วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2565

วิธีช่วยลูกๆวัยรุ่นศึกษาพระคัมภีร์

 


วิธีช่วยลูกๆวัยรุ่นศึกษาพระคัมภีร์

Katherine Forster

การที่ฉันมีแม่ที่จบปริญญาด้านวรรณกรรมย่อมมีประโยชน์อย่างแน่นอน

แม่แนะนำให้ฉันรู้จักกับเจน ออสเตนผ่านมินิซีรีส์ BBC Pride and Prejudice ฉันกำลังอ่านนิยายของ C.S. Lewis เมื่อฉันอายุสิบเอ็ดขวบ เมื่อฉันถามว่าแม่ว่าฉันควรอ่านหนังสือเล่มใดต่อไป แม่จะชี้ไปที่หิ้งที่เต็มไปด้วยบรอนเตและดิกเก้นส์ แม่มักจะท้าทายให้ฉันอ่านหนังสือในระดับที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ 

 

ประสบการณ์นั้นส่งผลอย่างลึกซึ้งต่อวิธีที่ฉันอ่าน เขียน และโต้ตอบกับวรรณกรรม แต่สิ่งที่ส่งผลกระทบกับฉันลึกซึ้งตั้งแต่ยังเป็นเด็กและวัยรุ่นคือวิธีที่ฉันถูกท้าทายในการอ่านพระคัมภีร์ มันดูแตกต่างไปในแต่ละช่วงอายุ แต่ทั้งพ่อและแม่ของฉันท้าทายฉันและพี่น้องของฉันให้ต่อต้านกระแส(ที่อาจนำเราออกห่างจากพระเจ้า) รับผิดชอบหน้าที่ และมีส่วนร่วมกับพระคำในระดับที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น แม้ว่าบางครั้งเราจะไม่ต้องการทำก็ตาม

 

ลูกๆวัยรุ่นของเราต้องถูกท้าทายบ้าง เราต้องยึดมาตรฐานที่สูงกว่าและต้องให้ความคาดหวังที่สูงกว่าวัฒนธรรมที่โลกามีให้เรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชีวิตทางฝ่ายวิญญาณของเรา เราต้องท้าทายลูกๆของเราให้รักพระคำ ใช้เวลากับพระคำ ศึกษาให้ลึกและค้นพบความจริงที่มีอยู่ในพระคำ ต่อไปนี้คือวิธีปฏิบัติสามวิธีที่คุณสามารถทำได้สำหรับวัยรุ่นของคุณ

 

1. ถามคำถามเพื่อตอบ

มีอยู่ช่วงหนึ่ง แม่ของฉันแจกสมุดโน้ตให้กับฉันและพี่น้องคนละเล่ม และบอกให้เราเขียนแยกออกเป็นสามส่วน แต่ละส่วนนำโดยคำถามต่อไปนี้:

ฉันเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระเจ้า

ฉันเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับตัวเองบ้าง?

ฉันควรทำอย่างไรต่อไปหลังจากที่อ่านพระคำของพระเจ้า?

หลังจากที่เราอ่านพระคัมภีร์บทหนึ่งแล้ว เราจะเริ่มเขียนคำตอบของคำถามแต่ละข้อ 

 

การถามคำถามหลังการอ่านจะช่วยบังคับให้คุณนึกถึงสิ่งที่คุณกำลังอ่าน คำถามช่วยทำให้คุณคิดช้าลงและดึงคุณเข้าสู่เนื้อเรื่องได้ดีขึ้น มันยังช่วยยกระดับของความรับผิดชอบได้ดี คือคุณไม่สามารถอ่านข้ามบทไปและบอกว่าคุณได้อ่านมันแล้ว

 

เมื่อเป็นเด็ก ฉันมักจะข้ามไปที่คำถามสุดท้ายเสมอ เช่นถามว่า: “แล้วฉันควรทำอย่างไรต่อ” แต่พระคัมภีร์ไม่ได้เกี่ยวกับเราเป็นหลัก แต่เกี่ยวกับสิ่งที่พระเจ้ามอบให้เรา และหากคุณเริ่มต้นด้วยคำถามที่ว่า “วันนี้ฉันได้เรียนรู้อะไรเกี่ยวกับพระเจ้า”  มันจะช่วยให้คุณให้ความสำคัญกับการอ่านพระคัมภีร์ได้อย่างเหมาะสม

 

2. วางแผนการอ่านแก่พวกเขา

เหตุผลหนึ่งที่เรามักล้มเหลวในการอ่านพระคัมภีร์คือเราไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นจากตรงไหน ฉันจะเริ่มต้นที่จุดเริ่มต้นเลยดีไหมหรือยังไง? หรือจะข้ามไปที่บทเลวีนิติเลยได้ไหม? หรือฉันอาจจะอ่านบทสดุดีที่ฉันชอบวนไปวนมา แค่นั้นดีไหม.?.

 

หากไม่มีแผนงานที่จะทำตาม มันก็ง่ายที่เราจะข้ามไปอ่านยังข้อพระคัมภีร์ที่เราโปรดปรานเท่านั้น หรือไม่เราก็อาจจะทิ้งพระธรรมเล่มใดเล่มหนึ่งไปเลย  

 

การวางแผนอ่านพระคัมภีร์สามารถช่วยให้เราหลีกเลี่ยงปัญหาทั้งสองนี้ได้ การวางแผนที่ดีจะนำลูกๆของเราอ่านพระคัมภีร์ได้จนจบทั้งเล่ม พระธรรมแต่ละเล่มจะประกอบด้วยเรื่องราวต่างๆ ทุกช่วงทุกตอนต่างมีการเชื่อมต่อกันได้ดีเกี่ยวกับเรื่องราวของการไถ่บาปได้อย่างครอบคลุม การวางแผนการอ่านพระคัมภีร์จึงสามารถช่วยให้คุณมองเห็น "ภาพรวม" ของเรื่องราวที่เกิดขึ้นในพระคัมภีร์ได้ดีขึ้น

 

มีแผนการอ่านพระคัมภีร์ดีๆ มากมายให้เราเลือก ซึ่งในแต่ละวัยก็จะแตกต่างกัน คุณต้องช่วยลูกๆวัยรุ่นของคุณหาสิ่งที่ใช่สำหรับพวกเขา และหลีกเลี่ยงการทำให้มันเป็นกฎบังคับ  การอ่านพระคำในแต่ละวันเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้พวกเขารู้ว่า ว่าพระเจ้ารักเรามากแค่ไหน  แน่นอนพระองค์รักเรา การตีสอนเป็นส่วนสำคัญของชีวิตคริสเตียนของเรา การตีสอนควรเป็นความรู้สึกที่เรารู้ว่าเราได้รับการกระตุ้นจากความรักของพระเจ้ามากกว่าความรู้สึกผิดหรือความละอาย

 

ส่งเสริมให้ลูกๆวัยรุ่นของคุณอยากมีส่วนร่วมในการเป็นหนึ่งเดียวกันกับพระเจ้าและรักพระคำของพระเจ้ามากกว่าการทำเพียงเพราะรู้สึกผิด คุณอาจลองเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อแบ่งปันเรื่องราวชีวิตของการเดินทางแห่งความเชื่อของคุณร่วมกับพวกเขาด้วยก็ได้!

 

3. ให้ความรับผิดชอบแก่พวกเขา

แม่ของฉันเคยบอกให้ฉันสอนแนวคิดทางคณิตศาสตร์ถึงสิ่งที่ฉันกำลังเรียนรู้ให้เธอฟัง


เมื่อมองย้อนกลับไป ณ จุดนั้น ฉันไม่แน่ใจว่าใครในพวกเรากำลังเรียนรู้มากกว่ากัน  แต่ที่แน่ๆคือแม่และฉันไม่ชอบวิชาคณิตศาสตร์ แต่ที่แน่ๆคือฉันรู้ว่าฉันเข้าใจคณิตศาสตร์ได้ดีขึ้นเมื่อฉันต้องอธิบายให้กับใครอีกคนฟัง

 

นักปราชญ์บางคนเคยชี้ให้เห็นว่าเมื่อคุณสามารถสอนบางสิ่งให้คนอื่นได้ คุณก็รู้ว่าคุณได้เรียนรู้สิ่งนั้นจริงๆ ในทำนองเดียวกัน การให้โอกาสลูกๆวัยรุ่นของคุณได้สอนหรือได้แบ่งปันในสิ่งที่พวกเขากำลังเรียนรู้อาจเป็นความท้าทายและแรงจูงใจที่ดีในการอ่านและศึกษาพระคัมภีร์ให้กับพวกเขา 

 

ไม่ว่าจะเป็นการมอบหมายให้พวกเขาเป็นผู้นำในการอุทิศตนในครอบครัว หรือสอนคัมภีร์ในวันอาทิตย์ให้กับเด็กที่เล็กกว่าที่โบสถ์ของคุณ หรือช่วยเหลือเกี่ยวค่ายคำสอนฤดูร้อนสำหรับเด็กเล็ก ท้าทายลูกๆวัยรุ่นของคุณไปร่วมกิจกรรมเพื่อสร้างผู้อื่นในพระคำของพระเจ้า

 

เห็นได้ชัดว่าระดับความรับผิดชอบจะแตกต่างกันไปตามระดับวุฒิภาวะของวัยรุ่น  วัยรุ่นจะเติบโตได้เมื่อเราถูกท้าทายและได้รับผิดชอบ มันอาจจะง่ายพอๆ กับการขอให้พวกเขาแบ่งปันบางสิ่งกับครอบครัวตัวเอง แต่เราต้องให้โอกาสพวกเขาเรียนรู้พระคำได้ดีขึ้นโดยการสอนและรับใช้ผู้อื่น


ทั้งหมดนี้เป็นวิธีที่พ่อแม่ของฉันช่วยนำฉันและพี่น้องให้ปฏิสัมพันธ์ของเรากับพระคัมภีร์ที่เติบโตขึ้นมา อย่างไรก็ตาม มีบางสิ่งที่จะท้าทายวัยรุ่นของคุณมากกว่าความรักที่มีต่อพระคำ คือการถามพวกเขาว่า "พวกเขากำลังเรียนรู้อะไรในการอ่านพระคัมภีร์และให้แบ่งปันสิ่งที่พระเจ้ากำลังสอน" บางทีพ่อแม่อาจจะเข้าไปมีร่วมในการอ่านและศึกษาพระคำและแสดงให้พวกเขาเห็นว่าพระคำของพระเจ้าก็เป็นส่วนสำคัญในชีวิตของคุณเช่นกัน และทำให้เขาเห็นว่ามันสำคัญอย่างไรกับคุณด้วย"

 

สุดท้าย อย่าท้อแท้หากวัยรุ่นของคุณไม่ต้องการทำตาม หากพวกเขาไม่มีความปรารถนาที่จะเผชิญกับความท้าทายนี้ มีหลายฤดูกาลเกิดขึ้นตลอดช่วงเวลาวัยรุ่นของฉัน และด้วยการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านพระคัมภีร์จากพ่อแม่ซึ่งเป็นธรรมเนียมของบ้านเราตลอดหลายปีที่ผ่านมา (ถึงแม้บางครั้งฉันจะไม่เต็มใจอ่านพระคัมภีร์บ้าง) แต่พระคำของพระเจ้าก็ยังคงทำงานในชีวิตของฉัน พระเจ้าสามารถใช้พระคำของพระองค์ในทุกหัวใจ แม้แต่คนที่ไม่แยแสหรือดื้อรั้น อย่ายอมแพ้ แต่ให้คุณอธิษฐานเพื่อลูกๆต่อไป และท้าทายวัยรุ่นของคุณด้วยพระคำของพระเจ้า เพราะพระเจ้าสามารถใช้พระคำนั้นในแบบที่คุณคาดไม่ถึง

ขอขอบคุณแหล่งที่มาของบทความหนุนใจ

reviveourhearts

ติดตามอ่านบทความหนุนใจอื่นๆได้ที่ kattcrewslovegod.blogspot


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ข้อพระคัมภีร์ประจำวันและการอุทิศตน – โคโลสี 2:7

  ข้อพระคัมภีร์ประจำวันและการอุทิศตน – โคโลสี 2:7   จงหยั่งรากและก่อร่างสร้างขึ้นในพระองค์ จงมั่นคงในความเชื่อตามที่ได้รับการสอนมาแล้ว และ...