาริษยาเป็นเหมือนเนื้อร้ายที่สามารถทำลายชีวิตและความสุขของคนเราได้
ความอิจฉาอาจเกิดขึ้นได้อย่างไร? เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเริ่มมีนิสัยแบบนี้? และเราจะเอาชนะนิสัยนี้ได้อย่างไร?
สารานุกรมเล่มหนึ่ง
(Encyclopedia of Social
Psychology ) ให้ข้อสังเกตว่า
ผู้คนมักจะอิจฉาคนที่มีอะไร ๆ เท่าเทียมกับตัวเอง ไม่ว่าจะอายุ ประสบการณ์
หรือฐานะทางสังคม เช่น
พนักงานขายอาจอิจฉาเพื่อนพนักงานขายที่ประสบความสำเร็จมากกว่าเขา
แต่เขาอาจไม่อิจฉานักแสดงที่มีชื่อเสียง
ตัวอย่างเช่น
ข้าราชการระดับสูงหลายคนในอาณาจักรเปอร์เซียโบราณไม่ได้อิจฉากษัตริย์
แต่อิจฉาริษยาดาเนียลซึ่งเป็นข้าราชการที่ฉลาดหลักแหลม พวกเขาคงไม่มีความสุขแน่ ๆ
เห็นได้จากการที่พวกเขาวางแผนจะฆ่าดาเนียล แต่ก็ไม่ สำเร็จ (ดาเนียล 6:1-24)
สารานุกรมที่อ้างถึงก่อนหน้านี้บอกว่า “ควรจำไว้ว่าความอิจฉาริษยาทำให้คุณอยากทำร้ายคนอื่น
เหตุการณ์ที่รุนแรงหลายครั้งในประวัติศาสตร์จึงมักเกี่ยวโยงกับความริษยา” *
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นคนขี้อิจฉา? ลองถามตัวเองว่า
‘ถ้าเห็นเพื่อนได้ดีฉันไม่มีความสุขไหม? ถ้าลูกพี่ลูกน้อง เพื่อนนักเรียนที่เก่ง ๆ หรือเพื่อนร่วมงาน
ทำบางอย่างผิดพลาดล้มเหลว ฉันสะใจไหม?’ ถ้าคุณตอบว่า “ใช่” ก็แสดงว่าคุณเริ่มเป็นคนขี้อิจฉาแล้ว (ปฐมกาล
26:12-14
แล้วอิสอัคก็เริ่มเพาะปลูกในแผ่นดินนั้น
ในปีนั้นเขาเก็บเกี่ยวพืชผลได้ 100
เท่าของเมล็ดที่หว่านเนื่องจากพระยะโฮวาอวยพรเขา 13
เขาจึงมีฐานะดีและดีขึ้นเรื่อย ๆ จนร่ำรวยมาก 14 เขามีฝูงแกะ ฝูงวัว และคนรับใช้มากมายจนชาวฟีลิสเตียอิจฉา)
สารานุกรมยังบอกอีกว่า
“ความอิจฉาริษยาสามารถทำให้คนเราหมดความยินดีและไม่เห็นค่าสิ่งดี ๆ ในชีวิต . . .
นิสัยแบบนี้ทำให้ไม่ค่อยมีความสุข”
เราเอาชนะนิสัยขี้อิจฉาได้โดยพัฒนาความอ่อนน้อมถ่อมตนจากใจจริง
คุณลักษณะนี้จะช่วยให้เรารู้สึกยินดีและเห็นคุณค่าความสามารถของคนอื่นรวมทั้งสิ่งดี
ๆ ที่เขามี คัมภีร์ไบเบิลบอกว่า “ไม่ทำอะไรด้วยน้ำใจชิงดีชิงเด่นหรือด้วยความถือดี
แต่ให้ถ่อมใจถือว่าคนอื่นดีกว่าตัว” (ฟีลิปปี
2:3
)
คำแนะนำในคัมภีร์ไบเบิล:
“ขอให้เราอย่าถือดี อย่ายั่วยุให้มีการแข่งขันชิงดีกัน อย่าอิจฉากัน”—(กาลาเทีย
5:26 )
3.
พัฒนาความรักต่อคนอื่น
หนังสือจิตวิทยาสังคม
(ภาษาอังกฤษ) บอกว่า
“การมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันทำให้ผู้คนมีความสุขในชีวิตมากกว่าการมีงาน มีรายได้
มีสังคม หรือแม้แต่มีสุขภาพที่ดีด้วยซ้ำ” พูดง่าย ๆ ก็คือ
คนเราจะมีความสุขแท้ต้องมีทั้งให้และได้รับความรัก คัมภีร์ไบเบิลเขียนว่า
“ถ้าข้าพเจ้า . . . ไม่มีความรัก ข้าพเจ้าก็ไม่มีค่าอะไรเลย”—1 โครินท์ 13:2
ไม่สายเกินไปที่จะพัฒนาความรัก
เช่น ตัวอย่างของวาเนสซาที่เคยถูกพ่อขี้เมาทำร้ายร่างกาย เธอหนีออกจากบ้านตอนอายุ
14 ปี และไปอยู่สถานเลี้ยงเด็กกำพร้า
เธอยังไปอยู่บ้านพักของคนจรจัดซึ่งเป็นที่ที่เลวร้ายจนเธอต้องอธิษฐานอ้อนวอนพระเจ้าให้ช่วย
และพระองค์อาจฟังคำอธิษฐานของเธอเพราะมีครอบครัวหนึ่งรับเธอไปอยู่ด้วย
พวกเขาทำตามคำแนะนำจากคัมภีร์ไบเบิลที่ว่า “ความรักอดกลั้นไว้นานและแสดงความกรุณา”
(1 โครินท์ 13:4)
ทั้งสภาพแวดล้อมที่วาเนสซาอยู่บวกกับเรื่องที่เธอได้เรียนจากคัมภีร์ไบเบิลช่วยเยียวยาเธอให้มีอารมณ์และจิตใจที่เข้มแข็งขึ้น
เธอบอกว่า “ที่โรงเรียนผลการเรียนของฉันดีขึ้นมาก”
ถึงแม้วาเนสซายังรู้สึกเจ็บปวดทางอารมณ์อยู่บ้าง
แต่ตอนนี้เธอมีครอบครัวที่มีความสุขและมีลูกสาวสองคน
คำแนะนำในคัมภีร์ไบเบิล:
“จงสวมความรัก
เพราะความรักเป็นสิ่งที่ผูกพันผู้คนให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันอย่างสมบูรณ์”—โคโลสี
3:14
4. มีจิตใจเข้มแข็ง
มีใครบ้างที่ไม่มีปัญหาในชีวิตเลย? คัมภีร์ไบเบิลบอกไว้ว่า มี
“เวลาร้องไห้” และ “เวลาไว้ทุกข์” (ปัญญาจารย์ 3:4 เวลาร้องไห้และเวลาหัวเราะเวลาคร่ำครวญและเวลาเต้นรำ*)
การมีจิตใจเข้มแข็งช่วยเราให้คิดบวกและก้าวเดินต่อไปแม้เจอปัญหา
ให้เรามาดูตัวอย่างของป้าแครอลกับป้ามิลเดรด
ป้าแครอลเป็นโรคกระดูกสันหลังเสื่อม
เบาหวาน หยุดหายใจขณะนอนหลับ และจอประสาทตาเสื่อมทำให้ตาข้างซ้ายบอด
ถึงจะเป็นอย่างนั้นป้าบอกว่า “ฉันพยายามไม่ท้อใจนานเกินไป
แม้ว่าบางครั้งฉันรู้สึกสงสารตัวเอง
แต่แทนที่จะคิดอย่างนั้นฉันขอบคุณพระเจ้าที่ฉันยังทำอะไร ๆ
ได้และทำเพื่อคนอื่นได้ด้วย”
ป้ามิลเดรดก็ป่วยหลายโรคด้วยทั้งโรคข้ออักเสบ
มะเร็งเต้านม และเบาหวาน แต่ก็เหมือนกับป้าแครอล
ป้ามิลเดรดพยายามไม่จมอยู่กับปัญหาของตัวเอง ป้าบอกว่า
“ฉันเรียนรู้ที่จะรักผู้คนและให้กำลังใจคนอื่นช่วงที่พวกเขาป่วย
การทำอย่างนั้นช่วยฉันด้วยเหมือนกัน ที่จริง เมื่อฉันให้กำลังใจคนอื่น
ฉันก็ลืมเรื่องของตัวเอง”
ถึงแม้ป้าสองคนนี้อยากได้รับการรักษาที่ดี
แต่ก็ไม่ได้หมกมุ่นกับปัญหาสุขภาพของตัวเองเท่านั้น
พวกเธอสนใจวิธีคิดและวิธีใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ผลก็คือ
ทั้งสองมีความสุขในใจที่ไม่มีใครแย่งไปได้ แถมยังเป็นที่รักของคนอื่นและเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนที่เจอปัญหาหรือการทดสอบหลายอย่างในชีวิต
คำแนะนำในคัมภีร์ไบเบิล:
“ผู้ที่ทนการทดสอบเรื่อยไปก็มีความสุข เพราะเมื่อพระองค์พอพระทัยเขา
เขาจะได้รับมงกุฎแห่งชีวิต”—(ยากอบ 1:12
คนที่อดทนกับความลำบาก*เรื่อยไปก็มีความสุข
เพราะเมื่อพระยะโฮวา*ยอมรับเขาแล้ว
พระองค์จะให้ชีวิตกับเขาเป็นรางวัล*ตามที่พระองค์สัญญาไว้ว่าจะให้กับคนที่รักพระองค์ )
เมื่อทำตามคำแนะนำในคัมภีร์ไบเบิล
สติปัญญาที่มาจากคัมภีร์ไบเบิลก็เป็นเหมือน “ต้นไม้แห่งชีวิตแก่คนนั้น ๆ
ที่ฉวยเอาพระองค์ไว้ได้ และทุกคนที่ยึดถือพระองค์ไว้นั้นก็จะมีความผาสุก” (สุภาษิต
3:13-18 คนที่พบสติปัญญาและมีความเข้าใจก็มีความสุข
14
เพราะได้สติปัญญาก็ดีกว่าได้เงินและมีสติปัญญา*ก็ดีกว่ามีทอง
15 สติปัญญามีค่ายิ่งกว่าปะการัง*ทุกสิ่งที่ลูกอยากได้ยังเทียบกับสติปัญญาไม่ได้เลย16 ที่มือขวาของสติปัญญามีชีวิตยืนยาวและที่มือซ้ายมีทรัพย์สมบัติและเกียรติยศ
17
แนวทางของสติปัญญาทำให้มีความสุข
บนทางนี้มีแต่ความสงบสุข
18 สติปัญญาเป็นต้นไม้ที่ให้ชีวิต คนที่ยึดมั่นในสติปัญญาจะมีชีวิตและมีความสุข)
คุณน่าจะลองค้นหาความจริงที่ว่านี้ด้วยตัวคุณเอง โดยเอาคำแนะนำจากคัมภีร์ไบเบิลไปใช้ในชีวิต
ที่จริง “พระเจ้าผู้มีความสุข”
ที่ดลใจให้เขียนหนังสือศักดิ์สิทธิ์นี้อยากให้คุณมีความสุขด้วย—( 1 ทิโมธี 1:11
ตามที่บอกไว้ในข่าวดีที่ยอดเยี่ยมซึ่งพระเจ้าผู้มีความสุขฝากไว้กับผม
)
Jw.org
‘จงแสดงความขอบคุณ’
ข้อความนี้อยู่ในหนังสือโคโลสี
3:15
ขอให้สันติสุขจากพระคริสต์เป็นพลังควบคุมใจพวกคุณ
เพราะพวกคุณถูกเรียกมาเพื่อให้เป็นอวัยวะในร่างกายเดียวกันที่มีสันติสุข
และให้แสดงความขอบคุณด้วยซึ่งเป็นคำแนะนำจากคัมภีร์ไบเบิลที่ยอดเยี่ยมจริง ๆ!
จากการศึกษาวิจัยพบว่า
การมองชีวิตในแง่บวกและแสดงความขอบคุณที่คนอื่นมีน้ำใจต่อเราจะทำให้เรามีความสุขมากขึ้น
จงขอบพระคุณในทุกกรณี
เพราะนั่นแหละเป็นพระประสงค์ของพระเจ้า สำหรับพวกท่านในพระเยซูคริสต์ (1เธสะโลนิกา
5:18)
ในภาวะวิกฤติของชีวิต
บางทีตัวเราเองก็กำลังถามพระเจ้าว่า พระองค์ทรงประสงค์อะไรจึงให้เราพบกับความยากลำบากหรือ? หากอัครทูตเปาโลอยู่ที่นี่ด้วย ท่านก็คงจะบอกเราอย่างที่ท่านบอกพี่น้องคริสเตียนที่เมืองเธสะโลนิกาว่า
“จงขอบพระคุณในทุกกรณี” เรายังจะมีใจขอบพระคุณในช่วงเวลาที่มืดมิดได้อย่างไร?
ประการแรก หากเราอยู่ในพระเยซูคริสต์ เราก็อยู่ในพระประสงค์ของพระเจ้า
เมื่อสิ่งต่างๆ ดำเนินไปผิดทิศทาง เรามักจะคลำหาการชี้นำของพระเจ้า
เราสงสัยว่าเมื่อเราได้มาถึงทางแยกของชีวิตนั้น เราได้เลือกทางถูกหรือไม่
เราได้เตลิดออกนอกแผนการของพระเจ้าหรือไม่ ความหมายที่สำคัญตรงนี้ก็คือ
หากเรารู้ว่าเราอยู่ในแผนการของพระเจ้า
เราก็ไม่่น่าจะอิดโรยอ่อนกำลังหรือทนทุกข์กับความกังวลใดๆ
แต่ทุกครั้งที่เราพบกับความทุกข์ยากลำบาก เราก็มักจะสงสัยแผนการของพระเจ้า
อัครทูตเปาโลสอนเราชัดเจนว่า หากเราอยู่ในพระเยซูคริสต์
เราก็อยู่ในพระประสงค์ของพระเจ้า ถ้าเรากำลังสงสัยพระประสงค์ของพระเจ้า
เราไม่ควรมองดูแค่สถานการณ์ว่าพระเจ้าจะทรงนำชีวิตเราไปทางไหน ตรงกันข้าม
เราควรจะมองดูที่ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับพระเยซูคริสต์
หากความรักของเราต่อพระเยซูคริสต์ค่อยๆ ลดลง
แสดงว่าเราอยู่นอกพระประสงค์ของพระเจ้าไม่ว่าสถานการณ์รอบตัวเราจะเป็นอย่างไร (แม้ว่าอาจจะดูดีหรือไม่ดี
- สมาคมพระคริสตธรรมไทย)
ประการที่สอง ในพระเยซูคริสต์
เราตระหนักว่าพระเจ้าทรงเลือกเรา
ไม่ใช่เพราะเรามีคุณงามความดีสมควรได้รับพระกรุณาของพระเจ้า
แต่เป็นเพราะพระคุณอันบริบูรณ์ของพระเยซูคริสต์สำหรับเราต่างหาก
เราอยู่ในพระองค์เพราะพระคุณของพระองค์อยู่เหนือเรา
นี่คือประเด็นเริ่มแรกที่ช่วยให้เราตระหนักว่าเราไม่ได้มีสิทธิอะไรที่จะเรียกร้องจากพระเจ้าว่าเราจะ
“ต้อง” มีคุณความดีหรือมีสภาพชีวิตที่น่าพึงพอใจ
ชีวิตของเราต้องพึ่งพิงพระเมตตาพระเจ้าเท่านั้น พระองค์ทรงเลือกที่จะโอบอุ้มเราไว้
ดังข้อพระคัมภีร์ที่ว่า พระองค์ผู้ไม่ทรงหวงพระบุตรของพระองค์เอง
แต่ประทานพระบุตรนั้นเพื่อเราทุกคน
ถ้าเช่นนั้นพระองค์จะไม่ประทานสิ่งสารพัดให้เราด้วยกันกับพระบุตรนั้นหรือ? (โรม8:32)
หากพระเจ้าประทานพระบุตรของพระองค์แก่เรา
พระองค์ก็จะประทานสิ่งดีที่สุดแก่เราด้วยกันกับพระบุตรนั้น ฉะนั้น
เราจึงขอบคุณพระเจ้าสำหรับพระคุณเช่นนั้น
ประการสุดท้าย เราขอบพระคุณพระเจ้า
เพราะพระองค์ไม่ได้ทรงละทิ้งลูกของพระองค์ พระคัมภีร์เขียนไว้ว่า
……แม้ความตายหรือชีวิต หรือบรรดาทูตสวรรค์
หรือเทพเจ้าหรือสิ่งซึ่งมีอยู่ในปัจจุบันนี้ หรือสิ่งซึ่งจะมีในภายหน้า
หรือฤทธิ์เดชทั้งหลาย หรือซึ่งสูง หรือซึ่งลึก หรือสิ่งใดๆ อื่น
ที่ได้ทรงสร้างแล้วนั้น จะไม่สามารถทำให้เราขาดจากความรักของพระเจ้า
ซึ่งมีอยู่ในพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเราได้ (โรม 8:38-39) ไม่ว่าเราจะอยู่ในสถานการณ์เช่นไร จะมีสิ่งใดรบกวนหรือบีบคั้นเรา
พระเจ้าก็จะทรงอยู่กับเรา และถ้าเราอยู่ในความรักของพระเจ้า
เราก็อยู่ในพระเยซูคริสต์
พระเจ้าจะไม่มีวันทิ้งเราให้ต้องพึ่งตนเองหรือพึ่งทางเลือกสุดท้ายของมนุษย์
เราสามารถจะติดต่อและรับความช่วยเหลือของพระเจ้าได้
อัครทูตเปาโลยืนยันว่า... เรามีชัยเหลือล้น โดยพระองค์ผู้ทรงรักเราทั้งหลาย (โรม
8:37) ในยามยากลำบาก ให้เรามองไปยังพระเยซูคริสต์ อนาคตของเราอยู่ในพระองค์
เหตุการณ์ที่ดูเลวร้ายก็อยู่ในพระหัตถ์ของพระองค์
และอนาคตสดใสที่รอเราอยู่ก็อยู่ในพระองค์ และเมื่อเราอยู่ในพระองค์
เราก็สามารถมีใจขอบพระคุณได้ในทุกกรณี ดังนั้น ทุกปีก็เป็นปีใหม่ที่แสนสุขได้
จากวารสาร Vantage
Point, March 2003
ขอขอบพระคุณ Dr.
Peter Chao และ Eagles Communications ประเทศสิงคโปร์
thaibible.or.th
ให้เราเริ่มต้นทุกวันด้วยคำขอบคุณพระเจ้า
จงอย่ากังวลในสิ่งใด
จงอธิษฐานสำหรับสิ่งต่าง ๆ
และจงขอบคุณ ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นอะไร
เราคุ้นเคยกับการภาวนาขอบคุณพระเจ้าที่โต๊ะอาหาร
แต่เราเคยคิดถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการทำอย่างนั้น
ตั้งแต่เริ่มต้นทุกวันบ้างไหม ?
การฝึกเช่นนั้นจะช่วยนำเราให้มีท่าทีแห่งความรัก การให้อภัย
และความมีเมตตา ทั้งยังช่วยให้เราระลึกได้ว่าที่จริงแล้ว แม้แต่ในขณะนี้
ความสุขก็ห้อมล้อมเราอยู่...
เริ่มต้นวันนี้ ด้วยการขอบคุณพระเจ้า
สำหรับเรื่องธรรมดา ๆ ในชีวิตที่นำความสุขยิ่งใหญ่มาให้
ขอบคุณพระองค์สำหรับงานอันสุจริต และมีประโยชน์
ตลอดจนทักษะความสามารถในการทำงานนั้น ๆ
ขอบคุณพระองค์สำหรับสิ่งสารพัดที่พระองค์ประทานให้
เพื่อตอบสนองความจำเป็นต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของคุณ
ขอบคุณพระองค์สำหรับความรักของครอบครัวและเพื่อน ๆ
และขอบคุณพระองค์สำหรับลมหายใจแห่งชีวิต
การกล่าวขอบคุณเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการนับพระพรของคุณ
บทความจาก : นิตยสารแม่พระยุคใหม่