7 ขั้นตอนในการเติบโตผ่านการให้อภัยในชีวิตสมรส
เมื่อการแต่งงานเป็นเรื่องยากและเราต้องทำงานหนักในการขุดลึกลงไปเพื่อค้นหาปัญหาที่ต้นตอ
การให้อภัยมักจะอยู่ที่ใจ การให้อภัยในการแต่งงานเป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุด – เป็นนิสัยขั้นพื้นฐาน
– ที่เราต้องปลูกฝังมันเพื่อที่จะย้ายจากแค่ความอยู่รอดไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองในชีวิตการแต่งงาน!
การให้อภัยในการแต่งงานคืออะไร? มีสามสิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการให้อภัย การให้อภัยเป็นทางเลือก
การให้อภัยเป็นกระบวนการ การปฏิเสธการให้อภัยนำไปสู่ผลที่ตามมา
การให้อภัยมีความสำคัญอย่างไรในการแต่งงาน?
ไม่เป็นความลับเลยที่ว่าชีวิตการแต่งงานเป็นงานยาก และเป็นหนึ่งในอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดที่ฉันเผชิญ
- วันแล้ววันเล่า - คือการล่อลวงที่จะไม่ให้อภัยกัน มีหลายวันที่ฉันทำหน้าบึ้งเกี่ยวกับการให้อภัยสามีของฉัน
หนึ่งในการให้อภัยที่ฉันโปรดปรานคือคำพูดอ้างอิงเกี่ยวการแต่งงานที่ว่า:
“การได้รับประสบการณ์ที่เจ็บปวดก็เหมือนกับการข้ามบันไดลิง
คุณต้องปล่อยวางเพื่อที่จะก้าวไปข้างหน้า” — ซี.เอส. ลูอิส
การให้อภัยก็เหมือนกันมาก เราต้องปล่อยวางความเจ็บปวดเพื่อที่เราจะก้าวไปข้างหน้าได้
ความสำคัญของการให้อภัยในการแต่งงาน
เมื่อฉันเข้าใจถูกต้องและให้อภัย – ทุกความผิด – การแต่งงานของเราก็จะเจริญรุ่งเรือง
โอ้ ฉันหวังว่าฉันจะสามารถทำมันให้ถูกต้องได้ทุกครั้งนะ!
บ่อยครั้งที่ฉันล้มเหลวและยึดมั่นในความผิดที่มีบางสิ่งเลวร้ายเกิดขึ้น กำแพงนี้ถูกสร้างขึ้นระหว่างหัวใจของฉันกับเขา
ไม่เพียงแต่จะมีกำแพงกั้นความใกล้ชิดระหว่างฉันกับสามีของฉัน
แต่ยังมีกำแพงที่กั้นระหว่างฉันกับพระเจ้าอีกด้วย!
พระเจ้ามีคำพูดมากมายเกี่ยวกับการให้อภัย...
ข้อพระคัมภีร์เกี่ยวกับการให้อภัยในชีวิตการแต่งงาน
มีเกือบ 200 ข้อพระคัมภีร์เกี่ยวกับการให้อภัยและทุกข้อสามารถนำไปใช้กับชีวิตการแต่งงานได้!
เราจะยกตัวอย่างมาให้ดูเพียงไม่กี่ข้อ
“แต่ถ้าท่านไม่ยอมอภัยบาปผิดของผู้อื่นพระบิดาก็จะไม่อภัยบาปผิดของท่านเช่นกัน”
-(มัทธิว 6:15)
‘ขอให้เจ้าไปบอกโยเซฟว่า เราขอร้องให้เจ้าอภัยบาปอันเลวร้ายที่พวกพี่ได้ทำไม่ดีกับเจ้า’ บัดนี้ขอท่านกรุณาให้อภัยบาปของผู้รับใช้พระเจ้าของบิดาของท่านเถิด” เมื่อโยเซฟได้ฟังดังนั้นก็ร้องไห้” -(ปฐมกาล 50:17 )
“21แล้วเปโตรมาทูลถามพระเยซูว่า “พระองค์เจ้าข้า
หากพี่น้องทำบาปต่อข้าพระองค์ ข้าพระองค์ควรจะยกโทษให้เขากี่ครั้งดี? สักเจ็ดครั้งหรือ?”
22พระเยซูตรัสว่า “เราบอกท่านว่าไม่ใช่เจ็ดครั้ง แต่เจ็ดสิบเจ็ดครั้ง”
-(มัทธิว 18:21-22)
เราเห็นอะไรจากการให้อภัยในข้อพระคัมภีร์?
การให้อภัยมีประโยชน์หลายประการ โดยเฉพาะการให้อภัยในชีวิตการแต่งงาน!
การให้อภัยช่วยปลดปล่อยคุณจากภาระของความขุ่นเคืองและความขมขื่น
การให้อภัยอย่างอิสระเป็นช่องทางการสื่อสารที่เปิดกว้างระหว่างคุณกับพระเจ้า
การให้อภัยทำให้หัวใจของคุณยังคงอ่อนโยน
ส่งเสริมการสื่อสารที่เปิดกว้าง ความรัก และความเคารพในความสัมพันธ์ของคุณ
คุณอาจจะถามว่า “การให้อภัยในชีวิตการแต่งงานคืออะไร?”
มีสามสิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับการให้อภัย
การให้อภัยเป็นทางเลือก
การให้อภัยเป็นกระบวนการ
การปฏิเสธการให้อภัยนำไปสู่ผลที่ตามมา
การให้ก็อภัยเหมือนกับที่เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับความรักคือมันเป็นทางเลือก*
ทุกครั้งที่เราเห็นการให้อภัยในพระคัมภีร์ เราจะได้ห็นตัวอย่างของบางคนที่ตัดสินใจเลือกว่าพวกเขาจะยังคงโกรธและขมขื่นเกี่ยวกับความเจ็บปวดนั้นต่อไป หรือคุณจะได้เห็นตัวอย่างของบางคนที่เลือกการปล่อยและวางความเจ็บปวดไว้กับพระเจ้าและก้าวไปข้างหน้า
2 การให้อภัยคือกระบวนการ
เป็นเรื่องยากที่ฉันจะพูดว่า "ฉันให้อภัยคุณนะ" ฟังดูนี่อาจฟังเหมือนจุดสิ้นสุดของกระบวนการ และอาจเป็นจุดเริ่มต้นของการคืนดีกับคนคนนั้น
แต่จริงๆแล้วความเจ็บปวดยังคงอยู่ เพราะว่าความเจ็บปวดมันไม่ได้หายไปด้วยคำพูด
ในการให้อภัยอย่างแท้จริง
ฉันต้องผ่านกระบวนการที่ละเอียดถี่ถ้วน ฉันต้องดำเนินการใน 7 ขั้นตอนและฉันจะพูดถึงมันในอีกสักครู่
แต่ประเด็นสำคัญคือคุณต้องให้เวลาและอาศัยพระคุณตลอดกระบวนการ ความเจ็บปวดบางอย่างอาจจะเคลื่อนไปได้ในชั่วขณะ
แต่บางอย่างอาจต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะผ่านพ้นไป มันเพียงแค่อยู่ในกระบวนการ
การให้อภัยนั้นยากก็จริง... แต่มันคืออิสระภาพ
คุณอาจรู้สึกดีขึ้นในตอนแรกที่ปฏิเสธที่จะให้อภัย ฉันเข้าใจแล้วในเรื่องนี้
เป็นเวลาหลายปีที่ฉันมีเหตุผลสำคัญสองประการที่จะไม่ให้อภัยในชีวิตการแต่งงาน
ความจริงก็คือ การปฏิเสธการให้อภัยทำให้เรารู้สึกดีขึ้นช่วงแรกแต่จะเจ็บปวดมากกว่าในระยะยาว
เมื่อฉันปฏิเสธที่จะให้อภัยสามีของฉันสำหรับความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อยหรือใหญ่
และแล้วความขุ่นเคืองใจ -ความน้อยใจมักจะตามมา
ใช่แล้ว ความขุ่นเคืองเล็ดลอดออกมาโดยที่เราไม่รู้ตัว และมันอยู่นานกว่าที่คุณต้องการ
และมันจะขโมยสันติสุขจากคุณไปมากกว่าที่คุณอนุญาต!
เพื่อเอาชนะความขุ่นเคืองในการแต่งงาน
คุณต้องทำงานผ่านกระบวนการให้อภัยอย่างขยันขันแข็งมากขึ้น
คุณต้องเข้าใจถึงผลของความขุ่นเคืองและสิ่งอื่นๆที่จะตามมา ไม่ว่าจะเป็นความขมขื่นที่มาพร้อมกัน หรือหากคุณปล่อยทิ้งไว้นานๆ ไม่ใช่แค่คุณต้องยอมรับผลของมันกับตัวคุณเอง แต่ต่อพระเจ้าด้วย
ความขมขื่นและความขุ่นเคืองเมื่อจับคู่กับการไม่ให้อภัยก็จะมีลักษณะดังนี้:
-เกิดกำแพงกั้นระหว่างคุณกับคู่สมรสของคุณ
-เกิดความเย็นชา
-เกิดการละเลยความเจ็บปวดของกันและกัน
-เกิดวิกฤติสำคัญจะเกิดเมื่ออีกฝ่ายพยายามเชื่อมต่อความสัมพันธ์แต่คุณทำเมิน
-เกิดคำติชมถึงของความพยายามของอีกฝ่ายที่พยายามจะละลายความเย็นชา
-เกิดความคิดเชิงลบเกี่ยวกับอีกฝ่ายอย่างต่อเนื่อง
-เกิดรู้สึกโกรธจัดอย่างไม่มีเหตุผล
-เกิดการถอนเงินในบัญชี
-เกิดภาวะซึมเศร้า
-เกิดการแยกกันอยู่
-เกิดการหย่าร้าง…
นี่คือสิ่งที่ฉันต้องพูดกับตัวเองก่อนเลย เพราะนี่เป็นสัญญาณเตือนที่สำคัญที่ฉันเห็นในตัวฉันเองเมื่อฉันทิ้งปัญหาเหล่านี้ไว้นานเกินไปและปฏิเสธที่จะให้อภัยคู่สมรสของฉัน
ศัตรูจะดึงดูดสายตาคุณถึงข้อบกพร่องของสามีคุณ พระเจ้าจะดึงสายตาของคุณมาที่พระเยซูที่ยืนอยู่ต่อหน้าสามีของคุณอย่างชอบธรรม
เห็นเขาอย่างที่พระเจ้าเห็นและการแต่งงานของคุณจะเจริญรุ่งเรือง!
คุณจะให้อภัยคู่สมรสที่ทำร้ายคุณได้อย่างไร?
ฉันจะใช้กระบวนการที่แบบเดียวกันสำหรับความเจ็บปวดนี้เช่นกัน
และต่อไปนี้คือหัวข้อเฉพาะบางอย่างที่ฉันเคยได้ยินจากคุณผู้อ่าน :
บอกฉันทีว่าฉันจะให้อภัยสามีของฉันที่ทรยศได้อย่างไร
มีการให้อภัยในการล่วงประเวณีในการแต่งงานหรือไม่?
การให้อภัยเป็นสิ่งที่ท้าทายเมื่อความผิดนั้นใหญ่หลวง แต่จำไว้ว่าการให้อภัยนั้นมีไว้สำหรับคุณก่อนเป็นอันดับแรก เพราะ
การให้อภัยจะรักษาใจคุณ
การให้อภัยฟื้นฟูความสัมพันธ์ของคุณกับพระเจ้า
การไม่ให้อภัยจะทำให้คุณติดกับดักแห่งความทุกข์
แต่การรู้ให้อภัยทำให้คุณติดอยู่ในศรัทธาของคุณ!
การเรียนรู้ที่จะให้อภัยคู่ของคุณที่ทำร้ายคุณจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับภรรยาที่นับถือพระเจ้าทุกคน!
“ขโมยมาเพียงเพื่อขโมย ฆ่า และทำลาย; เรามาเพื่อพวกเขาจะได้ชีวิตและมีอย่างบริบูรณ์”
(ยอห์น 10:10)
แผนการของพระเจ้าคือชีวิตที่บริบูรณ์ การปฏิเสธการให้อภัยนำไปสู่ความขมขื่นและความขุ่นเคืองและหยุดชีวิตที่อุดมสมบูรณ์
พระวิญญาณบริสุทธิ์สามารถช่วยให้เราให้อภัยและกลับไปสู่ชีวิตที่สมบูรณ์ได้
ขั้นตอนที่ 1 หยุดเล่าเรื่องของคุณในฐานะเหยื่อ
“เปล่าเลย ในสถานการณ์ทั้งปวงนี้เราเป็นยิ่งกว่าผู้พิชิตโดยทางพระองค์ผู้ทรงรักเราทั้งหลาย”
(โรม 8:37 )
หยุดการเล่าเรื่องความผิดซ้ำๆในใจของคุณในฐานะเหยื่อ
ความคิดของคุณกำหนดทัศนคติของคุณ เพื่อให้คุณได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างออกไปในอนาคต สิ่งที่ได้รับคือการเยียวยาทั้งหมด และความศักดิ์สิทธิ์ สิ่งนี้เราต้องเปลี่ยนแปลงตัวเองให้ได้
มีสิ่งไม่ดีเกิดขึ้นกับคุณ คุณบาดเจ็บหรืออาการสาหัสหรือไม่? โปรดคิดให้รอบคอบเพราะคุณจะต้องให้อภัยในสิ่งนั้นโดยเฉพาะ
จดรายการและระบุการบาดเจ็บของแต่ละครั้งและสังเกตว่าเป็นอย่างไร
คุณจะต้องอธิษฐานเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะ ดังนั้นจงใช้เวลาของคุณที่นี่ในการอธิษฐานเรื่องนี้
“เพราะว่าพวกท่านทุกคนที่รับบัพติศมาเข้าในพระคริสต์ก็สวมชุดของพระคริสต์”
-(กาลาเทีย 3:27 )
“เพราะเราจะเมตตาต่อความชั่วช้าของเขา
และเราจะไม่จดจำบาปของพวกเขาอีกต่อไป”
-(ฮีบรู 8:12 )
นั่นคือวิธีที่พระเยซูปฏิบัติต่อเรา
ฉันทำบาปและทำให้พระองค์ขุ่นเคืองในฐานะพระเจ้าผู้บริสุทธิ์ของฉันบ่อยแค่ไหน? ถึงกระนั้นพระองค์ก็ยังให้อภัยฉัน และพระคัมภีร์รับรองกับฉันว่าเมื่อพระเจ้าทอดพระเนตรมาที่ฉัน
พระองค์ทรงเห็นว่าฉันอยู่ในความชอบธรรมของพระเจ้า พระองค์เห็นคุณค่าของฉันแม้ว่าฉันจะทำให้พระองค์ขุ่นเคืองอยู่ทุกวัน!
ขั้นตอนที่ 4 ไกล่เกลี่ยกับผู้กระทำผิดของคุณ
ทางโลก คุณอาจเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า
'จงรักเพื่อนบ้านและเกลียดชังศัตรู'
แต่พระเยซูบอกเราทั้งหลายว่า จงรักศัตรูของท่าน
และอธิษฐานเผื่อผู้ที่ข่มเหงท่าน เพื่อท่านจะได้เป็นบุตรของพระบิดาของท่านผู้สถิตในสวรรค์
เพราะพระองค์ทรงให้ดวงอาทิตย์ขึ้นเหนือความชั่วและความดี
และทรงให้ฝนตกลงมาบนแผ่นดินโลก ชอบธรรมและอธรรม
เพราะถ้าท่านรักคนที่รักท่าน ท่านจะได้บำเหน็จอะไร? แม้แต่คนเก็บภาษีเองก็ไม่ทำเช่นเดียวกัน? ถ้าคุณทักทายแต่พี่น้องของคุณ
คุณได้ทำอะไรมากไปกว่าคนอื่นหรือ? แม้แต่คนต่างชาติเขาก็ไม่ทำเช่นเดียวกันหรือ?
เพราะฉะนั้น เจ้าจะต้องดีพร้อม
ดังที่พระบิดาผู้สถิตในสวรรค์ของเจ้าทรงดีพร้อม” (มัทธิว 5:43-48 )
พระเยซูบอกให้เราอธิษฐานเพื่อศัตรูของเรา เป็นการยากที่จะโกรธคนที่คุณกำลังอธิษฐานและขอพรให้เขา
ฉันรู้ว่ามีหลายครั้งที่ฉันเห็นคู่สมรสของฉันเป็นศัตรู ดังนั้นวิธีนี้จึงเหมาะสมมาก
คุณเคยมองคู่สมรสของคุณเป็นศัตรูหรือไม่? ถ้าเป็น จงนำความรู้สึกนี้ไปหาพระเจ้าและขอให้พระองค์ช่วยคุณให้มองเห็นชายคนนั้นอย่างที่พระองค์ทรงเห็นเขา
พระเจ้าจะให้มุมมองใหม่แก่คุณในขณะที่คุณกำลังอธิษฐานเผื่อพวกเขา
พระองค์สามารถช่วยให้คุณเห็นทั้งสองด้านซึ่งช่วยลดความตึงเครียดในบ้านของคุณได้อย่างมาก แน่นอน
15ข้าพเจ้าไม่เข้าใจสิ่งที่ตนเองทำ เพราะสิ่งที่ข้าพเจ้าต้องการจะทำ
ข้าพเจ้าไม่ทำ แต่ข้าพเจ้ากลับทำสิ่งที่ตนเองเกลียด
19เพราะข้าพเจ้าไม่ได้ทำสิ่งดีที่ข้าพเจ้าต้องการทำ
แต่สิ่งชั่วซึ่งข้าพเจ้าไม่ต้องการทำ ข้าพเจ้ากลับทำเรื่อยไป
24ข้าพเจ้าเป็นคนน่าสังเวชอะไรเช่นนี้!
ใครจะช่วยข้าพเจ้าให้พ้นจากกายแห่งความตายนี้ได้? 25ขอบพระคุณพระเจ้า
ข้าพเจ้าพ้นได้โดยทางพระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา!
- (โรม 7:15, 19, 24-25)
เราทุกคนทำบาป
นี่เป็นเวลาที่จะจัดการกับสิ่งนั้นอย่างตรงไปตรงมา ฉันติดกับดักอยู่แสมอมื่อฉันเพ่งความสนใจไปที่ส่วนผิดของสามีเท่านั้น เราต้องปล่อยให้พระเจ้าจัดการกับสามีของเราในส่วนของเขา และเราต้องมองดูบาปที่ตัวเราเองกำลังติดกับดักอยู่ด้วย และแก้ไขมัน โดยการพึ่งพาพระเจ้า
การรับมือกับความบาปอย่างตรงไปตรงมานำไปสู่อิสรภาพและช่วยทำให้จิตใจของเราอ่อนโยนมากขึ้นต่อการให้อภัยผู้อื่น!
ขั้นตอนที่ 6 การปลดหนี้
“…พระบิดาบนสวรรค์ของข้าพเจ้าจะทรงทำเช่นเดียวกันกับท่านเช่นกัน หากพวกท่านแต่ละคนไม่ยกโทษให้พี่น้องของตนจากใจ”
(มัทธิว 18:21-35 )
นี่เป็นส่วนที่ยากที่สุดสำหรับฉัน
ถ้าฉันปลดหนี้สามีจากความเจ็บปวดนี้ ก็เหมือนกับปล่อยเขาไป แต่นั่นไม่ใช่ปัญหา เพราะว่าเรารับใช้พระเจ้าผู้เที่ยงธรรม
และพระองค์จะทรงจัดการกับสิ่งต่าง ๆ
ในทางของพระองค์และเวลาของพระองค์ได้ดีกว่าที่เราจะสามารถทำได้ในความเป็นมนุษย์ของเรา จงยกให้พระเจ้าจัดการกับมัน
ในมัทธิวที่ 18 เปโตรถามพระเยซูว่าเขาควรยกโทษให้เท่าไร
และพระองค์ตรัส 7 คูณ 70 หรือทุกครั้ง
การให้อภัยของเราไม่ควรมีขอบเขตเหมือนกับการที่พระเจ้าอภัยให้เราแบบไม่มีจำกัด
พระองค์จบบทนั้นโดยเล่าอุปมาเรื่องบ่าวคนหนึ่งที่ได้รับการให้อภัยมากแต่ออกไปเรียกร้องให้คนอื่นมาชำระหนี้ให้เขาซึ่งถือว่ามีจำนวนน้อยกว่ามาก
อุปมานี้เป็นเครื่องเตือนใจอันน่าทึ่งว่าพระเจ้ารู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการไม่ให้อภัยของเรา
อย่าเป็นเหมือนกับผู้รับใช้ที่ไม่ยอมให้อภัยคนนั้นเลย
ขั้นตอนที่ 7 คุณรู้ได้อย่างไรว่าคุณได้รับการอภัยแล้ว?
ความเจ็บปวดบางอย่างนั้นลึกซึ้งและคุณอาจไม่มีวันลืมมันได้อย่างหมดใจ
แต่คุณสามารถย้อนกลับไปยังที่ที่คุณสามารถพูดคุยเกี่ยวกับสถานการณ์นั้นๆได้โดยที่คุณไม่รู้สึกเจ็บปวดอีก
นี่คือการทดสอบเพื่อดูว่าคุณให้อภัยหรือไม่ คือ คุณสามารถพูดคุยเกี่ยวกับมันได้โดยไม่เจ็บปวดอีกหรือเปล่า? คุณสามารถอธิษฐานเผื่อบุคคลนั้นๆโดยไม่โกรธได้ไหม? ถ้าไม่ได้
ก็ให้คุณทำซ้ำตามขั้นตอนตั้งแต่ต้น!
ขอขอบคุณแหล่งที่มาของบทความหนุนใจ
Hopejoyinchrist
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น