วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

พลังแห่งการให้อภัย

 


ปัญญา จากสดุดี 32

แนวปฏิบัติของการให้อภัย

ความสัมพันธ์ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบพี่ชาย น้องสาว แม่ พ่อ สามี ภรรยา ลูกชาย ลูกสาว เพื่อน เพื่อนร่วมงาน เพื่อนบ้าน คนรัก....ความสัมพันธ์ของเรามีผู้คนมากมายที่มีแนวโน้มจะทำร้ายเราได้ ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในลักษณะของเรื่องเล็กๆ น้อยๆ อย่างต่อเนื่อง บางครั้งในการพยายามเป็นคนดี เราก็ปัดความเจ็บปวดเหล่านี้ทิ้งไป โดยคิดว่า "ฉันไม่ใช่คนที่ชอบพยาบาทหรือคนที่อ่อนไหวง่าย  สิ่งเหล่านี้ไม่ควรมากวนใจฉัน" แต่แล้วปัญหาเหล่านี้ก็ยังเกิดขึ้นเสมอ แล้วอะไรคือผลกระทบของการยึดมั่นในความขุ่นเคืองเหล่านี้? เรายึดมั่นถือมั่นมากไปหรือไม่? เราชอบทะเลาะกับคนหรือเปล่า? เรานินทาคนอื่นหรือเปล่า?แล้ว พระคัมภีร์สอนอะไรเราเกี่ยวกับเรื่องนี้?

พระเยซูทรงสอนศิลปะแห่งการให้อภัย “ ‘พระองค์เจ้าข้า ข้าพเจ้าจะต้องให้อภัยพี่น้องที่ทำบาปต่อข้าพเจ้าได้กี่ครั้ง? มากถึงเจ็ดครั้งหรือ?’ พระเยซูตรัสตอบว่า “เราบอกท่านไม่ใช่เจ็ดครั้ง แต่เป็นเจ็ดสิบเจ็ดครั้ง” (มัทธิว 18:21-22) นี่หมายความว่าเราต้องให้อภัย 539 ครั้งใช่ไหม? คำตอบคือ ใช่.  งานเขียนของเอ็มมานูเอล สวีเดนบอร์กสำรวจข้อความในพระคัมภีร์อย่างลึกซึ้งและกล่าวว่า “โดยสิ่งนี้ [มัทธิว 18:21-22] พระองค์หมายความว่าพวกเขาต้องยกโทษให้มากที่สุด เพราะการให้อภัยของพวกเขาคือการรู้ว่าไม่มีขีดจำกัด นั่นคือ นิรันดร์และเป็นอมตะ ซึ่งศักดิ์สิทธิ์”  

อดทนกับกระบวนการ

พระเจ้าสัญญาว่าการให้อภัยเป็นไปได้ แม้ว่าความเจ็บปวดจะดูรุนแรงเกินกว่าจะซ่อมแซม พระเจ้าบอกเราว่า “เราจะเอาใจหินของพวกเขาออกจากพวกเขา และให้ใจเนื้อแก่พวกเขา” (เอเสเคียล 11:19) เรารู้สึกถึงหัวใจหินเมื่อเรารู้สึกโกรธเกินไป เห็นแก่ตัวเกินไป หรือเยือกเย็นเกินไปจากความเจ็บปวดที่คนอื่นทำแก่เรา หัวใจของเนื้อหนัง แม้จะเปราะบาง แต่ก็มีความเห็นอกเห็นใจ หัวใจของเนื้อหนังเห็นว่าในขณะที่เรารู้สึกเจ็บปวด อีกคนก็อาจจะเจ็บปวดเพราะสิ่งที่เขาทำกับเรา ใช่แล้วเราสามารถหมกมุ่นอยู่กับตัวเองได้มากจนไม่สังเกตเห็นว่าคนอื่นเองก็กำลังดิ้นรนจากความรู้สึกผิดเช่นกัน เป็นความจริงที่ผู้คนต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตน แต่คนเหล่านี้ก็ต้องการความอดทนจากเราด้วยเช่นกัน ดังคำกล่าวที่ว่า “ขอทรงผัดผ่อนให้ข้าพระองค์เถิด” (มัทธิว 18:26) การฝึกความอดทนกับผู้อื่นโดยยึดมั่นในความหวังและวิสัยทัศน์สำหรับความสัมพันธ์ของเรากับพวกเขานั้นเป็นการแสดงความเห็นอกเห็นใจที่แท้จริง เราต้องอัญเชิญพระเจ้าเข้าสู่การเดินทางและขอความกล้าหาญที่เราต้องใช้เพื่ออดทนกับอีกคนหนึ่งและความเข้าใจที่จำเป็นเพื่อดูว่าพวกเขากำลังทำงานผ่านความเจ็บปวดซึ่งต้องการการให้อภัยเช่นกัน

ความขุ่นเคืองและความคิดที่ผิดพลาด

ความคิดที่ว่าการให้อภัยหมายถึงการที่บาปถูกล้างออกไปเป็นหนึ่งในเหตุผลที่บางครั้งเราก็ละเลยที่จะให้อภัย บางครั้งเราคิดว่าการให้อภัยหมายถึงการลืม เหมือนมันไม่เคยเกิดขึ้น บางครั้งเราเราก็รู้สึกว่าเราเองก็ต้องการเก็บความขุ่นเคืองเพื่อให้ความรู้แก่ตัวเราเกี่ยวกับนิสัยใจคอของผู้คนในโลกรอบตัวเราและเพื่อให้เราได้รู้วิธีที่เราควรปฏิบัติต่อพวกเขา บางครั้งเราก็รู้สึกว่า เจ็บแล้วต้องรู้จักจำ เราต้องเก็บการความทรงจำเกี่ยวกับความเจ็บปวดในอดีตเพื่อที่เราจะสามารถรักษาขอบเขตกับผู้คนได้ แต่พระเจ้านั้นทรงรอบรู้และทรงเมตตา - ดังนั้นเราจึงต้องมีวิธีในการรู้จักรักและให้อภัยเพื่อที่จะอยู่ร่วมกัน นั่นก็คือการให้อภัยอย่างจริงใจโดยให้อภัยไม่ช่างจดจำความผิด  การเชื่อในสิ่งดี

การมองคนที่ทำร้ายเราแต่เราไม่รู้สึกโกรธ มันจะเป็นความรู้สึกแบบไหนกันนะ? มันจะ เป็นไปได้หรือไม่? และนี่คือคำอธิบายของเหล่าทูตสวรรค์ผู้ที่มีจิตกุศลเขาแทบจะไม่สังเกตเห็นความชั่วในบุคคลอื่น แต่ให้สังเกตความดีและความจริงทั้งหมดที่เป็นของเขาแทน และในความชั่วและความเท็จของเขาพวกเขาได้ถูกตีความไว้อย่างดี และลักษณะดังกล่าวนี้ ล้วนมีอยู่ในตัวเทวดา มันเป็นสิ่งที่พวกเขาได้รับจากพระเจ้า ผู้ทรงเปลี่ยนความชั่วให้เป็นความดี”  

สิ่งนี้ไม่ได้ลบล้างความจริงที่ว่าเราจำเป็นต้องปกป้องตนเองจากคนที่ทำร้ายเรา แต่กุญแจสำคัญคือการเชิญพระเจ้าเข้าสู่กระบวนการระเจ้าจะทรงแยกเราออกจากความขุ่นเคือง  เราต้องเข้มงวดและมีวินัยในการพยายามให้อภัย ให้เราทูลขอพระเจ้าให้ทรงเก็บความขุ่นเคืองไปจากเรา พระองค์เป็นคนเดียวที่มีอำนาจในการทำเช่นนี้ และเราต้องทำ 70 x 7 ครั้ง ซึ่งหมายถึงตลอดเวลาไม่มีจำกัด

พลังแห่งการให้อภัย

เมื่อเราให้อภัยผู้อื่น เราจะมีอิสระและจะไม่ถูกบังคับด้วยความโกรธของเราเองอีกต่อไป มันจะย้ายเราจากภาพลวงตาที่เห็นแก่ตัวของเราไปสู่ความเป็นจริงที่สวยงาม มันเป็นงานยากก็จริง แต่ขอให้เราเปิดพื้นที่ให้พระเจ้าช่วยเราปัดเป่าความขุ่นเคืองที่เรารู้สึก เพราะทุกครั้งที่เราให้อภัย จะเป็นการปูทางสำหรับครั้งต่อไปที่เราต้องให้อภัย การฝึกความกล้าหาญและความอดทน และการปล่อยให้พระเจ้าเข้าสู่กระบวนการให้อภัยกลายเป็นเหมือนการออกกำลังกายกล้ามเนื้อ มันจะแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ ร่วมกับพระองค์ เราสามารถมาถึงจุดที่การให้อภัยเป็นสัญชาตญาณ นี่เป็นวิธีที่ได้รับพรในการดำเนินชีวิต!

ขอขอบคุณแหล่งที่มาของบทความหนุนใจ

newchurch


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พระวจนะของพระเจ้าสำหรับวันนี้ การทรยศ

  พระวจนะของพระเจ้าสำหรับวันนี้ การทรยศ อ่านมัทธิว 26:3 ถึง 27:66 ยูดาสตอบรับการเรียกของพระเยซูให้ติดตามเช่นเดียวกับสาวกคนอื่นๆ เขาออ...